https://so06.tci-thaijo.org/index.php/bim/issue/feed
วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ
2024-11-01T15:05:00+07:00
รศ.ดร. สุรพล สุยะพรหม
journal.bim@mcu.ac.th
Open Journal Systems
<p><strong>วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ</strong> <span lang="TH">เลขมาตรฐานสากล </span>ISSN 2774-0919 (Print) ISSN 2774-0897 (Online) จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้คณาจารย์ นักวิชาการ นิสิต นักศึกษาและผู้สนใจทั่วไปได้มีโอกาสเผยแพร่ผลงานทางวิชาการและผลงานวิจัยที่นำเอาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาไปบูรณาการกับการจัดการหรือศาสตร์อื่นๆ เปิดรับบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ</p>
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/bim/article/view/276764
การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงพยาบาลรัฐในกรุงเทพมหานคร
2024-08-22T16:55:27+07:00
วิรกานต์ ชัยสิริสุวรรณ
virakan.mcu@gmail.com
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาสมรรถนะการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงพยาบาลรัฐในกรุงเทพมหานคร 2. ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถนะการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงพยาบาลรัฐในกรุงเทพมหานคร 3. นำเสนอการบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงพยาบาลรัฐในกรุงเทพมหานคร ดำเนินการวิธีวิจัยแบบผสานวิธีโดยการวิจัยเชิงปริมาณเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 397 คน ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา โดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ การวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการศึกษาภาคสนามด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะ จำนวน 9 รูปหรือคน เพื่อยืนยันองค์ความรู้หลังจากการสังเคราะห์ข้อมูล </p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. สมรรถนะการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงพยาบาลรัฐในกรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ได้แก่ การบริการที่ดี การทำงานเป็นทีม การยึดมั่นในความถูกต้องชอบธรรม ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ และการสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพ 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถนะการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงพยาบาลรัฐในกรุงเทพมหานคร ได้แก่ กระบวนการปฏิบัติงาน โดยเฉพาะด้านสังคมและเศรษฐกิจ และด้านครอบครัว คิดเป็นร้อยละ 31.5 หลักพละ 5 โดยเฉพาะด้านวิริยะพละ ความเพียรและด้านปัญญาพละ ความรอบรู้ ซึ่งสามารถอธิบายความแปรปรวนของสมรรถนะการปฏิบัติงาน คิดเป็นร้อยละ 24.3 3. การบูรณาการหลักพละ 5 ประการ ได้แก่ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา เข้ากับกระบวนการปฏิบัติงาน 4 ด้าน คือ สุขภาพและการทำงาน สังคมและเศรษฐกิจ จิตวิญญาณ และครอบครัว เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการปฏิบัติงาน 6 ด้านของบุคลากรโรงพยาบาลรัฐในกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยการมุ่งผลสัมฤทธิ์ การบริการที่ดี การสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพ การยึดมั่นในความถูกต้องชอบธรรม การทำงานเป็นทีม การบูรณาการหลักพละ 5 สามารถส่งเสริมสมรรถนะการปฏิบัติงานในทุกด้าน โดยเฉพาะการสร้างความเชื่อมั่น ความเพียรพยายาม การมีสติ การมุ่งมั่น และการใช้ปัญญาในการทำงาน ซึ่งส่งผลให้บุคลากรมีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานและการให้บริการที่ดีขึ้น</p>
2024-11-01T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/bim/article/view/276804
การบริหารจัดการงานสังคมสงเคราะห์ประชาชนในภาวะวิกฤตการระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 นครราชสีมา
2024-09-01T12:47:52+07:00
พระณพฤทธ คุณวีโร
6301204220@mcu.ac.th
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาสภาพในการบริหารจัดการ 2. ศึกษาองค์ประกอบในการบริหารจัดการ 3. นำเสนอวิธีการบริหารจัดการงานสังคมสงเคราะห์ในภาวะวิกฤตการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในนครราชสีมา โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 25 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะกับผู้ทรงคุณวุฒิอีก 9 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสัมภาษณ์เชิงลึก และวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการพรรณนาความ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพในการบริหารจัดการ 1. จุดแข็ง คือ ภาวะผู้นำของพระสังฆาธิการ การจัดการทรัพยากรมนุษย์ และการใช้เทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพ 2. จุดอ่อน คือ การขาดทรัพยากรและบุคลากร รวมถึงการประสานงานที่ไม่เป็นระบบ 3. โอกาส คือ การพัฒนาระบบบริหารจัดการและการสร้างความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ เป็นสิ่งที่ควรเน้นย้ำ และ 4. อุปสรรค คือ การขาดแคลนงบประมาณและบุคลากร 2. องค์ประกอบในการบริหารจัดการ พบว่า 1. การวางแผนเริ่มจากการวิเคราะห์สถานการณ์และจัดสรรทรัพยากร 2. การลงมือปฏิบัติเน้นการจัดตั้งศูนย์ประสานงานและให้บริการทางการแพทย์ 3. การตรวจสอบประเมินผลการดำเนินงาน รวบรวมข้อมูลและความคิดเห็นจากผู้รับบริการ และ 4. การปรับปรุงแก้ไข มุ่งเน้นการประเมินผลและพัฒนาทักษะของเจ้าหน้าที่ 3. การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรม สังคหวัตถุ 4 ในการบริหารจัดการงานสังคมสงเคราะห์ประกอบด้วย 1. ทาน เน้นการให้สิ่งของจำเป็นและบริการทางการแพทย์ 2. ปิยวาจา ให้ความสำคัญกับการสื่อสารสุภาพและให้กำลังใจ 3. อัตถจริยา ครอบคลุมการจัดหาสิ่งจำเป็น การสนับสนุนการศึกษา และส่งเสริมสุขภาพ และ 4. สมานัตตตา เน้นการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ เพื่อสร้างความมั่นคง<br />ทางเศรษฐกิจและสุขภาพจิตแก่ประชาชน 4. วิธีการบริหารจัดการงานช่วยเหลือประชาชน ประกอบด้วย 2 ด้าน ได้แก่ 1. การสงเคราะห์ทางวัตถุ มีการแจกจ่ายอาหาร น้ำดื่ม อุปกรณ์ป้องกันโรค ยารักษาโรค และ 2. การสงเคราะห์ทางจิตใจ มีการให้คำปรึกษา สนับสนุนทางจิตใจ เผยแพร่ข้อมูลที่ถูกต้อง</p>
2024-11-01T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/bim/article/view/276915
การพัฒนาการจัดการพลังงานสะอาดตามแนวพุทธของมหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งคณะสงฆ์ไทย
2024-09-04T09:31:27+07:00
กฤษฎา ไกรสุริยวงศ์
6301204220@mcu.ac.th
