https://so06.tci-thaijo.org/index.php/apheit-ss/issue/feed วารสารสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 2023-12-29T17:28:29+07:00 ดร. มานิต บุญประเสริฐ [email protected] Open Journal Systems <p>วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้จัดพิมพ์ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ผลงานวิชาการ ผลงานวิจัย และแลกเปลี่ยนแนวคิด ความรู้ ความก้าวหน้าใหม่ ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยบทความทุกเรื่องได้ผ่านการพิจารณากลั่นกรองจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องจากหลายสถาบันการศึกษา</p> https://so06.tci-thaijo.org/index.php/apheit-ss/article/view/267563 สิทธิของประชาชนหรือชุมชนในการฟ้องร้องหน่วยงานของรัฐเพื่อให้ได้รับประโยชน์ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ 2023-09-11T15:46:50+07:00 ธีรพงษ์ หนูไชยแก้ว [email protected] เพียงจิต ตันติจรัสวโรดม [email protected] มาฤทธิ์ กาญจนรักษ์ [email protected] สุวิจักขณ์ พูนศรีเกษม [email protected] <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๕๑ บัญญัติให้สิทธิของประชาชนและ ชุมชน ในการติดตามและเร่งรัดให้รัฐดำเนินการ รวมทั้งฟ้องร้องหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องจัดให้ตนหรือชุมชนได้รับประโยชน์จากการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐตามรัฐธรรมนูญ และมีการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๖๑ มาตรา ๔๕ ให้บุคคลหรือชุมชนที่ได้รับความเสียหายจากการไม่ปฏิบัติหน้าที่ของรัฐ หรือการปฏิบัติหน้าที่ไม่ถูกต้องครบถ้วนหรือล่าช้าเกินสมควร ย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยคดีได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่บัญญัติไว้ แต่อย่างไรก็ตามการดำเนินการดังกล่าวอาจจะต้องประสบปัญหาในเรื่องของการตีความถึงขอบเขตหน้าที่ของรัฐว่า”รัฐต้องกระทำการ”แต่กระทำในที่นี้มีขอบเขต ต้องกระทำในระดับใดหรือมีความหมายครอบคลุมเพียงใด ซึ่งหลักการของการยกร่างเกี่ยวกับหน้าที่ของรัฐก็เพื่อ<strong><em> “ให้รัฐต้อง กระทำเพื่อยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น</em></strong>” ไม่ใช่เพียงแนวนโยบายของรัฐที่จะทำหรือไม่ทำก็ได้อันมีลักษณะเป็น “นามธรรม” มากกว่าที่“รัฐต้องกระทำ”</p> <p>ดังนั้น บทบัญญัติมาตรา ๕๑ ประกอบกับบทบัญญัติในแต่ละมาตราที่กล่าวถึงหน้าที่ของรัฐในเรื่องสิทธิของประชาชนและชุมชนที่จะติดตามและเร่งรัดให้รัฐดำเนินการรวมตลอดทั้งฟ้องร้องหน่วยงานของรัฐการกำหนดให้รัฐใช้หรือจัดให้มีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติฯ จึงต้องพิจารณาถึงหลักการเคารพในสิทธิและเสรีภาพของประชาชนและชุมชนตามหลัก “สิทธิมนุษยชน” และพิจารณาถึงกระทำการของรัฐควบคู่กันไปด้วยเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการบังคับใช้กฎหมาย</p> 2023-12-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 ธีรพงษ์ หนูไชยแก้ว, เพียงจิต ตันติจรัสวโรดม, มาฤทธิ์ กาญจนรักษ์, สุวิจักขณ์ พูนศรีเกษม https://so06.tci-thaijo.org/index.php/apheit-ss/article/view/267608 แนวทางการจัดการธุรกิจบริการรับส่งพัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 2023-09-12T14:56:00+07:00 ธัญญพัทธ์ แสนศรีเศรษฐกุล [email protected] วินัย วีระวัฒนานนท์ [email protected] บุญเลิศ วงค์โพธิ์ [email protected] <p>วัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษาสภาพปัญหาการบริหารจัดการของธุรกิจบริการรับส่งพัสดุ และกำหนด แนวทางการบริหารจัดการธุรกิจบริการรับส่งพัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นธุรกิจบริการรับส่งพัสดุในจังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 300 แห่ง กลุ่มตัวอย่างที่ให้สัมภาษณ์ข้อมูลสำคัญ จำนวน 90 คน ใช้วิธีการเลือกแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง เป็นคำถามปลายเปิดเกี่ยวกับสภาพปัญหาของการบริหารจัดการธุรกิจบริการรับส่งพัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์สรุปความตามเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่าสภาพปัญหาส่วนใหญ่ของธุรกิจบริการรับส่งพัสดุ คือการบริหารจัดการระบบการขนส่งพัสดุที่ไม่มีประสิทธิภาพ ปัญหาด้านบุคลากร และสภาพแวดล้อมการขนส่ง ทำให้มีต้นทุนค่าใช้จ่ายสูง และเกิดความเสียหายต่อภาพลักษณ์ธุรกิจบริการรับส่งพัสดุ แนวทางการจัดการธุรกิจบริการรับส่งพัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วยปัจจัยสำคัญ 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการบริหารจัดการเชิงนโยบาย ด้านการจัดการขนส่ง ด้านการพัฒนาบุคลากร และด้านการบริหารจัดการอาคารสำนักงานที่ใช้ในการให้บริการรับส่งพัสดุ</p> 2023-12-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 Mr.Bunlert Wongpho https://so06.tci-thaijo.org/index.php/apheit-ss/article/view/265337 การศึกษาความพึงพอใจในองค์ประกอบการท่องเที่ยววิถีปกติใหม่ที่มีอิทธิพลต่อความภักดีในจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวชาวไทย: กรณีศึกษาจังหวัดภูเก็ต 2023-11-16T08:54:00+07:00 รนิภา หงษ์โม่ [email protected] มณฑกานติ ชุบชูวงศ์ [email protected] <p>การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของความพึงพอใจในองค์ประกอบการท่องเที่ยววิถีปกติใหม่ที่มีต่อความภักดีในจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวชาวไทย ใช้การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ตอย่างน้อย 1 คืน จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์หาค่าการถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า นักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจในองค์ประกอบการท่องเที่ยววิถีปกติใหม่ในจังหวัดภูเก็ตในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.18) จากการทดสอบสมมุติฐานหาค่าการถดถอยเชิงพหุคูณ พบว่า ความพึงพอใจในองค์ประกอบการท่องเที่ยววิถีปกติใหม่สามารถร่วมพยากรณ์กับความภักดีในจุดหมายปลายทางได้ร้อยละ 56.5 (Adjust = 0.565) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 โดยความพึงพอใจในองค์ประกอบการท่องเที่ยววิถีปกติใหม่ด้าน สถานที่พัก ด้านความเชื่อมั่น ด้านการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก และด้านการรับรู้ (Beta =-.380, .251, .245, -.177, .133) มีอิทธิพลต่อความภักดีในจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05</p> 2023-12-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 Ranipa Hongmo, มณฑกานติ ชุบชูวงศ์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/apheit-ss/article/view/268785 ผู้นำชุมชน กับการมีส่วนร่วมในการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติด กรณีศึกษาเขตพื้นที่จังหวัดสระบุรี 2023-11-04T16:59:51+07:00 โอภาส ซาลู [email protected] เฉลิมพร เย็นเยือก [email protected] <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมในการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดของผู้นำชุมชนในเขตจังหวัดสระบุรี และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดของผู้นำชุมชนในเขตจังหวัดสระบุรี ใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้นำชุมชนในเขตจังหวัดสระบุรี จำนวน 120 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ทดสอบสมมติฐานด้วย t-test และ F-test และทดสอบความสัมพันธ์ด้วยสถิติ correlation ผลการศึกษาพบว่า ระดับการมีส่วนร่วมในการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดของผู้นำชุมชนในเขตจังหวัดสระบุรี 4 ด้าน ได้แก่ การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ การดำเนินกิจกรรม การรับผลประโยชน์ และ การการติดตามประเมินผล อยู่ในระดับมาก ปัจจัยด้านความพร้อม การรับรู้ และ ความสามารถ ของผู้นำชุมชนอยู่ในระดับมากทุกด้าน ผลการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านความพร้อม การรับรู้ และ ความสามารถของผู้นำชุมชนกับการมีส่วนร่วมในการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดของผู้นำชุมชนในเขตจังหวัดสระบุรี พบว่ามีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01</p> 2023-12-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 Chalermporn Yenyuak https://so06.tci-thaijo.org/index.php/apheit-ss/article/view/268559 ปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาหลักทรัพย์หมวดธุรกิจการแพทย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2556 ถึงปี 2564 2023-11-07T09:06:32+07:00 ชิสากัญญ์ เดชปรีชากุลl [email protected] ดนัย ธนามี [email protected] <p>การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาหลักทรัพย์หมวดธุรกิจการแพทย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวโน้มความเคลื่อนไหวของราคาหลักทรัพย์หมวดธุรกิจการแพทย์ในแต่ละไตรมาส เพื่อวางแผนกลยุทธ์ในการตัดสินใจลงทุน และศึกษาตัวแปรทางเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อราคาหลักทรัพย์หมวดธุรกิจการแพทย์ ตัวแปรในการศึกษาได้แก่ การติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อัตราเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่แท้จริง GDP GDPกลุ่มสุขภาพและงานสังคม อัตราเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ SET100 อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ ดัชนีดาวโจนส์ และกำไรสุทธิของโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทย ขอบเขตแหล่งข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาคือราคาหลักทรัพย์ย้อนหลังตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ปี 2556 ถึงไตรมาสที่ 2 ปี 2564 รวมทั้งสิ้น 34 ไตรมาส ของโรงพยาบาลเอกชนทั้งหมดในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 23 โรง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณา และการวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงซ้อนด้วยวิธีกำลังสองน้อยที่สุด ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อราคาหลักทรัพย์หมวดธุรกิจการแพทย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมากที่สุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ได้แก่ ดัชนีราคาหลักทรัพย์ดาวโจนส์ และกำไรสุทธิของโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทย รองลงมาคือปัจจัยที่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ GDP และ SET100 </p> 2023-12-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 Chisakan Dechpreechakul https://so06.tci-thaijo.org/index.php/apheit-ss/article/view/265799 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ของกลุ่มผู้บริโภค เจเนอเรชั่นวายบนแพลตฟอร์มลาซาด้าและช้อปปี้ 2023-11-29T10:04:35+07:00 กิตติอำพล สุดประเสริฐ [email protected] ฉัตร์รวี อภิวรางค์พงศ์ [email protected] บุญญิสา ถึงถิ่น [email protected] <p>งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ของกลุ่มผู้บริโภคเจเนอเรชั่นวายบนแพลตฟอร์มลาซาด้าและช้อปปี้ ใช้กลุ่มตัวอย่างจากประชากรที่เคยซื้อสินค้าอิเล็กทรอนิกส์บนแพลตฟอร์มลาซาด้าและช้อปปี้ ซึ่งเป็นกลุ่มผู้บริโภคเจเนอเรชั่นวายที่มีอายุตั้งแต่ 21-37 ปี จำนวน 385 คน ใช้แบบสอบถามในรูปแบบออนไลน์ มีค่าความเชื่อมั่น 0.727 ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ของกลุ่มผู้บริโภคเจเนอเรชั่นวายบนแพลตฟอร์มลาซาด้าและช้อปปี้ คือ คุณภาพของสินค้า ราคา และการรับรู้การใช้งานบนแพลตฟอร์มลาซาด้าและช้อปปี้ อีกทั้งยังพบว่าความปลอดภัยเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความเชื่อมั่นและความพึงพอใจของกลุ่มผู้บริโภคเจเนอเรชั่นวายบนแพลตฟอร์มลาซาด้าและช้อปปี้ จึงสรุปได้ว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ของกลุ่มผู้บริโภคเจเนอเรชั่นวายบนแพลตฟอร์มลาซาด้าและช้อปปี้ คือ คุณภาพของสินค้า ราคา การรับรู้การใช้งานบนแพลตฟอร์มลาซาด้าและช้อปปี้ และความปลอดภัย</p> 2023-12-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 Kittiampol Sudprasert, Chatrawee Apiwarangpong, Bunyisa Thuenghin https://so06.tci-thaijo.org/index.php/apheit-ss/article/view/266556 ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เวย์โปรตีนของผู้บริโภคเจนเนอเรชันวาย ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 2023-07-26T11:19:57+07:00 ภัทราภรณ์ สินบัวทอง [email protected] พรรณนุช ชัยปินชนะ [email protected] <p>การวิจัยนี้มุ่งศึกษาพฤติกรรมการซื้อ ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีความสำคัญต่อการซื้อเวย์โปรตีน ระดับการตัดสินใจซื้อ และการวิเคราะห์ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อเวย์โปรตีนของผู้บริโภคเจนเนอเรชันวาย ในเขตอำเภอเมืองเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริโภคที่ซื้อเวย์โปรตีน อายุระหว่าง 22-42 ปี จำนวน 400 ตัวอย่าง ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ด้วยการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยร้อยละ และสถิติเชิงอนุมาน ด้วยการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบมีขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ (X<sub>1</sub>) ด้านราคา (X<sub>2</sub>) ด้านช่องทางจัดจำหน่าย (X<sub>3</sub>) ด้านการส่งเสริมการตลาด (X<sub>4</sub>) ด้านบุคคล (X<sub>5</sub>) ด้านกายภาพ (X<sub>7</sub>) มีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เวย์โปรตีนของผู้บริโภคเจนเนอเรชันวาย มีค่าสัมประสิทธิ์การทำนาย (R<sup>2</sup>) = 0.581 สามารถพยากรณ์การตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เวย์โปรตีน (Y) ของผู้บริโภคเจนเนอเรชันวาย ได้ร้อยละ 58.1 และสมการพยากรณ์ คือ Y = 0.443 + 0.189 X<sub>5</sub> + 0.128 X<sub>2</sub> + 0.143 X<sub>1</sub> + 0.114 X<sub>7</sub> + 0.101 X<sub>4</sub> + 0.035 X<sub>3</sub></p> <p><sub> </sub></p> 2023-12-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 pattaraporn sinbuathong https://so06.tci-thaijo.org/index.php/apheit-ss/article/view/267416 ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจใช้บริการสั่งสินค้าผ่านแอปพลิเคชัน 7 Delivery ของผู้บริโภค ในเขตบางนา กรุงเทพมหานคร 2023-12-14T13:42:36+07:00 พรพรรณ น้อยขัน [email protected] อำพล นววงศ์เสถียร [email protected] <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการตัดสินใจใช้บริการสั่งสินค้าผ่านแอปพลิเคชัน <br />7 Delivery ของผู้บริโภคในเขตบางนา 2) ศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีความสำคัญกับการตัดสินใจใช้บริการสั่งสินค้าผ่านแอปพลิเคชัน 7 Delivery ของผู้บริโภคในเขตบางนา และ 3) หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดกับการตัดสินใจใช้บริการสั่งสินค้าผ่านแอปพลิเคชัน 7 Delivery ของผู้บริโภคในเขตบางนา กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริโภคที่เคยใช้บริการสั่งสินค้าผ่านแอปพลิเคชัน 7 Delivery ของร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven ในพื้นที่เขตบางนา จำนวน 385 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่สถิติเชิงพรรณา ทดสอบสมมติฐานโดยหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 ผลการศึกษา พบว่า 1) การตัดสินใจใช้บริการสั่งสินค้าผ่านแอปพลิเคชัน 7 Delivery ของผู้บริโภคในเขตบางนา ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีความสำคัญกับการตัดสินใจใช้บริการสั่งสินค้าผ่านแอปพลิเคชัน 7 Delivery ของผู้บริโภคในเขตบางนา ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านราคามีความสำคัญกับการตัดสินใจมากที่สุด