วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ สถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย https://so06.tci-thaijo.org/index.php/apheit-ss <p>วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้จัดพิมพ์ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ผลงานวิชาการ ผลงานวิจัย และแลกเปลี่ยนแนวคิด ความรู้ ความก้าวหน้าใหม่ ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยบทความทุกเรื่องได้ผ่านการพิจารณากลั่นกรองจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องจากหลายสถาบันการศึกษา</p> th-TH numaam150228@gmail.com (ดร. มานิต บุญประเสริฐ) numaam150228@gmail.com (นราวดี เฉพาะตน) Wed, 25 Dec 2024 14:58:17 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 แนวทางการส่งเสริมความสามารถในการเสริมสร้างภาวะพฤฒิพลังของผู้สูงอายุโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น https://so06.tci-thaijo.org/index.php/apheit-ss/article/view/278884 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาสภาพปัจจุบัน อุปสรรคและปัญหาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการดำเนินงานด้านการเสริมสร้างภาวะพฤฒิพลังในผู้สูงอายุ และเสนอแนวทางการส่งเสริมความสามารถในการเสริมสร้างภาวะพฤฒิพลังของผู้สูงอายุโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่สังกัดในส่วนงาน ฝ่าย หรือกองที่มีหน้าที่ในการรับผิดชอบงานด้านผู้สูงอายุจำนวน 99 แห่งจากทุกภูมิภาค โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และแบบบันทึกสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า ระดับการปฏิบัติงานด้านการเสริมสร้างภาวะพฤฒิพลังในผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก ( x̅ = 3.62, SD=0. 98) ส่วนแนวทางทางการส่งเสริมความสามารถในการเสริมสร้างภาวะพฤฒิพลังของผู้สูงอายุโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีทั้งหมด 4 ด้าน 11 แนวทาง ได้แก่ 1) ด้านบุคลากร ประกอบด้วย 3 แนวทาง 2) ด้านการดำเนินงานของหน่วยงาน ประกอบด้วย 3 แนวทาง 3) ด้านกฎหมายและนโยบาย ประกอบด้วย 2 แนวทาง 4) ด้านการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย 3 แนวทาง</p> วิรชา วุฒิเสน, วรรัตน์ ปทุมเจริญวัฒนา Copyright (c) 2024 วิรชา วุฒิเสน, วรรัตน์ ปทุมเจริญวัฒนา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/apheit-ss/article/view/278884 Wed, 25 Dec 2024 00:00:00 +0700 องค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนในสหวิทยาเขตเมืองชลบุรี 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/apheit-ss/article/view/270325 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนในสหวิทยาเขตเมืองชลบุรี 2 และเปรียบเทียบความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ตามการรับรู้ของครู โดยจำแนกตามระดับการศึกษาและประสบการณ์การทำงาน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรประกอบด้วยครูในโรงเรียนจำนวน 301 คน กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกด้วยวิธีการสุ่มแบบง่ายตามตารางเครจซี่และมอร์แกน ได้จำนวน 169 คน ใช้แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับเป็นเครื่องมือเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า (1) องค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนในสหวิทยาเขตเมืองชลบุรี 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และ (2) การเปรียบเทียบความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ จำแนกตามระดับการศึกษาและประสบการณ์การทำงานของครู พบว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ข้อค้นพบเหล่านี้ชี้ให้เห็นถึงการเรียนรู้ร่วมกันในองค์กร การพัฒนาบุคลากร และการวางแผนที่เป็นระบบซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่ยั่งยืน</p> ธารีรัตน์ บุญมีพิพิธ, วรชัย วิภูอุปรโคตร Copyright (c) 2024 ธารีรัตน์ บุญมีพิพิธ, วรชัย วิภูอุปรโคตร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/apheit-ss/article/view/270325 Wed, 25 Dec 2024 00:00:00 +0700 อิทธิพลของภาพลักษณ์ การรับรู้ ความรักที่มีต่อแบรนด์ และบรรจุภัณฑ์ของแบรนด์ที่ทำให้เกิดการซื้อซ้ำของผู้บริโภคชานมไข่มุกในกรุงเทพมหานคร https://so06.tci-thaijo.org/index.php/apheit-ss/article/view/270922 <p>วัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกลับมาซื้อซ้ำของผู้บริโภคชานมไข่มุก และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอิทธิพลของภาพลักษณ์ การรับรู้แบรนด์ การรับรู้คุณค่า การรับรู้คุณประโยชน์ ความรักที่มีต่อแบรนด์ และบรรจุภัณฑ์ของแบรนด์ กับการซื้อซ้ำของผู้บริโภคชานมไข่มุกในจังหวัดกรุงเทพ มหานคร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริโภคเครื่องดื่มชานมไข่มุกในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 378 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบไม่ใช้ความน่าจะเป็น (non probability sampling) ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการถดถอยเชิงพหุโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ผลการวิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่างพบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุอยู่ในช่วง 31-40 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี อาชีพเป็นพนักงานบริษัท รายได้ต่อเดือน 20,001-30,000 บาท จากการวิเคราะห์ข้อมูลความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกลับมาซื้อซ้ำ พบว่าปัจจัยด้านภาพลักษณ์ ไม่มีอิทธิพลต่อการกลับมาซื้อซ้ำของผู้บริโภคชานมไข่มุกในกรุงเทพ มหานคร ปัจจัยด้านการรับรู้คุณค่า การรับรู้คุณประโยชน์ การรับรู้แบรนด์ ความรักที่มีต่อแบรนด์ และบรรจุภัณฑ์ของแบรนด์ มีอิทธิพลเชิงบวกต่อการกลับมาซื้อซ้ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01</p> กานต์ กิจบำรุง, ธนกฤต วงศ์มหาเศรษฐ์ Copyright (c) 2024 กานต์ กิจบำรุง, ธนกฤต วงศ์มหาเศรษฐ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/apheit-ss/article/view/270922 Wed, 25 Dec 2024 00:00:00 +0700 แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์จากใบไม้ ของกลุ่มแม่บ้านตำบลแม่แฝกใหม่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/apheit-ss/article/view/271430 <p>การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำเนินงานและวิเคราะห์ปัญหาผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์จากใบไม้ และพัฒนาองค์ความรู้ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยการร่วมกับชุมชนในการหาแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์จากใบไม้ การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาประชากรกลุ่มเป้าหมาย โดยการคัดเลือกแบบเจาะจง ซึ่งเป็นกลุ่มแม่บ้านตำบลแม่แฝกใหม่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่จำนวน 15 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่มย่อยและการสร้างกระบวนการเรียนรู้ของชุมชนด้วยการดูงานชุมชนต้นแบบ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มแม่บ้านมีปัญหาด้านการดำเนินการผลิต เนื่องมาจากการขาดองค์ความรู้และเทคนิคการผลิต จึงส่งผลให้เกิดปัญหาด้านผลผลิต คือ การแตกหัก การโป่งพองของผิวบรรจุภัณฑ์ และการขาดความรู้ความเข้าใจระบบการทำงานเครื่องจักรอุปกรณ์ จึงไม่สามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ หลังจากกลุ่มแม่บ้านได้รับการพัฒนาองค์ความรู้และเทคนิคการผลิต จึงสามารถแก้ปัญหาและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ โดยการนำใบเหียงมาประกอบในการผลิตเพื่อสร้างความแตกต่างผลิตภัณฑ์</p> พรรณนุช ชัยปินชนะ Copyright (c) 2024 พรรณนุช ชัยปินชนะ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/apheit-ss/article/view/271430 Wed, 25 Dec 2024 00:00:00 +0700 กระบวนการตัดสินใจเลือกใช้บริการสถาปนิกในการออกแบบที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคGen Y https://so06.tci-thaijo.org/index.php/apheit-ss/article/view/271543 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบความแตกต่างของกระบวนการตัดสินใจเลือกใช้บริการสถาปนิกในการออกแบบที่อยู่อาศัยของผู้บริโภค Gen Y เมื่อจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล (2) ศึกษาผลกระทบของทัศนคติต่อวิชาชีพสถาปนิกที่มีต่อกระบวนการตัดสินใจดังกล่าว และ (3) วิเคราะห์ผลของส่วนประสมทางการตลาดในมุมมองของลูกค้า (7C’s) ที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจเลือกใช้บริการสถาปนิก การวิจัยใช้วิธีเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 ราย และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การทดสอบค่า t-Test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า (1) ผู้บริโภค Gen Y ที่มีสถานภาพ ขนาดครอบครัว อายุการทำงาน และรายได้ต่อเดือนที่แตกต่างกัน มีระดับกระบวนการตัดสินใจที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (2) ทัศนคติต่อวิชาชีพสถาปนิกในด้านความรู้ความเข้าใจและพฤติกรรมส่งผลเชิงบวกต่อกระบวนการตัดสินใจ และ (3) ส่วนประสมทางการตลาดในมุมมองของลูกค้า ได้แก่ คุณค่าที่ลูกค้าจะได้รับ ความสะดวกสบาย