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาการจัดการพลังงานสะอาดของมหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งคณะสงฆ์ไทย 2. ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการพลังงานสะอาดของมหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งคณะสงฆ์ไทย 3. นำเสนอการพัฒนาการจัดการพลังงานสะอาดตามแนวพุทธของมหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งคณะสงฆ์ไทย ดำเนินการวิธีวิจัยแบบผสานวิธี<br />โดยการวิจัยเชิงปริมาณเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 341 รูปหรือคนการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะจำนวน 9 รูปหรือคน เพื่อยืนยันองค์ความรู้หลังจากการสังเคราะห์ข้อมูล </p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. การจัดการพลังงานสะอาดของมหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งคณะสงฆ์ไทย พบว่า โดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงตามลำดับดังนี้ ด้านการออกแบบและติดตั้งด้านการบำรุงรักษา ด้านการจำหน่ายและใช้ประโยชน์ และด้านการสำรวจและประเมินศักยภาพ ตามลำดับ 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการพลังงานสะอาดของมหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งคณะสงฆ์ไทย ประกอบด้วย 2 ปัจจัยหลัก ได้แก่ 1. กระบวนการจัดการแบบ PDCA โดยเฉพาะด้านการลงมือปฏิบัติและการปรับปรุง ซึ่งสามารถทำนายผลได้ร้อยละ 33.4 และ 2. หลักอิทธิบาทธรรม โดยเฉพาะด้านวิริยะ วิมังสา และฉันทะ ซึ่งสามารถทำนายผลได้ร้อยละ 18.4 ทั้งสองปัจจัยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ .05 ตามลำดับ <br />3. การพัฒนาการจัดการพลังงานสะอาดตามแนวพุทธของมหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งคณะสงฆ์ไทย มุ่งเน้น 4 ด้านหลัก ได้แก่ การสำรวจและประเมินศักยภาพ การออกแบบและติดตั้ง การบำรุงรักษา และการจำหน่ายและใช้ประโยชน์ โดยประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 (ฉันทะ วิริยะ จิตตะ และวิมังสา) ร่วมกับกระบวนการจัดการแบบ PDCA เพื่อให้การจัดการพลังงานสะอาดเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน โดยคำนึงถึงความสอดคล้องกับหลักพุทธศาสนา สถาปัตยกรรมของมหาวิทยาลัย และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม</p>
2024-11-01T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/bim/article/view/276503
การสื่อสารทางการเมืองของนักการเมืองที่มีผลต่อการไปใช้สิทธิเลือกตั้งทั่วไปของประชาชนในอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี
2024-08-09T10:05:08+07:00
สุหัทยา สินชัย
suhattayasinchai@gmail.com
เติมศักดิ์ ทองอินทร์
suhattayasinchai@gmail.com
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาระดับการไปใช้สิทธิเลือกตั้งทั่วไปของประชาชน 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการไปใช้สิทธิเลือกตั้งทั่วไปของประชาชน 3. การสื่อสารทางการเมืองที่มีผลต่อการไปใช้สิทธิเลือกตั้งทั่วไปของประชาชน โดยการประยุกต์หลักพุทธธรรม กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหพันธ์ และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 9 รูปหรือคน ได้แก่ นักวิชาการ 2 คน นักปกครอง 1 คน นักการเมือง 3 คน และผู้นำชุมชน 3 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับการไปใช้สิทธิเลือกตังทั่วไปของประชาชนใน<br />โดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการไปใช้สิทธิเลือกตั้งทั่วไปของประชาชน คือ ด้านผู้ส่งสาร ด้านผู้รับสาร และหลักสังคหวัตถุ 4 คือ ด้านทาน และด้านปิยวาจา 3. การสื่อสารทางการเมืองของนักการเมืองที่มีผลต่อการไปใช้สิทธิเลือกตั้งทั่วไปของประชาชน โดยการประยุกต์หลักสังคหวัตถุ 4 ได้แก่ 1. ด้านทาน คือ การให้ความรู้เพื่อให้ผู้รับสารนั้นได้ประโยชน์ 2. ด้านปิยวาจา คือ การใช้วาจาในการสื่อสารที่เป็นประโยชน์ 3. ด้านอัตถจริยา คือ ต้องมีความจริงใจช่วยเหลือ และ 4. ด้านสมานัตตา คือ การวางตนสม่ำเสมอ</p>
2024-11-01T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/bim/article/view/276748
พุทธบูรณาการพัฒนาระบบการนำเข้าเครื่องสำอางจากต่างประเทศเพื่อส่งเสริมการตลาดไทยของผู้ประกอบธุรกิจเครื่องสำอาง
2024-08-22T16:23:51+07:00
ศลิษา พิบูลย์สวัสดิ์
salisa.mcu@gmail.com
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาการส่งเสริมการตลาดไทยของผู้ประกอบธุรกิจเครื่องสำอาง 2. ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการส่งเสริมการตลาดไทยของผู้ประกอบธุรกิจเครื่องสำอาง และ 3. นำเสนอพุทธบูรณาการพัฒนาระบบการนำเข้าเครื่องสำอางจากต่างประเทศเพื่อส่งเสริมการตลาดไทยของผู้ประกอบธุรกิจเครื่องสำอาง ดำเนินการวิธีวิจัยแบบผสานวิธีโดยการวิจัยเชิงปริมาณเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 300 คน การวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะจำนวน 9 รูปหรือคน เพื่อยืนยันองค์ความรู้หลังจากการสังเคราะห์ข้อมูล </p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. การส่งเสริมการตลาดของฯ ครอบคลุม 4 ด้าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.10 ประกอบด้วย ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านราคา และด้านผลิตภัณฑ์ 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการส่งเสริมการตลาดประกอบด้วย กระบวนการนำเข้าเครื่องสำอางจากต่างประเทศ ได้ร้อยละ 45.2 และหลักปาปณิกธรรม โดยเฉพาะด้านวิธูโร การจัดการ ได้ร้อยละ 20.9 3. พุทธบูรณาการพัฒนาระบบการนำเข้าเครื่องสำอางจากต่างประเทศเพื่อส่งเสริมการตลาดไทยของผู้ประกอบธุรกิจเครื่องสำอาง โดยประยุกต์ใช้หลักปาปณิกธรรม ได้แก่ จักขุมา (วิสัยทัศน์) วิธูโร (การจัดการ) และนิสสยสัมปันโน (มนุษยสัมพันธ์) ในกระบวนการนำเข้าเครื่องสำอาง 6 ขั้นตอน จักขุมามุ่งเน้นการพัฒนาวิสัยทัศน์ทางธุรกิจ วิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค และคาดการณ์แนวโน้มตลาด วิธูโรเน้นการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่การวางแผนถึงการบริหารทรัพยากร ส่วนนิสสยสัมปันโนให้ความสำคัญกับการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับทุกฝ่าย การบูรณาการหลักทั้ง ๓ ด้านนี้ช่วยพัฒนาการดำเนินงานอย่างรอบด้าน นำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืนและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมเครื่องสำอางไทยในตลาดโลก โดยส่งเสริมให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพ โปร่งใส และถูกต้องตามกฎหมาย ผลการวิจัยนี้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาธุรกิจเครื่องสำอางไทย<br />ให้มีความยั่งยืนและแข่งขันได้ในระดับสากล</p>
2024-11-01T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/bim/article/view/277318
การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมไมซ์ของผู้ประกอบการจัดการประชุมและนิทรรศการในกรุงเทพมหานคร
2024-09-11T09:02:24+07:00
จิรภา สุชนวณิช
jirapa@magicidea.co.th