รองลงมาคือด้านกระบวนการให้บริการ ด้านพนักงาน ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ด้านการส่งเสริมการตลาด และด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และ 3) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในภาพรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการตัดสินใจใช้บริการสั่งสินค้าผ่านแอปพลิเคชัน 7 Delivery ของผู้บริโภคในเขตบางนา กรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01</p> 2023-12-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 Ponphan Noikhan https://so06.tci-thaijo.org/index.php/apheit-ss/article/view/265161 เทคนิคการสอนผลิตสื่อประชาสัมพันธ์สำหรับนักศึกษา คณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม 2023-12-06T10:55:27+07:00 ณัฐนันท์ ศิริเจริญ [email protected] <p>การวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้&nbsp; 1) เพื่อศึกษาเทคนิคการสอนที่มีประสิทธิภาพสำหรับนักศึกษาในการผลิตสื่อประชาสัมพันธ์&nbsp; 2) เพื่อให้ทราบถึงกลยุทธ์การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพต่อการส่งเสริมความคิดริเริ่มด้านสาธารณสุข 3) เพื่อให้ทราบถึงการจัดเตรียมนักศึกษาให้มีทักษะในการสร้างเนื้อหาสื่อประชาสัมพันธ์ที่ถูกต้องและเหมาะสม&nbsp; วิธีการเก็บข้อมูลจากการสนทนากลุ่มย่อยกับนักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม &nbsp;ม.หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ จำนวน 16 คน ระยะเวลาวิจัย 1 ภาคการศึกษา 2/2565 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าเทคนิคการสอนโดยการผสมผสานระหว่างการสอนเชิงทฤษฎี การฝึกอบรมภาคปฏิบัติและกรณีศึกษาในโลกแห่งความเป็นจริงช่วยเพิ่มความเข้าใจและทักษะของนักศึกษา กิจกรรมการเรียนรู้จากโครงการกลุ่มและส่งเสริมการทำงานเป็นทีม การเข้าถึงเทคโนโลยี เครื่องมือซอฟต์แวร์ และทรัพยากรที่ทันสมัยรวมข้อพิจารณาด้านจริยธรรม เช่น ความถูกต้องความโปร่งใสและข้อความที่ละเอียดอ่อนทางวัฒนธรรม สรุปผลงานวิจัยนี้ให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับเทคนิคการสอนที่มีประสิทธิภาพซึ่งจะช่วยทำให้นักศึกษามีทักษะในการผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ด้านสาธารณสุขได้อย่างมีผลกระทบเชิงบวก</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong><strong>:</strong> เทคนิคการสอน, กลยุทธ์การสื่อสาร, การทำงานเป็นทีม, กรณีศึกษาในโลกแห่งความเป็นจริง</p> 2023-12-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 Nattanun Siricharoen https://so06.tci-thaijo.org/index.php/apheit-ss/article/view/266343 การสร้างแบบทดสอบทักษะผู้รักษาประตูฮอกกี้ 2023-07-14T15:02:10+07:00 วันเฉลิม บุญบุตร [email protected] ชาญชัย ชอบธรรมสกุล [email protected] ชนะวงศ์ หงส์สุวรรณ [email protected] ชนิตา ไกรเพชร [email protected] <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแบบทดสอบทักษะผู้รักษาประตูฮอกกี้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ เป็นนักกีฬาผู้รักษาประตูฮอกกี้ระดับสโมสร จำนวน 35 คน จากสโมสรฮอกกี้ 55 สโมสร ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง ผลการวิจัยพบว่า ทักษะผู้รักษาประตูฮอกกี้ ด้านการหยุด (Stop Ball) มีทักษาะเพิ่มมากขึ้นที่สุด รองลงมา คือ การตี (Hitting) การเตะ (Kicking) การปัด (Swipe) และการสไลด์ (Slide) ตามลำดับ จากผลวิจัยครั้งนี้ พบว่า ระยะเวลาในการทดสอบมีผลทำให้ความสามารถในการรักษาและป้องกันประตูดีขึ้น ดังนั้น ถ้ามีเวลาในการทดสอบมากขึ้น ผู้ฝึกสอนกีฬาและผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถนำแบบทดสอบทักษะผู้รักษาประตูฮอกกี้ไปประยุกต์ใช้ในการฝึกซ้อม เพื่อเพิ่มทักษะความสามารถ ทักษะการรักษาและป้องกันประตูให้สูงขึ้น</p> 2023-12-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 wanchalerm boonbut