และความสำเร็จในการตอบสนองความต้องการ ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจเลือกใช้บริการสถาปนิกอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งนี้ ผลการวิจัยสามารถนำไปใช้ในการวางกลยุทธ์การตลาดและพัฒนาศักยภาพการให้บริการของสถาปนิกเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคในยุคปัจจุบัน</p> ณรงค์ชัย เลิศธรรมเกียรติ, สุรวี ศุนาลัย Copyright (c) 2024 ณรงค์ชัย เลิศธรรมเกียรติ, สุรวี ศุนาลัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/apheit-ss/article/view/271543 Wed, 25 Dec 2024 00:00:00 +0700 การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขตพื้นที่บางขุนนนท์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/apheit-ss/article/view/274713 <p>การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับแรงจูงใจในการมีส่วนร่วมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย &nbsp;2) ระดับการมีส่วนร่วมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย&nbsp; และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจกับการมีส่วนร่วมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เพื่อให้ได้ข้อเสนอแนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในเขตพื้นที่บางขุนนนท์ ใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่บางขุนนนท์ จำนวน 120 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาคือ ค่าจำนวน ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความสัมพันธ์ด้วยสถิติอนุมาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน &nbsp;</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า ระดับแรงจูงใจในการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนในภาพรวมอยู่ในระดับมาก&nbsp; (ค่าเฉลี่ย 4.09 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.497) ส่วนระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.10 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.636) โดยการมีส่วนร่วมด้านการร่วมตัดสินใจมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ผลการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจกับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย อยู่ในระดับปานกลางถึงค่อนข้างสูง&nbsp; โดยความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจกับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยอยู่ในระดับปานกลางถึงค่อนข้างสูง ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ดังนั้น ผู้บริหารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงควรตระหนักและศึกษาถึงความต้องการของประชาชนในชุมชนถึงเพื่อนำมาประยุกต์ในการเสริมสร้างกิจกรรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในชุมชน ให้คุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชนมีระดับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สามารถพึ่งพาตนเอง และ เป็นที่พี่งพาให้กับชุมชนอื่นได้</p> พงศ์พีรพิชญ์ วิวัฒนวานิช, เฉลิมพร เย็นเยือก Copyright (c) 2024 Chalermporn Yenyuak https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/apheit-ss/article/view/274713 Wed, 25 Dec 2024 00:00:00 +0700 ลิขสิทธิ์ในสื่อการเรียนการสอนที่สร้างสรรค์โดยคณาจารย์ของสถาบันอุดมศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/apheit-ss/article/view/271804 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษานโยบายลิขสิทธิ์ของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยและต่างประเทศ วิเคราะห์ปัญหาและข้อควรพิจารณาในการกำหนดนโยบาย รวมถึงนำเสนอแนวทางการปรับปรุงเพื่อเสริมสร้างความชัดเจนและประสิทธิภาพในการบริหารจัดการลิขสิทธิ์ในสื่อการเรียนการสอน งานวิจัยใช้วิธีการศึกษาเชิงเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกกับคณาจารย์ผู้มีประสบการณ์ด้านการผลิตสื่อการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง ผลการวิจัยพบว่านโยบายลิขสิทธิ์ของสถาบันอุดมศึกษาหลายแห่งขาดความชัดเจนในด้านขอบเขตผลงาน สิทธิของสถาบันฯ และการแบ่งปันผลประโยชน์ ส่งผลต่อการสร้างแรงจูงใจและความร่วมมือในการพัฒนาสื่อการเรียนการสอน ตลอดจนทำให้เกิดความเสี่ยงต่อข้อพิพาทเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ ทั้งนี้งานวิจัยเสนอให้สถาบันอุดมศึกษาทบทวนและปรับปรุงนโยบายลิขสิทธิ์ให้มีขอบเขตและแนวปฏิบัติที่ชัดเจน ครอบคลุมถึงการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเหมาะสมและเป็นธรรม