<p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาการพัฒนาอุตสาหกรรมไมซ์ของผู้ประกอบการการจัดประชุมและนิทรรศการในกรุงเทพมหานคร 2. ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมไมซ์ของผู้ประกอบการการจัดประชุมและนิทรรศการในกรุงเทพมหานคร และ 3. นำเสนอการบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมไมซ์ของผู้ประกอบการการจัดประชุมและนิทรรศการในกรุงเทพมหานคร ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมไมซ์ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 298 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน การวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 19 รูปหรือคน และทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. การพัฒนาอุตสาหกรรมไมซ์ของผู้ประกอบการการจัดประชุมและนิทรรศการในกรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมไมซ์ของผู้ประกอบการการจัดประชุมและนิทรรศการในกรุงเทพมหานคร พบว่า 1. หลักการบริหารห่วงโซ่สามารถร่วมกันทำนายการพัฒนาอุตสาหกรรมไมซ์ของผู้ประกอบการจัดการประชุมและนิทรรศการในกรุงเทพมหานคร ได้ร้อยละ 11.1 หลักปาปณิกธรรมสามารถร่วมกันทำนายการพัฒนาอุตสาหกรรมไมซ์ของผู้ประกอบการจัดการประชุมและนิทรรศการในกรุงเทพมหานคร ได้ร้อยละ 4.9 3. การนำเสนอการบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมไมซ์ของผู้ประกอบการการจัดประชุมและนิทรรศการในกรุงเทพมหานคร พบว่า การประยุกต์ใช้กับหลักปาปณิกธรรม ประกอบด้วย 1. ด้านจักขุมา มีวิสัยทัศน์ คือ กำหนดวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนและยั่งยืน มีการวางแผนเชิงกลยุทธ์ระยะยาว 2. ด้านวิธุโร จัดการดี คือ วางแผนและบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ 3. ด้านนิสสยสมฺปนฺโน มีมนุษยสัมพันธ์ คือ สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับพันธมิตร</p>
2024-11-01T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/bim/article/view/276535
การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี
2024-08-14T08:30:07+07:00
ธนิต สินศุภสว่าง
sinsuphswangthnit@gmail.com
พงศ์พัฒน์ จิตตานุรักษ์
sinsuphswangthnit@gmail.com
รัฐพล เย็นใจมา
sinsuphswangthnit@gmail.com
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาระดับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี 2. ศึกษาความความสัมพันธ์ระหว่างหลักอิทธิบาท 4 กับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี 3. ศึกษาแนวทางการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี ระเบียบวิธีวิจัยเป็นแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณ ประชาการ คือ บุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยสูตรทาโร ยามาเน่ 230 คน สุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม 5 ระดับ ความเชื่อมั่น 0.936 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์ การวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมาย คือผู้บริหารองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี และนักวิชาการ รวม 9 รูปหรือคน เลือกโดยเจาะจง เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. หลักอิทธิบาท 4 กับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับปานกลาง (R=.685**) จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย 3. แนวทางการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี ประกอบด้วย 1 อิทธิบาท 4 ได้แก่ 1. ด้านฉันทะ บุคลากรเต็มใจปฏิบัติหน้าที่ 2. ด้านวิริยะ บุคลากรมีขยันในการจัดการงานต่าง ๆ 3. ด้านจิตตะ บุคลากรมีความตั้งใจในการปฏิบัติหน้าที่ 4. ด้านวิมังสา บุคลากรตรวจสอบกระบวนการทำงานอย่างต่อเนื่อง 2. ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร พบว่า 1. ด้านการให้บริการอย่างเท่าเทียมกัน มีการให้บริการเท่าเทียมกันปราศจากอคติ 2. ด้านการให้บริการอย่างรวดเร็ว บุคลากรสามารถให้บริการได้อย่างเร็วเร็วแม่นยำ 3. ด้านการให้บริการทันเวลา บุคลากรสามารถให้บริการได้ทันเวลา 4. ด้านการให้บริการอย่างต่อเนื่อง บุคลากรสามารถให้บริการแบบ One-Stop Service 5. ด้านการให้บริการอย่างก้าวหน้า บุคลากรมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีในการให้บริการ</p>
2024-11-01T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/bim/article/view/277047
การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของกลุ่ม Gen Z ของหน่วยงานภาคเอกชนในเขตศูนย์กลางธุรกิจกรุงเทพมหานคร
2024-09-01T13:07:28+07:00
จินต์จุฑา จิตตานุรักษ์
lilly.chittanurak@gmail.com
สมบัติ นามบุรี
lilly.chittanurak@gmail.com
สุริยา รักษาเมือง
lilly.chittanurak@gmail.com
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของกลุ่ม Gen Z 2. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักสังคหวัตถุ 4 กับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของกลุ่ม Gen Z และ 3. ศึกษาการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของกลุ่ม Gen Z ของหน่วยงานภาคเอกชนในเขตศูนย์กลางธุรกิจกรุงเทพมหานคร ดำเนินการวิธีวิจัยแบบผสานวิธี เก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 385 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลทั้งเชิงพรรณนาและเชิงอนุมาน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของกลุ่ม Gen Z โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับคือ ความมั่นคงในการทำงาน รองลงมาคือ สภาพการ สถานะของอาชีพ เงินเดือนและผลตอบแทนอื่น และโอกาสความ ก้าวหน้าในอนาคต ตามลำดับ 2. ความสัมพันธ์ระหว่างหลักสังคหวัตถุ 4 กับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของกลุ่ม Gen Z พบว่า หลักสังคหวัตถุ 4 โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของกลุ่ม Gen Z ของหน่วยงานภาคเอกชนในเขตศูนย์กลางธุรกิจกรุงเทพมหานครในระดับปานกลาง 3. การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของกลุ่ม Gen Z ของหน่วยงานภาคเอกชนในเขตศูนย์กลางธุรกิจกรุงเทพมหานคร โดยการมีหลักสังคหวัตถุ 4 ซึ่งเป็นปัจจัยสนับสนุนให้เกิดแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของกลุ่ม Gen Z ของหน่วยงานภาคเอกชนในเขตศูนย์กลางธุรกิจกรุงเทพมหานคร มากยิ่งขึ้น ประกอบด้วย 1. ทาน การให้ โดยยินดีให้คำแนะนำเกี่ยวกับขั้นตอนต่าง ๆ แก่คนอื่นหรือเพื่อนร่วมงาน 2. ปิยวาจา การพูดจาไพเราะ โดยยึดถือและพูดด้วยถ้อยคำที่เป็นจริง พูดคุยเป็นกันเอง พูดจาด้วยคำที่สุภาพและมีประโยชน์ 3. อัตถจริยา การทำตนให้เป็นประโยชน์ โดยหากมีโอกาสจะเป็นจิตอาสา ให้ความช่วยเหลือผู้อื่นและเพื่อนร่วมงาน 4. สมานัตตา การวางตนเหมาะสม โดยเรียนรู้และยอมรับในพฤติกรรมของบุคคลอื่น ตรงไปตรงมา วางตัวเสมอต้นเสมอปลาย</p>
2024-11-01T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/bim/article/view/277621
การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมภาวะผู้นำในการปกครอง ข้าราชการตำรวจสังกัดกองบัญชาการตำรวจนครบาล
2024-09-19T09:41:09+07:00
เสน่ เฉโร
Sena.police2518@gmail.com
