วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/bim <p><strong>วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ</strong> <span lang="TH">เลขมาตรฐานสากล </span>ISSN 2774-0919 (Print) ISSN 2774-0897 (Online) จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้คณาจารย์ นักวิชาการ นิสิต นักศึกษาและผู้สนใจทั่วไปได้มีโอกาสเผยแพร่ผลงานทางวิชาการและผลงานวิจัยที่นำเอาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาไปบูรณาการกับการจัดการหรือศาสตร์อื่นๆ เปิดรับบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ</p> มูลนิธิการจัดการเชิงพุทธ th-TH วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ 2774-0919 รูปแบบการส่งเสริมกิจกรรมเพื่อสร้างความเข้มแข็งทางจิตใจ ของครอบครัววิถีชีวิตใหม่ตามแนวพุทธจิตวิทยา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/bim/article/view/271790 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษารูปแบบการส่งเสริมกิจกรรมเพื่อสร้างความเข้มแข็งทางจิตใจของครอบครัววิถีชีวิตใหม่ตามแนวพุทธจิตวิทยา และ 2. นำเสนอผลการประเมินจากการส่งเสริมกิจกรรมเพื่อสร้างความเข้มแข็งทางจิตใจของครอบครัววิถีชีวิตใหม่ตามแนวพุทธจิตวิทยา เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ กลุ่มผู้นำชุมชน ผู้ใหญ่บ้าน องค์การบริหารส่วนตำบล ผู้อำนวยการและครู โรงเรียนในพื้นที่ จำนวน 10 คน กลุ่มผู้ปกครองจำนวน 14 ครอบครัว และนักเรียนเยาวชนในพื้นที่ 30 คน ในพื้นที่สำเภาล่ม อำเภอเมืองพระนครศรีนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย การสัมภาษณ์เชิงลึก ชุดกิจกรรม แบบสำรวจ และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติ t-test และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการส่งเสริมกิจกรรมเป็นชุดกิจกรรม 4 ระยะ ได้แก่ 1. เสริมสร้างพลังใจครอบครัวเข้มแข็งทางใจ 2. เชื่อมสายใยครอบครัว 3. สื่อสารสร้างสรรค์ 4. สื่อสารเชิงบวก และกิจกรรมครอบครัว ได้แก่ การบรรยายความรู้และการทำจิตอาสา 2. ผลการประเมินจากการส่งเสริมกิจกรรมเพื่อสร้างความเข้มแข็งทางจิตใจของครอบครัววิถีชีวิตใหม่ตามแนวพุทธจิตวิทยา พบว่า เยาวชนและผู้ปกครองมีคะแนนเฉลี่ยตัวแปรพลังใจโดยรวมหลังอบรมแตกต่างกับก่อนอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยคะแนนเฉลี่ยหลังอบรมสูงกว่าก่อนอบรมและ ผลเชิงคุณภาพ พบว่า พฤติกรรมของเยาวชนและครอบครัวหรือผู้ปกครองมีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น</p> กมลาศ ภูวชนาธิพงศ์ พระมหานันทวิทย์ แก้วบุตรดี พระภาวนาวชิรวิเทศ (มงคล มงฺคโล) มนัสนันท์ ประภัสสรพิทยา หนึ่งธิดา สาริศรี Copyright (c) 2024 วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ 2024-07-01 2024-07-01 7 4 1 14 บทบาทการจัดการความตายให้ศพผู้ป่วยยากไร้และไร้ญาติ ของมูลนิธิไม่แสวงหากำไรแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร https://so06.tci-thaijo.org/index.php/bim/article/view/272674 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทการจัดการความตายให้ศพผู้ป่วยยากไร้และไร้ญาติของมูลนิธิแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร การศึกษานี้ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพด้วย 3 วิธีการคือ 1. การศึกษาเอกสาร 2. การสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 5 ท่าน และ 3. การสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม ดำเนินการเก็บข้อมูลระหว่างเดือนสิงหาคม 2563 ถึงเดือนมกราคม 2564</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า มูลนิธิมีบทบาทสำคัญในการจัดการความตายของศพผู้ป่วยยากไร้และผู้ป่วยไร้ญาติที่เสียชีวิตจากการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลในเขตกรุงเทพมหานคร โดยมูลนิธิมีบทบาทสำคัญนับตั้งแต่การดูแลศพ การเป็นผู้ระดมทุนในการจัดงานศพ การเป็นผู้ประสานงานดำเนินการพิธีทางศาสนา