เพื่อส่งเสริมการสร้างสรรค์และพัฒนาสื่อการเรียนการสอนที่มีคุณภาพและสอดคล้องกับบริบทของยุคดิจิทัล</p> อรณิชา สวัสดิชัย, อรรยา สิงห์สงบ Copyright (c) 2024 อรณิชา สวัสดิชัย, อรรยา สิงห์สงบ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/apheit-ss/article/view/271804 Wed, 25 Dec 2024 00:00:00 +0700 ผลกระทบของ Netflix ที่มีต่อวงการภาพยนตร์ไทย https://so06.tci-thaijo.org/index.php/apheit-ss/article/view/277664 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของ Netflix ที่มีต่อวงการภาพยนตร์ไทยในมิติต่าง ๆ ทั้งด้านวิชาชีพและวิชาการ รวมถึงการวิเคราะห์แนวโน้มการปรับตัวของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยในอนาคต งานวิจัยนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพผ่านการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interviews) จากกลุ่มตัวอย่างที่เลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ประกอบด้วยกลุ่มวิชาชีพภาพยนตร์ นักวิชาการ นักศึกษาวิชาภาพยนตร์ และผู้ชมทั่วไป รวม 34 คน ผลการวิจัยพบว่า Netflix ส่งผลกระทบเชิงบวกต่ออุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย โดยช่วยเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงแหล่งทุนและพัฒนากระบวนการผลิตให้ได้มาตรฐานสากล ส่งผลให้เนื้อหาภาพยนตร์มีความหลากหลายและคุณภาพสูงขึ้น นอกจากนี้ Netflix ยังทำให้ผู้ชมมีบทบาทสำคัญในการกำหนดเนื้อหา ซึ่งช่วยกระตุ้นการสร้างสรรค์ภาพยนตร์รูปแบบใหม่ อย่างไรก็ตาม การแข่งขันจากแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งส่งผลกระทบต่อบริษัทภาพยนตร์และโรงภาพยนตร์ที่ต้องปรับตัวเพื่อตอบสนองพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป งานวิจัยนี้เสนอให้สถาบันการศึกษาปรับปรุงหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของอุตสาหกรรมสตรีมมิ่ง และแนะนำให้บริษัทภาพยนตร์พัฒนากลยุทธ์ใหม่ ๆ เพื่อแข่งขันในตลาดดิจิทัลและส่งเสริมคุณภาพของเนื้อหาให้ตรงกับความต้องการของผู้ชมในปัจจุบัน</p> เจตน์ศักดิ์ แสงสิงแก้ว, บรรจง โกศัลวัฒน์, ปัทมวดี จารุวร, สุชาติ โอทัยวิเทศ, ไกรสร วงศ์อนันต์ศักดิ์ Copyright (c) 2024 Inkarat Wonganansak https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/apheit-ss/article/view/277664 Wed, 25 Dec 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยในการวางแผนทางการเงินของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีในจังหวัดลำปางส่งผลต่อเงินออมหลังเกษียณ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/apheit-ss/article/view/275365 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยในการวางแผนทางการเงินที่ส่งผลต่อเงินออมหลังเกษียณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีในจังหวัดลำปาง โดยมีเป้าหมายเฉพาะเพื่อ (1) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการวางแผนทางการเงินกับระดับเงินออมหลังเกษียณ (2) เปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยการวางแผนทางการเงินระหว่างกลุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะประชากรศาสตร์แตกต่างกัน และ (3) ศึกษาปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการวางแผนทางการเงินสำหรับเงินออมหลังเกษียณ การวิจัยนี้ใช้วิธีการเชิงปริมาณผ่านแบบสอบถามออนไลน์กับกลุ่มตัวอย่าง 230 คนที่เป็นผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีในจังหวัดลำปาง คิดเป็นร้อยละ 48.63 ของประชากรทั้งหมด ข้อมูลถูกวิเคราะห์ด้วยสถิติพรรณนา (Descriptive Statistics) และการทดสอบสมมติฐานด้วย T-test และ ANOVA ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าปัจจัยด้านพฤติกรรมการบริหารจัดการทางการเงินและพฤติกรรมการบริหารความเสี่ยงมีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญต่อเงินออมหลังเกษียณ (p &lt; 0.01) ในขณะที่ปัจจัยด้านการวางแผนการออมมีผลในระดับปานกลาง (p &lt; 0.05) ข้อเสนอแนะจากงานวิจัยนี้ระบุว่า หน่วยงานรัฐควรจัดทำโครงการให้ความรู้เกี่ยวกับการวางแผนการเงินและการบริหารความเสี่ยง รวมถึงการส่งเสริมการออมในระยะยาวเพื่อเพิ่มความมั่นคงทางการเงินของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีหลังเกษียณ</p> ดารณี ใจวงค์, ปฐมชัย กรเลิศ, กรรณิการ์ จันทร์อินทร์ Copyright (c) 2024 ดารณี ใจวงค์, ปฐมชัย กรเลิศ, กรรณิการ์ จันทร์อินทร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/apheit-ss/article/view/275365 Wed, 25 Dec 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาวงจรคุณภาพที่ส่งผลต่อการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ (OIT) ของโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายที่ 45 สำนักงานเขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร https://so06.tci-thaijo.org/index.php/apheit-ss/article/view/278245 <p>การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวงจรคุณภาพที่มีความสัมพันธ์ต่อการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะและวงจรคุณภาพที่ส่งผลต่อการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ ของโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายที่ 45 สำนักงานเขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร โดยตัวแปรต้นคือวงจรคุณภาพ (PDCA) และตัวแปรตามการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ (OIT) เป็นการศึกษาในเชิงปริมาณ (Quantitative) ใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล<br />โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และบุคลากร รวมจำนวน 173 คน ของโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายที่ 45 สำนักงานเขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร สถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Correlation) และค่าสัมประสิทธิ์ถดถอย (Linear Regression) ณ ระดับนัยสำคัญที่ 0.01 และ 0.05 โดยมีผลการศึกษาดังนี้ จากการทดสอบพบว่า ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบของวงจรคุณภาพและการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะมีค่าความสัมพันธ์กันสูง และเป็นบวกอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยที่เกี่ยวข้องส่วนการทดสอบสัมประสิทธิ์ถดถอย พบว่าองค์ประกอบวงจรคุณภาพทุกด้านส่งผลต่อการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะอย่างมีนัยสำคัญที่ 0.05 โดยสามารถสร้างสมการประมาณค่าจากคะแนนดิบ ได้ดังนี้</p> <p><strong> </strong>OIT = 1.107+0.349<sub>plan</sub>+0.235<sub>Do</sub>+0.200<sub>Check</sub>+0.112<sub>Act</sub>+0.081, R<sup>2</sup> = 0.955</p> ทวิทย์ บัวทอง, อามัน อับดุลซาลาม Copyright (c) 2024 นายทวิทย์ บัวทอง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/apheit-ss/article/view/278245 Wed, 25 Dec 2024 00:00:00 +0700 การยกระดับบทบาทมหาวิทยาลัยไทยต่อการพัฒนาเมืองสู่เมืองแห่งการเรียนรู้อย่างยั่งยืน https://so06.tci-thaijo.org/index.php/apheit-ss/article/view/279554 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์บทบาทของมหาวิทยาลัยในฐานะผู้ประกอบการในการสร้างการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนต่อการพัฒนาเมืองแห่งการเรียนรู้อย่างยั่งยืน และ (2) ศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมที่เป็นตัวกลางระหว่างบทบาทของมหาวิทยาลัยและการพัฒนาเมืองแห่งการเรียนรู้อย่างยั่งยืน การวิจัยใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 450 คน ซึ่งเป็นผู้บริหารระดับกลางและสูงจากมหาวิทยาลัยรัฐ โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage sampling) ข้อมูลถูกเก็บรวบรวมผ่านแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ และวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติเชิงอนุมาน การวิเคราะห์ปัจจัย และการวิเคราะห์เส้นทาง (Path analysis) นอกจากนี้ ยังใช้โปรแกรม AMOS ในการวิเคราะห์สมการเชิงโครงสร้าง (SEM) และทดสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลวิจัยที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ผลการศึกษาพบว่า บทบาทของมหาวิทยาลัยในฐานะผู้ประกอบการมีอิทธิพลโดยตรงต่อการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน และการมีส่วนร่วมดังกล่าวมีอิทธิพลโดยตรงต่อการพัฒนาเมืองแห่งการเรียนรู้อย่างยั่งยืน โมเดลวิจัยที่ใช้มีความเหมาะสมสูงโดยมีค่าดัชนี Goodness-of-Fit อยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับ ทั้งนี้ บทบาทมหาวิทยาลัยในฐานะผู้ประกอบการสามารถส่งผลเชิงบวกต่อการพัฒนาเมืองแห่งการเรียนรู้อย่างยั่งยืนผ่านการมีส่วนร่วมทั้งทางตรงและทางอ้อม งานวิจัยเสนอแนะให้มหาวิทยาลัยพัฒนาแนวทางการเสริมสร้างระบบนิเวศนวัตกรรม ส่งเสริมการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน และสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิตในเมือง เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองแห่งการเรียนรู้อย่างยั่งยืนต่อไป</p> วรชัย วิภูอุปรโคตร Copyright (c) 2024 วรชัย วิภูอุปรโคตร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/apheit-ss/article/view/279554 Wed, 25 Dec 2024 00:00:00 +0700