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาภาวะผู้นำในการปกครองข้าราชการตำรวจสังกัดกองบัญชาการตำรวจนครบาล 2. ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำในการปกครองข้าราชการตำรวจสังกัดกองบัญชาการตำรวจนครบาล และ 3. นำเสนอการบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมภาวะผู้นำในการปกครองข้าราชการตำรวจสังกัดกองบัญชาการตำรวจนครบาล โดยผู้วิจัยได้กำหนดรูปแบบการวิจัยแบบผสานวิธี ทั้งการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 18 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย จำนวน 8 รูปหรือคน และการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถาม เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ ข้าราชการตำรวจนครบาลในสังกัดกองบัญชาการตำรวจนครบาล จำนวน 393 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ </p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. ภาวะผู้นำในการปกครองข้าราชการตำรวจสังกัดกองบัญชาการตำรวจนครบาล ประกอบด้วย ด้านบุกเบิกค้นคว้าหาสิ่งใหม่ ๆ ด้านก้าวให้ทันโลกรอบรู้ควรส่งเสริมให้รู้จักการใช้เครื่องมือที่เหมาะสม ด้านเป็นนักพัฒนาริเริ่มสร้างสรรค์ ด้านเป็นนักต่อสู้ไม่ย่อท้อง ด้านมีบทบาทในการพัฒนาสังคมและเสียสละ ด้านมีความรับผิดชอบ<br />ในงาน 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำในการปกครองข้าราชการตำรวจสังกัดกองบัญชาการตำรวจนครบาล พบว่า ภาวะผู้นำและหลักฆราวาสธรรม ส่งผลต่อภาวะผู้นำในการปกครองข้าราชการตำรวจสังกัดกองบัญชาการตำรวจนครบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ 0.01 และ 3. การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมภาวะผู้นำในการปกครองข้าราชการตำรวจสังกัดกองบัญชาการตำรวจนครบาล พบว่า หลักฆราวาสธรรม ได้แก่ สัจจะการรักษาคำพูด ทมะ การมุ่งมั่น ยึดมั่นในหลักความถูกต้องและเป็นธรรม ขันติ การรักษาภาวะปกติ มีความอดกลั้น อดทน และ จาคะ การเป็นผู้ให้ การสละละ ช่วยเหลือเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ส่งเสริมภาวะผู้นำในการปกครองข้าราชการตำรวจสังกัดกองบัญชาการตำรวจนครบาล</p>
2024-11-01T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/bim/article/view/277426
การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการบริหารงานของเทศบาลนครนครศรีธรรมราช
2024-09-15T09:28:17+07:00
พระครูปลัดอนุวัฒน์ ธมฺมทีโป
aphiwatthanaporn@gmail.com
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาระดับประสิทธิผลในการบริหารงานของเทศบาลนครนครศรีธรรมราช 2. เปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรต่อประสิทธิผลในการบริหารงาน และ 3. ศึกษาแนวทางการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการบริหารงาน การวิจัยนี้ใช้วิธีการผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างเชิงปริมาณ คือ บุคลากรในเทศบาลนครนครศรีธรรมราช จำนวน 120 คน ซึ่งสุ่มอย่างง่ายจากประชากรทั้งหมด 171 คน ด้วยสูตรของทาโร่ ยามาเน่ ข้อมูลถูกเก็บด้วยแบบสอบถามและวิเคราะห์ด้วยค่าทางสถิติ เช่น ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีและการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลจากผู้บริหารและบุคลากรฝ่ายปฏิบัติการรวม 12 คน โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับประสิทธิผลในการบริหารงานของเทศบาล โดยรวมอยู่ในระดับสูง 2. การเปรียบเทียบประสิทธิผลในการบริหารงานแยกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่าระดับการศึกษาและประสบการณ์การทำงานมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ขณะที่เพศและอายุไม่มีความแตกต่าง 3. แนวทางการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิผล ได้แก่ การบริหารงานตามหลักฉันทะ ด้วยความมุ่งมั่นในการวางแผน หลักวิริยะ ด้วยความเพียรพยายาม หลักจิตตะ โดยเน้นการส่งเสริมบุคลากร และหลักวิมังสา ด้วยความรอบคอบในการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ</p>
2024-11-01T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/bim/article/view/277296
ภาวะผู้นำตามหลักพรหมวิหารธรรมของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลศาลาครุ อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี
2024-09-11T08:57:55+07:00
พระมหาพจน์ วชิรญาโณ
p.padkeaw1993@gmail.com
รัฐพล เย็นใจมา
p.padkeaw1993@gmail.com
สมบัติ นามบุรี
p.padkeaw1993@gmail.com
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาระดับภาวะผู้นำตามหลักพรหมวิหารธรรมของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล 2. ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อภาวะผู้นำตามหลักพรหมวิหารธรรมของผู้บริหารองค์การบริหารส่วน และ 3. ศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำตามหลักพรหมวิหารธรรมของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลศาลาครุ อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี เป็นแบบผสานวิธี คือการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถาม โดยกลุ่มประชากร จำนวน 67 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์ของเพียร์สัน วิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูปหรือคน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาและพรรณนาความ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับภาวะผู้นำตามหลักพรหมวิหารธรรมของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลศาลาครุ อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี พบว่า โดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.02 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.64 2. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อภาวะผู้นำตามหลักพรหมวิหารธรรมของผู้บริหารองค์การบริหาร<br />ส่วนตำบลศาลาครุ อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี พบว่า หลักพรหมวิหารธรรม (X) มีความสัมพันธ์ต่อภาวะผู้นำตามหลักพรหมวิหารธรรมของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลศาลาครุ อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี (Y) โดยภาพรวม มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับน้อยมาก (R=185**)</p>
2024-11-01T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/bim/article/view/278093
รูปแบบการจัดการสอนวิปัสสนากรรมฐานของวัดในจังหวัดตราด
2024-10-04T06:59:36+07:00
พระครูกิตติญาณวิจักษ์ (จักรกฤษณ์ กิตฺติญาโณ)
Jakriddd@hotmail.com
