วารสารวนัมฎองแหรกพุทธศาสตรปริทรรศน์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/Vanam_434 <p><strong> วารสารวนัมฎองแหรกพุทธศาสตรปริทรรศน์ (</strong><strong>Journal of Buddhist Studies Vanam Dongrak) </strong>มีวัตถุประสงค์ดังนี้ คือ 1) เพื่อส่งเสริมการผลิตผลงานทางวิชาการและงานวิจัยด้านด้านมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ โดยเน้นองค์ความรู้ในมิติศาสนา ปรัชญา การศึกษา สังคมวิทยา รัฐศาสตร์ และมานุษยวิทยา 2) เพื่อให้บริการวิชาการด้านด้านมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ โดยเน้นองค์ความรู้ในมิติศาสนา ปรัชญา การศึกษา สังคมวิทยา รัฐศาสตร์ และมานุษยวิทยาแก่สังคม 3) เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนแนวคิดทางด้านมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ โดยเน้นองค์ความรู้ในมิติศาสนา ปรัชญา การศึกษา สังคมวิทยา รัฐศาสตร์ และมานุษยวิทยา ๔) เพื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรมของบัณฑิตศึกษา วิทยาลัยสงฆ์สุรินทร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์</p> <p> เป็นวารสารที่จัดทำขึ้นโดยบัณฑิตศึกษา วิทยาลัยสงฆสุรินทร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์ รับตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ จำนวน 3 ประเภท ได้แก่ บทความวิจัย (Research Article) บทความวิชาการ (Academic Article) และบทวิจารณ์หนังสือ (Book Review)</p> <p> วารสารกำหนดการเผยแพร่ ปีละ 2 ฉบับ ได้แก่<br /> - ฉบับที่ 1 ประจำเดือน มกราคม - มิถุนายน<br /> - ฉบับที่ 2 ประจำเดือน กรกฎาคม - ธันวาคม</p> <p> ขอบเขตของวารสารดังนี้ คือ เป็นวารสารวิชาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยเน้นองค์ความรู้ในมิติศาสนา ปรัชญา การศึกษา สังคมวิทยา รัฐศาสตร์ และมานุษยวิทยา</p> <p> บทความที่ส่งเข้ามาจะได้รับการประเมินคุณภาพของผลงานทางวิชาการ โดยผู้ประเมินซึ่งเป็น<strong>ผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง จำนวน </strong><strong>3 ท่าน</strong> ซึ่งพิจารณา<strong>แบบปกปิดรายชื่อทั้งผู้เขียนบทความ ผู้ประเมิน และผู้ที่เกี่ยวข้อง (</strong><strong>Double Blind Review)</strong> ทั้งนี้วารสารจะดำเนินงานตามกรอบจริยธรรมการตีพิมพ์ผลงานในวารสารวิชาการ (Publication Ethics) อย่างเคร่งครัด</p> <p> <strong>ค่าธรรมเนียมและการชำระค่าตีพิมพ์เผยแพร่บทความ</strong></p> <p><strong> อัตราค่าตีพิมพ์</strong> ค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์เผยแพร่ <strong>จำนวน </strong><strong>3,500 บาท</strong>/บทความ </p> <p><strong> การชำระค่าธรรมเนียม</strong> การชำระค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์บทความ เจ้าของบทความจะสามารถชำระค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์บทความได้หลังจากได้รับการตอบกลับจากกองบรรณาธิการให้ชำระค่าธรรมเนียม ซึ่งทางกองบรรณาธิการจักได้แจ้งรายละเอียดช่องทางการชำระแก่เจ้าของบทความได้ทราบทางอีเมล์ของท่าน</p> th-TH Vanamdr@hotmail.com (รศ.ดร.ทวีศักดิ์ ทองทิพย์) thanarat.mcusr@gmail.com (ผู้ช่วยบรรณาธิการ ดร.ธนรัฐ สะอาดเอี่ยม) Sun, 16 Jun 2024 22:40:10 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 ขอมศึกษา: เพื่อสันติสุขในเอเซียอาคเนย์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/Vanam_434/article/view/268909 <p>บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ 1.เพื่อตีความคำว่า “ขอม” ให้ได้ความหมายที่เปิดกว้างยิ่งขึ้น 2.เพื่อลดการยึดถือในความเป็น “ขอม” ไว้เพียงเฉพาะกลุ่ม 3.เพื่อสมานสันติสุขในสังคมเอเซียอาคเนย์ พร้อมคำเสนอแนะ เป็นการศึกษาจากเอกสาร ฟังบรรยายจากนักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ ด้านโบราณคดี และการสังเกต แล้วนำเสนอข้อมูลเชิงพรรณาวิเคราะห์</p> <p><strong>ผลการศึกษาพบว่า </strong></p> <ol> <li>คำว่า “ขอม” เมื่อตีความเชิงปฏิบัติการ จะมีความหมายที่กว้างขึ้น ทั้งด้านบริเวณอาณาเขตพื้นที่ (ภูมิศาสตร์) ด้านช่วงระยะเวลาแห่งยุคสมัย (ประวัติศาสตร์) และด้านคน ภาษา ศิลปวัฒนธรรม (มานุษยวิทยา)</li> <li>การศึกษาอารยธรรมขอมในสมัยปัจจุบัน มีข้อมูลใหม่ ๆ จำนวนมากและหลากหลายที่จะลดการยึดถือ แบ่งคน แบ่งพวก ของความเป็นขอมไว้เพียงเฉพาะตน จนสามารถช่วยลดความขัดแย้งกันได้ระดับหนึ่ง สนับสนุนการลดความขัดแย้งในสังคมระหว่างประเทศ</li> <li>การศึกษาเรื่อง “ขอมศึกษา” จะนำไปสู่ปฏิบัติการสมานสันติสุขในสังคมเอเซียอาคเนย์ ผ่านการเยี่ยมชมโบราณสถานในยุคสุวรรณภูมิ ทวารวดี นครวัด สุโขทัย ซึ่งระบุว่าเป็นศิลปะขอมโบราณ และพิสูจน์หลักฐานสำคัญของใช้อักษรขอมสำหรับเขียนและอ่าน เช่น ขอมบาลี ขอมไทย ขอมภาษาเมือง ขอมภาษาธรรม เป็นต้น การเรียนวิชาขอมศึกษาจะเป็นโอกาสดีสำหรับการพัฒนาคุณธรรม ให้เกิดความรักและสามัคคีกันระหว่างประเทศ สำหรับพื้นที่เอเซียอาคเนย์ เพราะภูมิภาคนี้เป็นดินแดนสุวรรณภูมิเดียวกัน