โดยบทบาทดังกล่าวสะท้อนถึงสิ่งสำคัญคือการทำหน้าที่ลดความเหลื่อมล้ำในการจัดการความตายให้ศพของกลุ่มเปราะบางทางสังคม ผ่านการสวมบทบาทความเป็นญาติเสมือนให้กับศพของผู้ป่วย ผลการศึกษาชี้ให้เห็นความจำเป็นต่อการพัฒนานโยบายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความตายของประชากรกลุ่มเปราะบางที่ถูกจำกัดด้วยเงื่อนไขทางเศรษฐกิจและสังคมที่อาจมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในเขตกรุงเทพมหานคร</p> ฐิตินันทน์ ผิวนิล ณัฐพร ชัยชาญ ญภา หาริกุล Copyright (c) 2024 วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ 2024-07-01 2024-07-01 7 4 15 28 การมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการบริหารจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุ อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง https://so06.tci-thaijo.org/index.php/bim/article/view/273341 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์กับการบริหารจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุ 2. เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์กับการบริหารจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3. ศึกษาปัญหา อุปสรรค เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 8 รูปหรือคน วิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนาสรุปเป็นความเรียง และการวิจัย<br />เชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่าง คือ พระสงฆ์ ใน 4 ตำบล จำนวน 103 รูป สถิติที่ใช้คือค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการทดสอบค่าเอฟ ด้วยวิธีวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. พระสงฆ์มีความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการบริหารจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. ผลการทดสอบสมมติฐานการวิจัย พบว่า พระสงฆ์ที่มีตำแหน่งปกครองคณะสงฆ์ มีอายุพรรษา มีการศึกษานักธรรม ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์กับการบริหารจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุ โดยภาพรวม ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย 3. ปัญหา อุปสรรค โรงเรียนผู้สูงอายุขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้และทักษะในการดูแลผู้สูงอายุ งบประมาณจำกัด และมีความไม่แน่นอนในแหล่งที่มาของงบประมาณหลัก ขาดแคลนวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการดำเนินงานและความปลอดภัยของผู้สูงอายุที่มีประสิทธิภาพ</p> พระใบฎีกาอภิสิทธิ์ ฐิตเมโธ พระอุดมสิทธินายก (กำพล คุณงฺกโร) นิกร ศรีราช Copyright (c) 2024 วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ 2024-07-01 2024-07-01 7 4 29 38 รูปแบบการมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน ตามหลักพุทธธรรมของคณะสงฆ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/bim/article/view/272497 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาสภาพทั่วไป 2. ศึกษาองค์ประกอบ 3. นำเสนอรูปแบบการมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนตามหลักพุทธธรรมของคณะสงฆ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ระเบียบวิธีวิจัยเป็นแบบวิจัยเชิงคุณภาพ ดำเนินการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 25 รูปหรือคน และการสนทนาเฉพาะกลุ่มกับผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 รูปหรือคน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการพรรณนาความ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. จุดแข็ง ให้การช่วยเหลือทางสังคม โดยเน้นการใช้หลักธรรมในชีวิตประจำวันและการสร้างสังคมที่มีคุณธรรม จุดอ่อน คือ ขาดการวางแผนและการจัดการที่มีประสิทธิภาพ โอกาส การยอมรับจากชุมชนและหน่วยงานรัฐบาล อุปสรรค การเมืองที่เปลี่ยนแปลง และความหลากหลายทางวัฒนธรรม 2. องค์ประกอบ พบว่า 1. การมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ แม้พระสงฆ์บางรูปจะขาดความรู้ในการวางแผนและการเขียนโครงการ แต่ก็สามารถ จัดโครงการอบรมในด้านนี้ได้เป็นอย่างดี 2. การดำเนินงานของแผนและโครงการ พระสงฆ์มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโครงการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาชุมชน 3. การติดตามและประเมินผลเป็นกระบวนการที่พระสังฆาธิการให้ความสำคัญ 4. การรับผลประโยชน์ กิจกรรมเหล่านี้ช่วยพัฒนาตัวบุคคลและชุมชนในหลายด้าน รวมทั้งการเผยแผ่พระพุทธศาสนา 3. รูปแบบการมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนตามหลักพุทธธรรม พบว่า 1. ด้านกายภาวนา โดยเน้นการพิจารณาปัจจัยพื้นฐาน 4 เพื่อป้องกันโรคเรื้อรัง 2. ด้านสีลภาวนาการมีศีล ส่งเสริมการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขในครอบครัวและชุมชน โดยเฉพาะผู้สูงอายุ 3. ด้านจิตตภาวนา เน้นการพัฒนาจิตใจผ่านการปฏิบัติสติปัฏฐานและวิปัสสนา <br />4. ด้านปัญญาภาวนา ศึกษาและปฏิบัติตามหลักของพระพุทธเจ้า</p> พระครูปลัดเสนาะ วิสุทฺโธ พระครูสุธีกิตติบัณฑิต (กฤษฎา กิตฺติโสภโณ) พระปลัดระพิน พุทฺธิสาโร Copyright (c) 2024 วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ 2024-07-01 2024-07-01 7 4 39 52 รูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูตในจังหวัดนครราชสีมา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/bim/article/view/272469 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อนำเสนอรูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูตในจังหวัดนครราชสีมา ระเบียบวิธีวิจัยเป็นแบบวิจัยเชิงคุณภาพ ดำเนินการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 25 รูปหรือคน และการสนทนาเฉพาะกลุ่มกับผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 รูปหรือคน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการพรรณนาความ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูตในจังหวัดนครราชสีมา พบว่า ด้านผู้ส่งสาร ได้แก่ การมีพระธรรมทูตที่มีความรู้และความเข้าใจในหลักธรรมอย่างลึกซึ้ง สามารถอธิบายหลักธรรมได้อย่างถูกต้องและชัดเจน และสามารถนำหลักธรรมไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม พระธรรมทูตมีจริยาวัตรที่ดีเป็นต้นแบบที่ดีแก่ผู้อื่น และมีทักษะในการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมของกลุ่มเป้าหมาย ด้านสารที่เผยแพร่ รวมถึงการเลือกหลักธรรมที่เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย เช่น หากกลุ่มเป้าหมายเป็นวัยรุ่น อาจเน้นหลักธรรมเกี่ยวกับการพัฒนาตนเอง การเลือกหลักธรรมที่เหมาะสมกับบริบทและสถานการณ์การเผยแผ่ และการนำเสนอหลักธรรมอย่างเข้าใจง่ายและนำไปปฏิบัติได้จริง ด้านช่องทางการสื่อสาร มีการใช้การบรรยายธรรมในสถานที่ต่าง ๆ เช่น วัด โรงเรียน ชุมชน การเผยแพร่ทางสื่อออนไลน์ เช่น เว็บไซต์ โซเชียลมีเดีย การจัดกิจกรรมทางศาสนาต่าง ๆ และการเขียนหนังสือเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ด้านผู้รับสาร การแบ่งกลุ่มเป้าหมายตามลักษณะที่ต่างกัน เช่น เพศ อายุ สถานะทางสังคม จะช่วยให้พระธรรมทูตวางแผนการเผยแผ่ได้อย่างมีประสิทธิภาพการนำเสนอหลักธรรมในลักษณะนี้จะช่วยให้กลุ่มเป้าหมายเข้าใจและนำไปปฏิบัติได้ง่ายขึ้น การใช้สื่อและกิจกรรมที่เหมาะสมกับลักษณะของกลุ่มเป้าหมายจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเข้าถึงและการเผยแผ่หลักธรรม อีกทั้งยังสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับกลุ่มเป้าหมายและช่วยให้พวกเขาเข้าใจและปฏิบัติตามหลักธรรมได้อย่างมีความหมายมากขึ้น</p> พระครูสุธรรมธีรานุยุต (ธีรศักดิ์ ธมฺมธีโร) พระปลัดระพิน พุทฺธิสาโร นิกร ศรีราช Copyright (c) 2024 วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ 2024-07-01 2024-07-01 7 4 53 64 การบริหารจัดการเรียนการสอนธรรมศึกษาของโรงเรียนในอำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/bim/article/view/272244 