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1. ศึกษาสภาพทั่วไปของการจัดการสอนวิปัสสนากรรมฐานของวัดในจังหวัดตราด 2. ศึกษาองค์ประกอบการพัฒนารูปแบบการจัดการสอนวิปัสสนากรรมฐานของวัดในจังหวัดตราด 3. เพื่อนำเสนอรูปแบบการจัดการสอนวิปัสสนากรรมฐานของวัดในจังหวัดตราด เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์และแบบสนทนากลุ่มเฉพาะ โดยการเก็บข้อมูลการสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 25 หรือคนและ ทำการสนทนากลุ่มเฉพาะกับผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 11 รูปหรือคน สรุปเป็นความเรียง</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพทั่วไปของการจัดการสอนวิปัสสนากรรมฐานของวัดในจังหวัดตราด 1. จุดแข็ง ด้านสถานที่ปฏิบัติธรรมเป็นสถานที่สัปปายะ พระวิปัสสนาจารย์ที่มีบุคลิกภาพที่เป็นที่เคารพ 2. จุดอ่อน ด้านวิทยากรมีจำนวนไม่เพียงพอต่อความต้องการในการปฏิบัติธรรม 3. โอกาส สำนักปฏิบัติธรรม การเดินทางมาปฏิบัติธรรมสะดวก 4. อุปสรรค จังหวัดตราดฝน 8 แดด 4 ทำให้เข้าร่วมกิจกรรมเกิดความไม่สะดวกและ<br />บางแห่งชุมชนไม่มีความร่วมมือเท่าที่ควร 2. องค์ประกอบการพัฒนารูปแบบการจัดการสอนวิปัสสนากรรมฐานของวัดในจังหวัดตราด 1. ด้านสมถกรรมฐาน พบว่า สมถกรรมฐานจะเน้นที่การนั่งสมาธิ เดินจงกรม และสวดมนต์ เพื่อให้จิตสงบ 2. ด้านวิปัสสนาญาณ พบว่า จัดให้มีการบรรยายธรรมเพื่อให้ความรู้ความเข้าใจในหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าโดยเน้นสอนวิปัสสนาแบบสติปัฏฐานสูตร 3. รูปแบบการจัดการสอนวิปัสสนากรรมฐานของวัดในจังหวัดตราด 1. ด้านสถานที่ พบว่า สำนักปฏิบัติธรรมมีสถานที่เหมาะสม มีที่จอดรถสะดวก มีสิ่งสำคัญอำนวยความสะดวกอุปกรณ์สำหรับผู้สูงอายุ 2. ด้านวิทยากร พบว่า วิทยากรหลายท่านหมุนเวียนสอนเพื่อให้ได้ความรู้ที่หลากหลาย 3. ด้านการบริหารจัดการ พบว่า สำนักปฏิบัติธรรมมีการบริหารจัดการเป็นสัดส่วน มีระบบระเบียบที่ชัดเจน และกำหนดภารกิจผู้รับผิดชอบและมอบหมายหน้าที่อย่างเป็นระบบ</p>
2024-11-01T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/bim/article/view/278092
การพัฒนาการบริหารจัดการโครงการพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนในยุคปกติวิถีใหม่ของคณะสงฆ์จังหวัดตราด
2024-10-04T07:01:55+07:00
พระครูวิธานธรรมสุนทร (บังเอิญ พลวโร)
mtn1090.ip5.st@gmail.com
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาสภาพทั่วไปของการบริหารจัดการโครงการพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนของคณะสงฆ์จังหวัดตราด 2. ศึกษาปัจจัยส่งเสริมการบริหารจัดการโครงการพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนของคณะสงฆ์จังหวัดตราด 3. เสนอแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการโครงการพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนของคณะสงฆ์จังหวัดตราด เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจาก<br />การสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 รูปหรือคนและการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลจากพระสงฆ์ในเขตการปกครองคณะสงฆ์จังหวัดตราดจำนวน 205 รูป วิเคราะห์ข้อมูลหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สรุปการวิจัยและผลการวิจัยเป็นความเรียง แล้วทำการสนทนากลุ่มเฉพาะกับผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 11 รูปหรือคน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพทั่วไปของการบริหารจัดการโครงการพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนของคณะสงฆ์จังหวัดตราด พบว่า 1. จุดแข็ง มีการจัดตั้งคณะกรรมการบริหารศูนย์ 2. จุดอ่อน สถานศึกษากับพระสอนศีลธรรมขาดการประสานเชื่อมต่อการทำงาน 3. โอกาส มีการจัดสรรงบประมาณ 4. อุปสรรค การสอนด้านศีลธรรมเข้ากับวิชาสามัญทั่วไป 2. ปัจจัยส่งเสริมการบริหารจัดการโครงการ พบว่า ปัจจัยส่งเสริมการบริหารจัดการโครงการพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนของคณะสงฆ์จังหวัดตราด ในภาพรวม พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง 3. แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการโครงการ ประกอบด้วย 1. บริบท พบว่า สถานที่เรียนมีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ ปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรมเป็นภูมิคุ้มกันจากปัญหาสังคมและยาเสพติด 2. ปัจจัยนำเข้า พบว่า กิจกรรมในโครงการมีความเหมาะสม สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ 3. กระบวนการ พบว่า มีการนิเทศ กำกับ ติดตาม และควบคุมการดำเนินงานตาม 4. ผลผลิต พบว่า สามารถใช้จ่ายงบประมาณได้ตามเป้าหมาย นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในหลักธรรมพระพุทธศาสนามากขึ้น</p>
2024-11-01T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/bim/article/view/277687
การพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพระสังฆาธิการเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งในการปกครองของคณะสงฆ์จังหวัดราชบุรี
2024-09-29T08:33:44+07:00
พระปลัดธณัฐพล ธมฺมสโร
juymanstory@gmail.com
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1. ศึกษาสภาพทั่วไป ปัญหา และอุปสรรคในการปฏิบัติงานของพระสังฆาธิการ ในการปกครองของคณะสงฆ์จังหวัดราชบุรี 2. ศึกษาปัจจัยที่ส่งเสริมประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพระสังฆาธิการเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งในการปกครองของคณะสงฆ์จังหวัดราชบุรี และ 3. นำเสนอการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพระสังฆาธิการเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งในการปกครองของคณะสงฆ์จังหวัดราชบุรี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลวิจัยภาคสนามจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 25 รูปหรือคน โดยการคัดเลือกแบบเจาะจง และทำการสนทนากลุ่มเฉพาะ กับผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 10 รูปหรือคน แล้วทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพทั่วไปและปัญหา อุปสรรค ในการปฏิบัติงานของพระสังฆาธิการในการปกครองของคณะสงฆ์จังหวัดราชบุรี พบว่า 1. ด้านจุดแข็ง คณะสงฆ์จังหวัดราชบุรี มีการจัดประชุมตรวจการ อย่างน้อยปีละ 3 ครั้ง 2. ด้านจุดอ่อน ระยะเวลาในการจัดประชุมไม่เหมาะสม 3. ด้านโอกาส มีการศึกษาในระดับอุดมศึกษา 4. ด้านอุปสรรค การที่ตั้งวัดอยู่ไกลจากอำเภอ 2. ปัจจัยที่ส่งเสริมประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน พบว่า 1. มีการจัดโครงการฝึกอบรมพัฒนาศักยภาพของพระสังฆาธิการอยู่ทุก ๆ ปี 2. ให้การสนับสนุนการศึกษา 3. มีการเสนอแนวทางในการปกครองคณะสงฆ์ที่ดีให้กับเจ้าอาวาสทุกวัด 3. การพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพระสังฆาธิการ พบว่า 1. มีโครงสร้างสายบังคับบัญชาไปตามลำดับขั้น 2. มีดำเนินงานปกครองคณะสงฆ์จัดการควบคุมภายในองค์กร 3. มีการปฏิบัติงานของคณะพระสังฆาธิการผู้รู้หลักพระวินัย <br />โดยโปร่งใส สุจริต ยุติธรรม 4. เมื่อมีเหตุกระทำความผิดในเขตพื้นที่ตำบล เจ้าคณะตำบลจะเป็นผู้ที่เข้าไปตรวจสอบและมีอำนาจหน้าที่จะการระงับปัญหานั้น 5. สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบการควบคุมดูแลคณะสงฆ์ให้กับประชาชนมากขึ้น 6. มีการจัดประชุมพระสังฆาธิการ ปีหนึ่งอย่างน้อย 3 ครั้ง</p>
2024-11-01T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/bim/article/view/277585
การพัฒนาการบริหารจัดการวัดสร้างสุขด้วยกิจกรรม 5 ส ในจังหวัดนครราชสีมา
2024-09-27T10:58:49+07:00
พระสนธยา อธิจิตฺโต
6401104318@mcu.co.th