บรรพบุรุษยุคทวารวดีหนึ่งเดียว และต่างร่วมสมัย ร่วมวัฒนธรรมขอมเรืองอำนาจ</li> </ol> พระครูปริยัติกิตติวรรณ (วีระ กิตฺติวณฺโณ/ได้ทุกทาง), พระครูใบฎีกาเวียง กิตฺติวณฺโณ Copyright (c) 2024 วารสารวนัมฎองแหรกพุทธศาสตรปริทรรศน์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/Vanam_434/article/view/268909 Sun, 16 Jun 2024 00:00:00 +0700 ศูนย์การเรียนรู้การเสริมสร้างคุณธรรมพื้นฐานเพื่อสร้างอุปนิสัยพอเพียง https://so06.tci-thaijo.org/index.php/Vanam_434/article/view/268005 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เขียนขึ้นเพื่อให้เยาวชน นิสิต นักศึกษาและประชาชนทั่วไปได้ศึกษาเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน ได้แก่ 1) ความหมายของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2) การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 3) การประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา และ 4) ผู้เรียนเกิดความภาคภูมิใจเสริมสร้างคุณธรรมพื้นฐานเพื่อสร้างอุปนิสัยพอเพียงเป็นเอกลักษณ์ความเป็นไทย สิ่งเหล่านี้เป็นประสบการณ์ตรงของผู้เรียนที่ได้เรียนรู้ ทั้งจากภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติการจริง สถานศึกษาทุกแห่งสามารถจัดกระบวนการเรียนการสอนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเรียนรู้จากประสบการณ์และการลงมือปฏิบัติ โดยโรงเรียนมีแหล่งเรียนรู้ในการฝึกปฏิบัติจริงในการจัดกระบวนการเรียนรู้มีทั้งการเรียนรู้ที่เกิดจากประสบการณ์และการปฏิบัติ มีการสอดแทรกหรือบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงลงในรายวิชาบางวิชา แต่การจัดการเรียนนี้ขึ้นอยู่กับบริบทภูมิสังคมของแต่ละสถาบัน และต้องจัดให้เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน อีกทั้งการจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนมุ่งเน้นการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมเพื่อสร้างอุปนิสัยพอเพียง โดยเน้นการปฏิบัติจริงให้นักเรียนมีทักษะชีวิตที่มีรากฐานของการเป็นคนดี มีคุณธรรมเป็นหลักในวิถีชีวิตพุทธศาสนิกชน ต่อไป</p> พระครูสมุห์หัตถพร คำเพชรดี Copyright (c) 2024 วารสารวนัมฎองแหรกพุทธศาสตรปริทรรศน์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/Vanam_434/article/view/268005 Sun, 16 Jun 2024 00:00:00 +0700 ผลการจัดการเรียนรู้แบบเรียนปนเล่นเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านสะกดคำ ของนักเรียนชาวต่างชาติ: กรณีศึกษาโรงเรียนพุทธศาสนา วัดไทยลอสแองเจลิส ประเทศสหรัฐอเมริกา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/Vanam_434/article/view/267210 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้แนวคิดแบบเรียนปนเล่น 2. เปรียบเทียบทักษะการอ่านสะกดคำนักเรียนชาวต่างชาติกับเกณฑ์ร้อยละ 65และ 3. ศึกษาความพึงพอใจนักเรียนชาวต่างชาติหลังจัดการเรียนการสอนโดยใช้แนวคิดแบบเรียนปนเล่น การวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) กลุ่มเป้าหมายนักเรียนโรงเรียนพุทธศาสนาวัดไทยลอสแองเจลิส ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนฤดูร้อน ปีพุทธศักราช 2566 จำนวน 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) แผนการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้แนวคิดแบบเรียนปนเล่น (2) แบบประเมินทักษะการอ่านสะกดคำ และ (3) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ยร้อยละ ค่าเฉลี่ย (µ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ)</p> <p><strong>ผลการวิจัย</strong></p> <ol> <li>แผนการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้แนวคิดแบบเรียนปนเล่นที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด</li> <li>หลังจัดการเรียนการสอนตามแผนการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้แนวคิดแบบเรียนปนเล่นนักเรียนชาวต่างชาติมีทักษะการอ่านสะกดคำสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 65</li> <li>หลังจัดการเรียนการสอนตามแผนการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้แนวคิดแบบเรียนปนเล่นนักเรียนชาวต่างชาติมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก</li> </ol> ประจักษ์ น้อยเหนื่อย, ศรายุทธ รัตนปัญญา, พระวิเทศกิตติคุณ Copyright (c) 2024 วารสารวนัมฎองแหรกพุทธศาสตรปริทรรศน์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/Vanam_434/article/view/267210 Sun, 16 Jun 2024 00:00:00 +0700 อิทธิพลความเชื่อเรื่องนรกสวรรค์ที่มีต่อวิถีชีวิตชาวพุทธ ในเขตอำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/Vanam_434/article/view/267536 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ 1) เพื่อศึกษาเรื่องนรกและสวรรค์ในพระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลความเชื่อเรื่องนรกสวรรค์ที่มีต่อวิถีชีวิตชาวพุทธในเขตอำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ และ3) เพื่อวิเคราะห์อิทธิพลความเชื่อเรื่องนรกสวรรค์ที่มีต่อวิถีชีวิตชาวพุทธในเขตอำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากเอกสารและการสัมภาษณ์กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ นำมาวิเคราะห็เชิงพรรณนา</p> <p><strong>ผลการวิจัย พบว่า</strong></p> <ol> <li>นรก คือ สถานที่ลงโทษผู้ทำความชั่ว เป็นสถานที่ปราศจากความสุขความเจริญ มีแต่ความทุกข์ทรมาน เป็นสถานที่ลงโทษสัตว์ผู้ทำความชั่วหลังละโลกนี้ไปแล้ว เป็นภพหรือภูมิที่ต่ำสุดในบรรดาภพหรือภูมิทั้งหลาย เป็นส่วนหนึ่งของสงสารวัฏหรือการเวียนว่ายตายเกิด ส่วนคำว่า สวรรค์ แปลว่า โลกที่เลอเลิศเพียบพร้อมไปด้วยกามคุณ 5 อันน่าปรารถนาน่าใคร่ คือโลกที่งดงามเลอเลิศ เพียบพร้อมด้วยสิ่งที่ดี และสิ่งที่เป็นบุญ สวรรค์นั้นเป็นดินแดนที่บริบูรณ์ไปด้วย ความสุขล้วนหมู่สัตว์ที่เกิดในสวรรค์</li> <li>อิทธิพลความเชื่อเรื่องนรกสวรรค์ที่มีต่อวิถีชีวิตชาวพุทธในเขตอำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ มี 7 ด้าน ได้แก่ ด้านความเชื่อ ด้านพฤติกรรม ด้านวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาเกี่ยวกับนรกและสวรรค์ ด้านการเมืองการปกครอง ด้านจิตกรรมเกี่ยวกับนรกและสวรรค์ ด้านประติมากรรม และด้านการนำไปสร้างบทละครเกี่ยวกับผลกฎแห่งกรรม</li> <li>จากการวิเคราะห์อิทธิพลความเชื่อเรื่องนรกสวรรค์ที่มีต่อวิถีชีวิตชาวพุทธในเขตอำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ พบว่า ชาวพุทธในเขตอำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ ยังขาดนำเอาหลักธรรมไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อตนเองและครอบครัว ตลอดจนถึงสังคม เพราะตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา สวรรค์ไม่ใช่จุดหมายที่แท้จริงของพระพุทธศาสนา การทำบุญหรือความดีไม่ได้มีเป้าหมายเพื่อการไปสวรรค์</li> </ol> พระปลัดสมหมาย สุรปญฺโญ ใจงาม, ภัฏชวัชร์ สุขเสน, ธนรัฐ สะอาดเอี่ยม Copyright (c) 2024 วารสารวนัมฎองแหรกพุทธศาสตรปริทรรศน์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/Vanam_434/article/view/267536 Sun, 16 Jun 2024 00:00:00 +0700 การศึกษารูปแบบจัดการศึกษาพระปริยัติธรรม สำนักเรียนคณะสงฆ์จังหวัดสุรินทร์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/Vanam_434/article/view/267537 <p>การศึกษาวิจัยเรื่อง การศึกษารูปแบบจัดการศึกษาพระปริยัติธรรม สำนักเรียนคณะสงฆ์จังหวัดสุรินทร์ ผู้วิจัยได้กำหนดวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดและหลักการบริหารจัดการศึกษาในพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและอุปสรรคในการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรม สำนักเรียนคณะสงฆ์จังหวัดสุรินทร์ และ 3) เพื่อศึกษารูปแบบจัดการศึกษาพระปริยัติธรรม สำนักเรียนคณะสงฆ์จังหวัดสุรินทร์ ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ซึ่งเน้นการวิจัยทางเอกสาร (Documentary research) โดยศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก หนังสือ ตำรา บทความ เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง มีการวิเคราะห์ข้อมูลแล้วนำเสนอผลการวิจัยในรูปแบบของการพรรณนาวิเคราะห์ตามวัตถุประสงค์การวิจัย</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>รูปแบบและวิธีการบริการกิจการคณะสงฆ์ตั้งแต่ ยุคสุโขทัย ยุคกรุงศรีอยุธยา ยุคกรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น จวบกระทั่งถึงปัจจุบันนี้ การปกครองคณะสงฆ์ไทยยังปฏิบัติตามรูปแบบการปกครองของพระพุทธองค์ถือตามพระธรรมวินัยเป็นหลัก ถึงแม้ว่าปัจจุบันนี้ คณะสงฆ์จะมีความสัมพันธ์ระหว่างศาสนจักรกับอาณาจักร การพึ่งอำนาจรัฐน่าจะเป็นการสร้างความศักดิ์สิทธิ์ให้กับพระธรรมวินัยและความบริสุทธิ์แห่งพระศาสนา</li> <li>สภาพปัญหาและอุปสรรคในการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรม สำนักเรียนคณะสงฆ์จังหวัดสุรินทร์ ได้แก่ 1) เนื้อหาสาระ เก่าเกินไป และภาษาที่ใช้ในหนังสือเป็นภาษาที่เข้าใจยาก โดยเฉพาะเนื้อหาสาระในแผนกธรรมเน้นการจำมากกว่าความเข้าใจ ขาดการประยุกต์ใช้ ไม่เหมาะสมกับวุฒิภาวะของผู้เรียน จึงควรปรับปรุงภาษาที่ใช้ให้เป็นภาษาที่เข้าใจง่าย 2) วิธีการเรียนการสอน เน้นการท่องจำ ไม่ค่อยมีการประยุกต์ใช้และขาดการคิดวิเคราะห์</li> <li>การศึกษารูปแบบจัดการศึกษาพระปริยัติธรรม สำนักเรียนคณะสงฆ์จังหวัดสุรินทร์ มี 3 แผนก โดยผู้วิจัยยกตัวอย่าง ๓ สถานศึกษา ที่มีจุดเด่นมากที่สุด ดังนี้ 1) สำนักศาสนศึกษา วัดใหม่ศรีวิหารเจริญ (แผนกบาลี) 2) สำนักศาสนศึกษา วัดโพธาราม (แผนกธรรม) และ 3) โรงเรียนพระปริยัติธรรมโกศลวิทยา (แผนกสามัญศึกษา)</li> </ol> พระครูกิตติธรรมประสาธน์ กตธมฺโม, ภัฏชวัชร์ สุขเสน, ธนรัฐ สะอาดเอี่ยม Copyright (c) 2024 วารสารวนัมฎองแหรกพุทธศาสตรปริทรรศน์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/Vanam_434/article/view/267537 