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาสภาพทั่วไปของการบริหารจัดการวัดสร้างสุข ด้วยกิจกรรม 5 ส 2. ศึกษากระบวนการการบริหารจัดการวัดสร้างสุข ด้วยกิจกรรม 5 ส 3. นำเสนอการพัฒนาการบริหารจัดการวัดสร้างสุข ด้วยกิจกรรม 5 ส ในจังหวัดนครราชสีมา โดยประยุกต์ตามหลัก ปฏิรูปเทส 4 โดย ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ จากการสัมภาษณเชิงลึก กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 25 รูป หรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะ กับผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารจัดการวัดสร้างสุข ด้วยกิจกรรม 5 สในจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 9 รูปหรือคน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารวัดสร้างสุขด้วยกิจกรรม 5 ส เน้นความสะอาดและระเบียบ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนและพระสงฆ์ แม้วัดจะเผชิญปัญหาทรัพยากรและการใช้เทคโนโลยีในการติดตามและประเมินผล 2. กระบวนการบริหารจัดการวัดตามหลัก 5 ส เริ่มจากการวิเคราะห์สถานการณ์และวางแผนร่วมกับชุมชน ใช้กระบวนการ PDCA เพื่อสร้างความเข้าใจ กำหนดบทบาท และติดตามผล การสร้างแรงจูงใจและวัฒนธรรมความสะอาดช่วยให้กิจกรรมยั่งยืน การมีส่วนร่วมและปรับปรุงตามเกณฑ์ช่วยพัฒนาคุณภาพ 3. การพัฒนาการบริหารจัดการวัดสร้างสุขด้วยกิจกรรม 5 ส เน้นการดำเนินงานที่เป็นระบบ โดยเริ่มจากการสะสางสิ่งของ จัดระบบ รักษาความสะอาด สร้างสุขลักษณะที่ดี และปลูกฝังวินัย ใช้กระบวนการปฏิรูปเทส 4 เพื่อจัดการอาวาส อาหาร บุคคล และธรรมะอย่างมีประสิทธิภาพ สร้างวัดที่สะอาดและเอื้อต่อการปฏิบัติศาสนกิจ</p>
2024-11-01T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/bim/article/view/277556
การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อเสริมสร้างการตัดสินใจไปเลือกตั้งสมาชิกสภาและนายกองค์การบริหารส่วนตำบลของประชาชนในจังหวัดลำปาง
2024-09-17T13:12:48+07:00
พระมหาบวรวิทย์ รตนโชโต
bovornvit55@gmail.com
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาการตัดสินใจของประชาชนในการเลือกตั้งสมาชิกสภาและนายกองค์การบริหารส่วนตำบล 2. ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของประชาชนในการเลือกตั้งสมาชิกสภาและนายกองค์การบริหารส่วนตำบล 3. บูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อเสริมสร้างการตัดสินใจไปเลือกตั้งสมาชิกสภาและนายกองค์การบริหารส่วนตำบลของประชาชนในจังหวัดลำปาง รูปแบบการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ และการสนทนากลุ่มเฉพาะ และการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถาม ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.995 เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 398 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. การตัดสินใจของประชาชนในการเลือกตั้งสมาชิกสภาและนายกองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดลำปาง ด้านการใช้ความรู้สึกเป็นใช้ความรู้สึกส่วนตัว ด้านการใช้ประสบการณ์เลือกจากผลงานของผู้นำ ด้านการใช้ดุลยพินิจพิจารณาถึงประโยชน์โดยรวม ด้านการใช้ตัวแบบเปรียบเทียบบทเรียนของพื้นที่อื่น ด้านการใช้เชิงปริมาณสำรวจระดับความนิยม 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของประชาชนในการเลือกตั้งสมาชิกสภาและนายกองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดลำปาง ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจสามารถทำนายได้ร้อยละ 19.6 และหลักอคติ 4 สามารถทำนายได้ร้อยละ 12.6 3. การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อเสริมสร้างการตัดสินใจไปเลือกตั้งสมาชิกสภาและนายกองค์การบริหารส่วนตำบลของประชาชนในจังหวัดลำปาง ฉันทาคติการตัดสินใจด้วยความเป็นธรรม โทสาคติการใช้ความเข้าใจและเหตุผล โมหาคติการพิจารณาจากความถูกต้องและเหมาะสม ภยาคติควรมุ่งเน้นการยึดมั่นในความถูกต้อง</p>
2024-11-01T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/bim/article/view/277591
รูปแบบการจัดการสุขภาวะของพระสงฆ์ตามธรรมนูญสุขภาพ พระสงฆ์แห่งชาติในจังหวัดอ่างทอง
2024-10-17T22:58:23+07:00
พระครูสังฆรักษ์สมพงษ์ จตฺตมโล
Somponglaoma@gmail.com
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาสภาพทั่วไปของการจัดการสุขภาวะของพระสงฆ์ 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการสุขภาวะของพระสงฆ์ 3. นำเสนอรูปแบบการจัดการสุขภาวะของพระสงฆ์ตามธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ ในจังหวัดอ่างทอง โดยใช้วิจัยแบบผสานวิธี เชิงปริมาณเก็บข้อมูลจากพระสงฆ์ 314 รูป ด้วยแบบสอบถามที่มีความเชื่อมั่น 0.825 วิเคราะห์ด้วยสถิติต่าง ๆ และเชิงคุณภาพจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 20 รูปหรือคน ด้วยสัมภาษณ์เชิงลึก และสนทนากลุ่มเฉพาะ 9 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารจัดการสุขภาวะพระสงฆ์ในจังหวัดอ่างทองมีความเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ โดยมีการอบรมและสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน จุดอ่อน คือการขาดความรู้และทักษะด้านการรักษาพยาบาล และการบูรณาการระหว่างหน่วยงานไม่ต่อเนื่อง มีโอกาสพัฒนาระบบสุขภาพพระสงฆ์โดยเน้นความร่วมมือระหว่างภาคส่วน<br />ต่าง ๆ แต่อุปสรรคอยู่ที่การขาดงบประมาณ บุคลากรที่มีความรู้ และการประสานงานที่ไม่เพียงพอ 2. พระสงฆ์ในจังหวัดอ่างทองมีความคิดเห็นต่อการจัดการสุขภาวะตามธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติในระดับมาก โดยทุกด้านอยู่ในระดับมาก กระบวนการจัดการสุขภาวะไม่ส่งผลต่อการจัดการสุขภาวะของพระสงฆ์ตามธรรมนูญ แต่หลักอิทธิบาทธรรม<br />ด้านฉันทะ ส่งผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (Multiple R = 0.198, R² = 0.039) แสดงว่าหลักอิทธิบาทธรรมสามารถทำนายการจัดการสุขภาวะของพระสงฆ์ได้ร้อยละ 3.9 3. การจัดการสุขภาวะของพระสงฆ์ในจังหวัดอ่างทองตามธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติประกอบด้วย 7 รูปแบบย่อย ได้แก่ 1. การพัฒนาสุขภาวะโดยเน้นองค์ความรู้และการจัดการร่วมกับชุมชน 2. ส่งเสริมกำลังคนด้านสุขภาพและเครือข่ายชุมชน 3. ใช้เทคโนโลยีและช่องทางออนไลน์ในการสื่อสาร 4. นำเทคโนโลยีทันสมัยมาใช้ในการดูแลสุขภาพ 5. บริหารค่าใช้จ่ายผ่านกองทุนสุขภาพและประสานงบประมาณ 6. ภาวะผู้นำในการจัดตั้งคณะกรรมการดูแลสุขภาพ 7. แนวทางการจัดการโดยประสานงานระหว่างคณะสงฆ์และชุมชนพร้อมบูรณาการหลักธรรม</p>
2024-11-01T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/bim/article/view/276999
กระบวนการส่งเสริมพระสงฆ์ผู้ทรงพระปาฏิโมกข์ของคณะสงฆ์ อำเภอเมือง จังหวัดระยอง
2024-08-30T07:20:16+07:00
พระประจักษ์ ปิยสีโล
pichityoma@gmail.com
พระครูสุธีกิตติบัณฑิต (กฤษฎา กิตฺติโสภโณ)
pichityoma@gmail.com
พระราชวัชรสารบัณฑิต (ประสาร จนฺทสาโร)
pichityoma@gmail.com
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาสภาพทั่วไปในกระบวนการส่งเสริมพระสงฆ์ผู้ทรงพระปาฏิโมกข์ 2. ศึกษาองค์ประกอบในกระบวนการส่งเสริมพระสงฆ์ผู้ทรงพระปาฏิโมกข์ 3. ศึกษากระบวนการส่งเสริมพระสงฆ์ผู้ทรงพระปาฏิโมกข์ของคณะสงฆ์ อำเภอเมือง จังหวัดระยอง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีการวิเคราะห์เอกสาร และใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลภาคสนามจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 4 กลุ่ม จำนวน 20 รูปหรือคน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพทั่วไปของการส่งเสริมพระสงฆ์ผู้ทรงพระปาฏิโมกข์ คือ จุดแข็ง ได้แก่ สำนักเรียนที่จัดการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ จุดอ่อน ได้แก่ ขาดการสนับสนุนในด้านงบประมาณ ขาดบุคลากร โอกาส ได้แก่ หมุนเวียนพระสงฆ์ขึ้นแสดงปาฏิโมกข์ เปิดโอกาสให้พระสงฆ์ผู้สนใจ และอุปสรรค ได้แก่ ขาดการประชาสัมพันธ์และการประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ 2. องค์ประกอบของการส่งเสริมพระสงฆ์ผู้ทรง<br />พระปาฏิโมกข์ คือ การวางแผนอย่างเป็นขั้นตอนชัดเจนและเป็นระบบ, การตรวจสอบมาตรฐานการสวดของพระสงฆ์ที่เข้าอบรม, และทำแบบสำรวจประเมินผลประจำปี ปรับปรุงแก้ไขตามความเหมาะสม 3. กระบวนการของการส่งเสริมพระสงฆ์ผู้ทรงพระปาฏิโมกข์ ประกอบด้วย การให้ความรู้ คือ การให้ความรู้แก่พระที่สนใจจะฝึก เน้นชี้แจงประโยชน์ในการลงอุโบสถฟังปาฏิโมกข์ทุกกึ่งเดือน ด้านเจตคติ คือ การสร้างเจตคติที่ดีต่อการเป็นผู้ทรงจำปาฏิโมกข์ และมีทัศนคติที่ดีในการรักษาพระธรรมวินัย ด้านความสามารถ คือ การส่งเสริมความสามารถในการสวดมนต์ของพระสงฆ์ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ด้านทักษะ คือ การใช้เทคนิคและวิธีการสอนที่มีนวัตกรรมมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ด้านบุคลิกภาพ คือ การฝึกอบรมเน้นความสำคัญของวินัยและการประพฤติปฏิบัติทางสงฆ์ การดูแลบุคลิกภาพและการเป็นตัวอย่างที่ดี</p>
2024-11-01T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/bim/article/view/276259
พุทธวิธีการบริหารจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุในเขต อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง
2024-09-05T13:55:04+07:00
พระสมุห์ปกรณ์ เตชธมฺโม
pichityoma@gmail.com
พระสุธีวีรบัณฑิต (โชว์ ทสฺสนีโย)
pichityoma@gmail.com
ประเสริฐ ธิลาว
pichityoma@gmail.com
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาระดับความคิดเห็นของผู้สูงอายุ <br />2. เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้สูงอายุ 3. นำเสนอพุทธวิธีการบริหารจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุในเขตอำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุ จำนวน 180 คนซึ่งเป็นผู้สูงอายุเครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ <br />การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ และการวิเคราะห์เอกสาร ใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลภาคสนามจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูปหรือคน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับความคิดเห็นของผู้สูงอายุ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อย คือ 1. ด้านสมุตเตชนา (แกล้วกล้า) 2. ด้านสภาพแวดล้อม 3. ด้านสังคม 4. ด้านเศรษฐกิจ 5. ด้านสันทัสสนา 6. ด้านสมาทปนา (จูงใจ) 7. ด้านสุขภาพ 8. ด้านสัมปหังสนา (ร่าเริง) 2. เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้สูงอายุ พบว่า โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย 3. การนำเสนอพุทธวิธีการบริหารจัดการ ได้แก่ 1. ด้านสุขภาพ คือ ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโดยเชิญผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดีมาเป็นวิทยากร 2. ด้านสังคม คือ ส่งเสริมการเข้าสังคมด้วยกิจกรรมมีส่วนร่วม ยกย่องผู้มีปฏิสัมพันธ์ดีเด่น 3. ด้านเศรษฐกิจ คือ ส่งเสริมเศรษฐกิจผู้สูงอายุโดยเชิญวิทยากรแบ่งปันประสบการณ์ จัดตั้งกลุ่มเพิ่มรายได้ลดรายจ่าย 4. ด้านสภาพแวดล้อม คือ ส่งเสริมสภาพแวดล้อมดีด้วยการมีส่วนร่วม และสร้างบรรยากาศโรงเรียนให้อบอุ่น</p>
2024-11-01T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/bim/article/view/277580
การบริหารการจัดการงานสาธารณสงเคราะห์ของพระสังฆาธิการ อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี
2024-09-18T09:16:54+07:00
พระกฤต กิตฺติสาโร
6401204209@mcu.ac.th
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาระดับการบริหารการจัดการงานสาธารณสงเคราะห์ 2. เปรียบเทียบการบริหารการจัดการงานสาธารณสงเคราะห์ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3. นำเสนอปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะทีมีต่อการบริหารการจัดการงานสาธารณสงเคราะห์ของพระสังฆาธิการการการในอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี ระเบียบวิธีวิจัยเป็นแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ เป็นการสำรวจด้วยแบบสอบถาม กับกลุ่มตัวอย่าง คือ พระสงฆ์ในพื้นที่อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี จำนวน 133 รูป ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้คือค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 9 รูปหรือคน โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. พระสงฆ์มีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการงานสาธารณสงเคราะห์ของพระสังฆาธิการ อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2. ผลการทดสอบสมมติฐานการวิจัย พบว่า พระสงฆ์ที่มีอายุ พรรษา วุฒิการศึกษาทางโลก วุฒิการศึกษานักธรรม และวุฒิการศึกษาบาลีแตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อมีความคิดเห็นต่อการบริหารการจัดการสาธารณะสงเคราะห์ในอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้ง 3. ปัญหา อุปสรรค ที่มีต่อ การบริหารการจัดการงานสาธารณสงเคราะห์ของพระสังฆาธิการอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี พบว่า การบริหารจัดการสาธารณะสงเคราะห์ขาดความต่อเนื่องขาดบุคลากรที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญในการดำเนินการสาธารณะสงเคราะห์ ขาดความรู้และทักษะในการบริหารจัดการศาสนสมบัติ ขาดความรู้และทักษะในการดูแลสัตว์หรือการจัดการด้านการเกื้อกูลประชาชนในเรื่องเฉพาะทาง ข้อเสนอแนะ คือ ควรจัดทำแผนการระดมทุนหรือหาทรัพยากรเพิ่มเติมจากผู้สนับสนุนทั้งภายในและภายนอกวัด สร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างพระสังฆาธิการในพื้นที่กับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน</p>
2024-11-01T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/bim/article/view/276258
การบริหารจัดการการศึกษาสงเคราะห์ของพระสังฆาธิการ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง
2024-09-05T13:51:32+07:00
พระจุฑาวัฒน์ ถาวโร
6301204220@mcu.ac.th
ประเสริฐ ธิลาว
6301204220@mcu.ac.th
พระสุธีวีรบัณฑิต (โชว์ ทสฺสนีโย)
6301204220@mcu.ac.th
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาระดับความคิดเห็นของพระสังฆาธิการ 2. เปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของพระสังฆาธิการ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3. ศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะที่มีต่อการบริหารจัดการการศึกษาสงเคราะห์ของพระสังฆาธิการ เป็นการวิจัยเป็นแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง 80 รูป เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพมีการวิเคราะห์เอกสาร และใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลภาคสนามจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 4 กลุ่ม จำนวน <br />8 รูป และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิควิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับความคิดเห็นของพระสังฆาธิการพบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงตามลำดับมากไปหาน้อย 2. ผลการทดสอบสมมติฐานการวิจัย พบว่า พระสังฆาธิการที่มีตำแหน่งพระสังฆาธิการ มีพรรษา มีวุฒิการศึกษา ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการการศึกษาสงเคราะห์ ภาพรวมไม่แตกต่างกัน ดังนั้น จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย 3. ปัญหา อุปสรรคในการบริหารจัดการการศึกษาสงเคราะห์ของพระสังฆาธิการในอำเภอแกลง จังหวัดระยอง ได้แก่ ขาดแคลนผู้สอนที่เชี่ยวชาญและกำลังคน งบประมาณจำกัด มีข้อจำกัดในการเข้าถึงวัสดุการศึกษาและเทคโนโลยีที่สำคัญ และการทำงานระหว่างบุคลากร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังไม่ราบรื่น ข้อเสนอแนะ ควรจัดโครงการฝึกอบรมครูให้เป็นผู้เชี่ยวชาญในการสอนพุทธศาสนา และสนับสนุนวัสดุการศึกษาที่เหมาะสม เพิ่มแหล่งที่มาของงบประมาณ เช่น การสร้างรายได้เสริม หรือเปิดโอกาสให้ภาครัฐ ภาคเอกชน และบุคคลที่สนใจได้ร่วมบริจาค ทำระบบการจัดการที่ชัดเจน โปร่งใส การจัดระบบการประสานงานระหว่างพระสังฆาธิการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่น</p>
2024-11-01T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/bim/article/view/277583
การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการเลือกตั้งสมาชิกสภาและนายกองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดลำปาง
2024-09-18T09:21:15+07:00
พระมหาบวรวิทย์ รตนโชโต
bovornvit55@gmail.com
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาระดับการเลือกตั้งสมาชิกสภาและนายกองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดลำปาง 2. ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกตั้งสมาชิกสภาและนายกองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดลำปางในจังหวัดลำปาง 3. ศึกษาการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการเลือกตั้งสมาชิกสภาและนายกองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดลำปาง รูปแบบการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ และการสนทนากลุ่มเฉพาะ และการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถาม ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.995 เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 398 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาและนายกองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดลำปาง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกตั้งสมาชิกสภาและนายกองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดลำปางในจังหวัดลำปาง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจและหลักอคติ 4 ส่งผลต่อการตัดสินใจของประชาชน เนื่องจากความเข้าใจทางการเมืองมีความเข้าใจด้านสิทธิมีและกฎหมาย<br />การมีส่วนร่วมทางการเมืองมีความสนใจตามสิทธิของตน ทัศนคติทางการเมืองมีการปลูกฝังค่านิยมทางการเมือง พฤติกรรมทางการเมืองมีการประเมินและตรวจสอบ 3. การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อเสริมสร้างการตัดสินใจไปเลือกตั้งสมาชิกสภาและนายกองค์การบริหารส่วนตำบลของประชาชนในจังหวัดลำปาง ฉันทาคติการตัดสินใจด้วยความเป็นธรรม โทสาคติการใช้ความเข้าใจและเหตุผล โมหาคติการพิจารณาจากความถูกต้องและเหมาะสม ภยาคติควรมุ่งเน้นการยึดมั่นในความถูกต้อง</p>
2024-11-01T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/bim/article/view/276958
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการใปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกและผู้บริหารองค์การบริหาร ส่วนตำบลของประชาชนในอำเภอนิคมพัฒนา จังหวัดระยอง
2024-09-27T11:01:11+07:00
เพชรแพรวพราว รามโกมุท
warasanwarasan7@gmail.com
เติมศักดิ์ ทองอินทร์
warasanwarasan7@gmail.com
อภิญญา ฉัตรช่อฟ้า
warasanwarasan7@gmail.com
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาระดับปัจจัยการไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกและผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลของประชาชน 2. เปรียบเทียบปัจจัยที่ส่งผลต่อการไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกและผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลของประชาชน และ 3. ศึกษาแนวทางการส่งเสริมการไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกและผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลของประชาชนโดยการประยุกต์หลักอิทธิบาทธรรม เป็นการวิจัยผสานวิธี ได้แก่ การวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร คือ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตอำเภอนิคมพัฒนา จังหวัดระยอง 43,810 คน โดยหากลุ่มตัวอย่างด้วยสูตรการคำนวณของทาโร่ ยามาเน่ ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 397 คน จากการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์โดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหพันธ์ ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 9 รูปหรือคน ด้วยการคัดเลือดแบบเจาะจง ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีพรรณนา</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า 1. ระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อการไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาตำบลและผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลของประชาชน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. การเปรียบเทียบปัจจัยที่ส่งผลต่อการไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกและผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลของประชาชน พบว่า ประชาชนที่มีการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่างกัน ส่งผลต่อการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง โดยภาพรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ส่วนประชาชนที้มีเพศ อายุต่างกัน ส่งผลต่อการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง โดยรวมไม่แตกต่างกัน และหลักอิทธิบาท 4 มีความสัมพันธ์กับการส่งเสริมการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง โดยรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวก ในระดับปานกลาง 3. การนำหลักอิทธิบาท 4 มาใช้ในการส่งเสริมการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง พบว่า ฉันทะ ทำให้ประชาชนรู้บทบาทหน้าที่ของตนเองเกิดความเต็มใจไปใช้สิทธิ วิริยะ ประชาชนตั้งใจเลือกคนดี โดยการพิจารณาจากผลงาน จิตตะ ทำให้ประชาชนมุ่งศึกษาศึกษานโยบาย ว่าช่วยท้องถิ่นจริง และวิมังสา ประชาชนมีการตรวจสอบ ติดตาม และทำได้จริง</p>
2024-11-01T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