Sun, 16 Jun 2024 00:00:00 +0700 ผลของการจัดการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่มีต่อแรงจูงใจ ในการปฏิบัติงานของพนักงาน https://so06.tci-thaijo.org/index.php/Vanam_434/article/view/267436 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบแรงจูงใจในการปฏิบัติงานกลุ่มทดลอง ก่อนและหลังการทดลอง 2) เปรียบเทียบแรงจูงใจในการปฏิบัติงานหลังการทดลองระหว่างกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม 3) เพื่อเปรียบเทียบแรงจูงใจในการปฏิบัติงานด้านทัศนคติ ด้านความต้องการ ด้านความสนใจพิเศษ ก่อนและหลังการทดลอง ระหว่างกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ พนักงานฝ่ายทรัพยากรบุคคลที่สมัครใจเข้าร่วมการทดลองจำนวน 21 คน ทำแบบวัดแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน จากนั้นคัดเลือกพนักงานที่มีผลคะแนนจากน้อยที่สุดไปมากที่สุดจำนวน 12 คน นำมาแบ่งกลุ่มตัวอย่างด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายโดยวิธีการจับสลากแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มทดลองจำนวน 6 คน และกลุ่มควบคุมจำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง โดยจัดแผนจำนวน 2 วัน ในการทดลองใช้เวลารวมทั้งสิ้น 12 ชั่วโมง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบวัดแรงจูงใจในการปฎิบัติงานที่มีค่าความเชื่อมั่น .945 แบบแผนการทดลองเป็นแบบการสุ่ม มีกลุ่มควบคุม และมีการประเมินก่อน-หลัง โดยพนักงานกลุ่มทดลองได้เข้าร่วมแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง ส่วนพนักงานกลุ่มควบคุมไม่ได้เข้าร่วมแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลพบว่า พนักงานกลุ่มทดลองที่ได้เข้าร่วมแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงมีคะแนนแรงจูงใจในการปฎิบัติงานสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 หลังการทดลอง พนักงานกลุ่มทดลองมีคะแนนแรงจูงใจในการปฎิบัติงานสูงกว่า พนักงานกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> ดุสิต แก้วดอนรี, วาระดี ชาญวิรัตน์ Copyright (c) 2024 วารสารวนัมฎองแหรกพุทธศาสตรปริทรรศน์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/Vanam_434/article/view/267436 Sun, 16 Jun 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาวิเคราะห์พุทธจริยศาสตร์ในการแก้ปัญหาการดื่มสุราเมรัยของชาวบ้านดงพิกุล ตำบลพระเจ้า อำเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด https://so06.tci-thaijo.org/index.php/Vanam_434/article/view/265876 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการดื่มสุราเมรัยของชาวบ้านดงพิกุล ตำบลพระเจ้า อำเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด 2) เพื่อศึกษาพุทธจริยศาสตร์ที่เกื้อหนุนต่อการลด ละ และเลิกดื่มสุราเมรัย และ 3) เพื่อวิเคราะห์พุทธจริยศาสตร์ในการแก้ปัญหาการดื่มสุราเมรัยของชาวบ้านดงพิกุล ตำบลพระเจ้า อำเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากพระไตรปิฎก อรรถกถา หนังสือ เอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง แล้วนำเสนอผลการวิจัยด้วยการพรรณนาเชิงวิเคราะห์แบบอุปนัย และการวิเคราะห์ข้อมูลที่เป็นเอกสาร</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ชาวบ้านดงพิกุล 85% ทำเกษตรกรรม มีประเพณีวัฒนธรรมเหมือนชาวอีสานทั่วไป ชอบจัดงานรื่นเริง มีการดื่มสุราเมรัย จึงทำให้เกิดปัญหาการทะเลาะวิวาท และปัญหาทางสุขภาพตามมา</p> <p>พุทธจริยศาสตร์ ที่เกื้อหนุนการลด ละ และเลิกดื่มสุราเมรัย ได้แก่ ความระลึกรู้เท่าทันโทษของการดื่มสุราเมรัย (สติสัมปชัญญะ) คิดอย่างมีเหตุผลถึงคุณและโทษของการดื่มสุราเมรัย เพื่อการดำรงตนและคนในครอบครัวอย่างมีความสุข (โยนิโสมนสิการ) และมีความจริงใจ หรือมีสัจจะจริงจังในการลด ละ และเลิกดื่มสุราเมรัย (สัจจะ)</p> <p>จากการวิเคราะห์หลักพุทธจริยศาสตร์ในการแก้ปัญหาการดื่มสุราเมรัยของชาวบ้านดงพิกุล ทำให้ทราบว่า ชาวบ้านดงพิกุลผู้คิดจะดื่มสุราเมรัย จะมีสติสัมปชัญญะ โยนิโสมนสิการ และสัจจะ กล่าวคือ มีความระลึกรู้เท่าทันโทษของการดื่มสุราเมรัย รู้จักตระหนักคิด สามารถระงับ ไม่พลั้งเผลอที่จะดื่ม มีเหตุผลแยกแยะรู้ว่า สุราเมรัยเป็นสิ่งไม่มีประโยชน์ มีแต่โทษ 1) เสียทรัพย์ 2) ก่อการทะเลาะวิวาท 3) เป็นบ่อเกิดของโรค 4) เป็นเหตุให้เสียชื่อเสียง 5) เป็นเหตุให้ไม่รู้จักอาย และ 6) เป็นเหตุทอนกำลังปัญญา ดังนั้น การแก้ปัญหา การดื่มสุรามัยได้อย่างเด็ดขาดตลอดชีวิตนั้น ผู้จะลด ละ และเลิกการดื่มสุราเมรัย ต้องมีสติสัมปชัญญะ โยนิโสมนสิการ และสัจจะต่อตนเองเป็นสำคัญ</p> พระมหาชินวัฒน์ โชติธมฺโม (หรบรรณ์), พระครูสีลสราธิคุณ, โสวิทย์ บำรุงภักดิ์ Copyright (c) 2024 วารสารวนัมฎองแหรกพุทธศาสตรปริทรรศน์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/Vanam_434/article/view/265876 Sun, 16 Jun 2024 00:00:00 +0700 แนวทางการเสริมสร้างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรีเขต 2 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/Vanam_434/article/view/267893 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของครูที่มีต่อภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตาม ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดโรงเรียน 3) ศึกษาแนวทางการเสริมสร้างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรีเขต 2 กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ให้ข้อมูล จำนวน 5 คน และ ครู จำนวน 317 คน โดยใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้นตามขนาดโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม ที่มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ .67-1.00 และความเที่ยงเท่ากับ .97 แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที t-test independent และการวิเคราะห์ค่าแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และทดสอบความแตกต่างรายคู่แบบ LSD และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการสังเกตและการปรับปรุงการเรียนการสอน รองลงมาคือ ด้านการเสริมสร้างบรรยากาศการเรียนรู้เชิงบวก ด้านการประเมินโครงการที่เกี่ยวข้องกับงานวิชาการ ด้านการบริหารจัดการหลักสูตรและการสอน และ ด้านการกำหนดพันธกิจของโรงเรียน 2) ผลการวิจัยเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูที่มีต่อภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า ครูที่มีระดับการศึกษาต่างกันมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน ส่วนครูที่มีประสบการณ์ในการทำงานและขนาดโรงเรียนต่างกันมีความคิดเห็นในภาพรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3) แนวทางการเสริมสร้างภาวะผู้นำทางวิชาการ คือ ผู้บริหารสถานศึกษาควรประเมินผลครูอย่างเป็นระบบ ออกแบบและจัดทำหลักสูตรร่วมกับครู วิเคราะห์สภาพปัจจุบัน ปัญหาอุปสรรคร่วมกับครู คำนึงถึงบริบทและข้อจำกัดของสถานศึกษาและกำหนดพันธกิจร่วมกับครู</p> มินรญา ทองรูปพรรณ์, สุกัญญา สุดารารัตน์ Copyright (c) 2024 วารสารวนัมฎองแหรกพุทธศาสตรปริทรรศน์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/Vanam_434/article/view/267893 Sun, 16 Jun 2024 00:00:00 +0700 แนวทางการเสริมสร้างภาวะผู้นำใฝ่บริการที่พึงประสงค์ของ ผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/Vanam_434/article/view/267895 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำใฝ่บริการที่พึงประสงค์ของผู้บริหาร สถานศึกษา 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของครูที่มีต่อภาวะผู้นำใฝ่บริการที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยจำแนกตาม ระดับการศึกษา และขนาดโรงเรียน และ 3) ศึกษาแนวทางการเสริมสร้างภาวะผู้นำใฝ่บริการที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ให้ข้อมูล จำนวน 5 คน และ ครู จำนวน 317 คน โดยใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้นตามขนาดโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ และสอบถาม ที่มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ .67-1.00 และความเที่ยงเท่ากับ .96 แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที t-test independent และการวิเคราะห์ค่าแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และทดสอบความแตกต่างรายคู่แบบ LSD และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำใฝ่บริการที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษา ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านวิสัยทัศน์ รองลงมาคือ ด้านการเสริมพลังอำนาจ ด้านการไว้วางใจ ด้านการบริการ ด้านความรัก ด้านการคำนึงถึงผู้อื่น และด้านความนอบน้อม ตามลำดับ 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูที่มีต่อภาวะผู้นำใฝ่บริการที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษา ในภาพรวม พบว่า ครูที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน ส่วนครู ที่มีขนาดโรงเรียนต่างกัน มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทั้งภาพรวมและรายด้าน และ 3) แนวทางการเสริมสร้างภาวะผู้นำใฝ่บริการที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษา คือ ผู้บริหารควรจัดกิจกรรมเสริมความสัมพันธ์ที่ดีต่อบุคลากร รับฟังผู้ใต้บังคับบังชาอย่างตั้งใจ ยึดหลักการบริหารแบบมีส่วนร่วม เน้นการจัดการศึกษาโดยใช้เทคโนโลยี มอบหมายงานตามความสามารถและความสมัครใจ สนับสนุนครูอบรมและพัฒนาตนเอง และสนับสนุนทรัพยากรที่หลากหลาย</p> พวงบุบผา สมัครกสิกิจ, สุกัญญา สุดารารัตน์ Copyright (c) 2024 วารสารวนัมฎองแหรกพุทธศาสตรปริทรรศน์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/Vanam_434/article/view/267895 Sun, 16 Jun 2024 00:00:00 +0700 แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา ในโรงเรียนโสตศึกษา สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง https://so06.tci-thaijo.org/index.php/Vanam_434/article/view/268418 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นําในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนโสตศึกษา สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และ 2) เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นําในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนโสตศึกษา สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ข้าราชการครู พนักงานราชการ และครูอัตราจ้าง ที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนโสตศึกษา สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง จำนวน 5 โรงเรียน ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 146 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .93 และข้อคำถามปลายเปิด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p><strong>ผลการวิจัยพบว่า </strong></p> <ol> <li>ภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนโสตศึกษา โดยรวมและรายด้าน มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก และ</li> <li>แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา ที่สำคัญ ดังนี้ 1) ผู้บริหารควรส่งเสริมให้ครู และบุคลากรในสถานศึกษานำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ และการทำงาน เพื่อให้สามารถสื่อสารได้รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และสะดวกสบาย เช่น สนทนากับผู้เรียน สนทนาแบบเรียลไทม์กับครู บุคลากรในสถานศึกษา หรือเพื่อนร่วมงานได้ 2) ผู้บริหารควรมีความสามารถในการคิดริเริ่มและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เพื่อการปรับปรุงและทันต่อความท้าทายที่จะเกิดขึ้นเพื่อสร้างความเติบโตขององค์การได้อย่างมั่นคง และ 3) ผู้บริหารควรมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลและคำนึงถึงประโยชน์ของผู้เรียนเป็นหลัก</li> </ol> มงคลพฤหัสษ์ แก้วกันหา, เมธาวี โชติชัยพงศ์ Copyright (c) 2024 วารสารวนัมฎองแหรกพุทธศาสตรปริทรรศน์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/Vanam_434/article/view/268418 Sun, 16 Jun 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องศาสนพิธี กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษาศาสนา และวัฒนธรรม นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning https://so06.tci-thaijo.org/index.php/Vanam_434/article/view/268525 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องศาสนพิธี กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning 2) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องศาสนพิธี กลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนา และวัฒนธรรม นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนเรื่อง ศาสนพิธี กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 3 โรงเรียนวัดบ้านปราสาท อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 14 คน เครื่องมือวิจัย คือ 1. แผนจัดการเรียนรู้ 2. แบบประเมินความพึงพอใจ 3. แบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการทางพรรณาวิเคราะห์และสถิติค่าเฉลี่ยร้อยละและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>การจัดการเรียนรู้เรื่องศาสนพิธี กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning นักเรียนมีพัฒนาการที่ดี มีความรับผิดชอบ รู้จักช่วยเหลือผู้อื่น มีระเบียบวินัย ตั้งใจเรียน มีเหตุผล รู้จักวินิจฉัยไตร่ตรอง และวิเคราะห์</li> <li>ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</li> <li>การประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียน นักเรียนมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( =3.86)</li> </ol> พระอนันตศักดิ์ กุสลจิตฺโต, ธงไชย สุขแสวง, สิริพัฒถ์ ลาภจิตร, อิทธิวัตร ศรีสมบัติ Copyright (c) 2024 วารสารวนัมฎองแหรกพุทธศาสตรปริทรรศน์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/Vanam_434/article/view/268525 Sun, 16 Jun 2024 00:00:00 +0700 ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน สาระเศรษฐศาสตร์ วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/Vanam_434/article/view/268685 <p>การวิจัยครั้งนี้ มีจุดประสงค์เพื่อ 1) ผลเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการจัดการการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานสาระเศรษฐศาสตร์ วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 2) ศึกษาทักษะกระบวนการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีหลังการจัดการเรียนรู้โดยใชปัญหาเป็นฐาน และ 3)ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สาระเศรษฐศาสตร์ วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/2 โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 87 (นิคมสร้างตนเอง1) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 24 คน โดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบทักษะการแก้ปัญหา และแบบทดสอบความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และแบบทดสอบค่าทีไม่อิสระต่อกัน</p> <p><strong>ผลการวิจัย พบว่า</strong></p> <p>1.ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการจัดการการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานสาระเศรษฐศาสตร์ วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2. ทักษะกระบวนการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีหลังการจัดการเรียนรู้โดยใชปัญหาเป็นฐานพบว่า โดยรวมอยู่ ในระดับมาก</span></p> <p>3. ความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สาระเศรษฐศาสตร์ วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมโดยรวม มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก</p> แก้วสุภางค์ แสนทอง, เจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรมม, กนกกาญจน์ ศรีสุรินทร์ Copyright (c) 2024 วารสารวนัมฎองแหรกพุทธศาสตรปริทรรศน์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/Vanam_434/article/view/268685 Sun, 16 Jun 2024 00:00:00 +0700 การจัดการเรียนรู้เรื่อง เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้กระบวนการสอนทางภูมิศาสตร์ ร่วมกับการใช้ แอปพลิเคชันควิซ (QUIZIZZ) https://so06.tci-thaijo.org/index.php/Vanam_434/article/view/268645 <p>งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการจัดการเรียนรู้เรื่อง เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้กระบวนการสอนทางภูมิศาสตร์ ร่วมกับการใช้แอปพลิเคชันควิซ (QUIZIZZ) 2) เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้เรื่อง เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ โดยใช้กระบวนการสอนทางภูมิศาสตร์ ร่วมกับการใช้แอปพลิเคชันควิซ (QUIZIZZ) และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้เรื่อง เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้กระบวนการสอนทางภูมิศาสตร์ ร่วมกับการใช้แอปพลิเคชันควิซ (QUIZIZZ) กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนขวาวใหญ่วิทยา จำนวน 15 คน โดยเลือก<br />แบบเจาะจง ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) โดยศึกษาจากแบบเอกสาร หนังสือ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า การจัดการเรียนรู้เรื่อง เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้กระบวนการสอนทางภูมิศาสตร์ ร่วมกับการใช้แอปพลิเคชันควิซ (QUIZIZZ) พบว่า คะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นักเรียนมีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน คะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน 8.73 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 29.11 คะแนนเฉลี่ยหลังเรียน 19.13 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 79.72 และผลวิเคราะห์ข้อมูลนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้เรื่อง เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้กระบวนการสอนทางภูมิศาสตร์ ร่วมกับการใช้แอปพลิเคชันควิซ (QUIZIZZ) ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.60 ผู้วิจัยได้สรุปผลในแต่ละด้านของผลศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้ พบว่า 1) ด้านครูผู้สอน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.16 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.87 2) ด้านเนื้อหา ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.63 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.69 3) ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.31 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.73 4) ด้านการวัดและประเมินผล ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.39 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.61 และ 5) ด้านสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.16 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.87</p> เสาวลักษณ์ สุขบิดา, สิริพัฒถ์ ลาภจิตร, อิทธิวัตร ศรีสมบัติ Copyright (c) 2024 วารสารวนัมฎองแหรกพุทธศาสตรปริทรรศน์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/Vanam_434/article/view/268645 Sun, 16 Jun 2024 00:00:00 +0700 ภาวะผู้นำของพระสังฆาธิการที่มีต่อการพัฒนาชุมชนตำบลหนองใหญ่ อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/Vanam_434/article/view/268752 <p>การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นําของพระสังฆาธิการที่มีต่อการพัฒนาชุมชนตําบลหนองใหญ่ อําเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของพุทธศาสนิกชนที่มีต่อภาวะผู้นําของพระสังฆาธิการที่มีต่อการพัฒนาชุมชนตําบลหนองใหญ่ อําเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ 3) นําเสนอแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นําของพระสังฆาธิการที่มีต่อการพัฒนาชุมชน ตําบลหนองใหญ่ อําเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ ระเบียบวิธีวิจัยเป็นแบบผสานวิธี คือ การวิจัยเชิงปริมาณ โดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย โดยวิธีจับฉลาก และแจกแบบสอบถาม จำนวน 388 รูป/คน การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 14 รูป/คน สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1. ภาวะผู้นําของพระสังฆาธิการที่มีต่อการพัฒนาชุมชนขององค์การบริหารส่วนตําบลหนองใหญ่ อําเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.52, S.D. = 0.42) 2. เปรียบเทียบภาวะผู้นําของพระสังฆาธิการที่มีต่อการพัฒนาชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองใหญ่ อําเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ สถานภาพ (บรรพชิต, คฤหัสถ์) อายุ การศึกษา ภูมิลําเนา พบว่า ทั้งที่เป็นบรรพชิตและคฤหัสถ์ มีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นําของพระสังฆาธิการที่มีต่อการพัฒนาชุมชน แตกต่างกัน (Sig = 0.008) ซึ่งยอมรับสมมติฐานการวิจัย 3. แนวทางพัฒนาภาวะผู้นําของพระสังฆาธิการที่มีต่อการพัฒนาชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองใหญ่ อําเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ พระสังฆาธิการควรมีวิสัยทัสน์กว้างไกล มีไหวพริบดีมีความรู้ความสามารถ หมั่นแสวงหาความรู้อยู่ตลอดเวลาเพื่อพัฒนาตนเองนำมาพัฒนาชุมชนได้ และมีความสามารถในการแนะนำเป็นแบบอย่างที่ดี ตลอดจนนำพาปฏิบัติได้ สามารถประสานงานกับองค์กรต่าง ๆ เพื่อการพัฒนาชุนชน</p> สายยวน พงฉัตรพัตร์, พระมหาวิศิต ธีรวํโส (กลีบม่วง), พระปลัดสุระ ญาณธโร (จันทึก) Copyright (c) 2024 วารสารวนัมฎองแหรกพุทธศาสตรปริทรรศน์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/Vanam_434/article/view/268752 Sun, 16 Jun 2024 00:00:00 +0700 การประยุกต์ใช้หลักไตรสิกขาในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลเกาะแก้ว อำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/Vanam_434/article/view/268839 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ขององค์การบริหารส่วนตำบลเกาะแก้ว อำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์ 2) ประยุกต์ใช้หลักไตรสิกขาในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลเกาะแก้ว อำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์ 3) เสนอแนะแนวทางการประยุกต์ใช้หลักไตรสิกขาในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลเกาะแก้ว อำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์</p> <p>ระเบียบวิธีวิจัยเป็นแบบผสานวิธี คือ การวิจัยเชิงปริมาณ โดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย โดยวิธีจับฉลาก และแจกแบบสอบถามผู้สูงอายุจำนวนทั้งหมด 269 คน การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 13 รูป/คน</p> <p><strong>ผลการวิจัยพบว่า </strong></p> <ol> <li>การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ขององค์การบริหารส่วนตำบลเกาะแก้ว อำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์ ทั้ง 4 ด้าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.76, S.D. =0.54) เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม มีการปฏิบัติงานมากที่สุด อยู่ในระดับมาก ( = 4.24, S.D. =0.53) รองลงมา คือ ด้านร่างกาย อยู่ในระดับมาก ( = 3.66, S.D. =0.68) ด้านสิ่งแวดล้อม อยู่ในระดับมาก ( = 3.60, S.D. =0.43) และด้านที่มีระดับการปฏิบัติน้อยที่สุด คือ ด้านจิตใจ มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ( = 3.55, S.D. =0.52) ตามลำดับ</li> <li>ประยุกต์ใช้หลักไตรสิกขาในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ พบว่า ด้านศีล ผู้สูงอายุรักษาควรศีลเป็นประจำ ด้านสมาธิ ผู้สูงอายุควรรู้จักควบคุมอารมณ์ ด้านปัญญา ผู้สูงอายุควรปล่อยวางความคิดที่ทำให้ไม่สบายใจ</li> <li>เสนอแนะแนวทางการประยุกต์ใช้หลักไตรสิกขาในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ พบว่า เรื่องของ ศีล ผู้สูงอายุควรรู้จักใช้อินทรีย์ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย สมาธิ ผู้สูงอายุต้องมีหลักพรหมวิหาร 4 คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ซึ่งหล่อเลี้ยงจิตใจให้เจริญงอกงาม ปัญญา ผู้สูงอายุควรพิจารณาสิ่งต่าง ๆ มีวิธีคิดที่จะเข้าถึงความจริง และได้คุณประโยชน์</li> </ol> พระทิพยรส ตนฺติปาโล (ศรีสุข), วรภูริ มูลสิน, พระครูปริยัติปัญญาโสภณ Copyright (c) 2024 วารสารวนัมฎองแหรกพุทธศาสตรปริทรรศน์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/Vanam_434/article/view/268839 Sun, 16 Jun 2024 00:00:00 +0700