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาระดับความคิดเห็นของครู 2. เปรียบเทียบความคิดเห็นของครู และ 3. ศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะที่มีต่อการบริหารจัดการเรียนการสอนธรรมศึกษาของโรงเรียนในอำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี คือ การวิจัยเชิงปริมาณ จากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 180 คน <br />ซึ่งเป็นครูในอำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติอนุมาน และในเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 10 รูปหรือคน วิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับความคิดเห็นของครู โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2. ครูที่มีเพศ และอายุต่างกัน มีความคิดเห็นโดยรวม ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย ส่วนครูที่มีการศึกษา และตำแหน่งต่างกัน มีความคิดเห็นโดยรวม แตกต่างกัน จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย 3. ปัญหา อุปสรรค คือ ขาดการประชุมร่วมเพื่อวางแผนการจัดการเรียนการสอนธรรมศึกษา บุคลากรไม่เพียงพอ ที่มีอยู่ก็ขาดความรู้ กระบวนการตรวจสอบไม่ชัดเจน ไม่นำข้อมูลการตรวจสอบไปปรับปรุงแก้ไข และข้อเสนอแนะ คือ ควรมีการศึกษาข้อมูลและประชุมวางแผนร่วมกัน อบรมครูผู้สอนให้มีทักษะ ความรู้ และประสบการณ์ ควรตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง และนำผลการตรวจสอบไปปรับปรุงพัฒนา</p> พระปลัดกฤษณา ขนฺติธมฺโม พระมหาสุนันท์ สุนนฺโท สุภัทรชัย สีสะใบ Copyright (c) 2024 วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ 2024-07-01 2024-07-01 7 4 65 77 การประยุกต์หลักพลธรรมเพื่อส่งเสริมการปกครองท้องที่ ในอำเภอเมือง จังหวัดระยอง https://so06.tci-thaijo.org/index.php/bim/article/view/271450 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาระดับการปกครองท้องที่ในอำเภอเมือง จังหวัดระยอง 2. ของประชาชนต่อการปกครองท้องที่ในอำเภอเมือง จังหวัดระยอง และ 3. นำเสนอแนวทางการประยุกต์หลักพลธรรมเพื่อส่งเสริมการปกครองท้องที่ในอำเภอเมือง จังหวัดระยอง เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี คือ การวิจัยเชิงปริมาณ โดยสุ่มกลุ่มตัวอย่างจากการคำนวนด้วยสูตรของทาโร่ ยามาเน่ จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสถิติสำเร็จรูป และการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน จำนวน 12 รูปหรือคน โดยใช้การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1. การปกครองท้องที่ในอำเภอเมือง จังหวัดระยอง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. เปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อการปกครองท้องที่ในอำเภอเมือง จังหวัดระยอง พบว่า ประชาชนที่มีเพศต่างกัน มีความคิดเห็นโดยรวมไม่แตกต่างกันส่วนประชาชนที่มีอายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือนต่างกัน มีความคิดเห็นโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3. แนวทางการประยุกต์หลักพลธรรมเพื่อส่งเสริมการปกครองท้องที่ในอำเภอเมือง จังหวัดระยอง ได้แก่ 1. ด้านปัญญาพละ (กำลังความรู้) คือ ส่งเสริมให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เป็นผู้รอบรู้เรื่องราวต่าง ๆ 2. ด้านวิริยพละ (นำสู่การปฏิบัติ) คือ ส่งเสริมให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน มีความสามารถในการปฏิบัติงาน 3. ด้านอนวัชชพละ (ซื่อสัตย์สุจริต) คือ ส่งเสริมให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน มีคุณธรรมจริยธรรม และ 4. ด้านสังคหพละ (มีจิตอาสา) คือ ส่งเสริมให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน มีความเสียสละเพื่อส่วนรวม</p> พระมหาปณวัศ ปุญฺญโชตโก อภิญญา ฉัตรช่อฟ้า เติมศักดิ์ ทองอินทร์ Copyright (c) 2024 วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ 2024-07-01 2024-07-01 7 4 78 90 การบูรณาการหลักสังคหวัตถุธรรมเพื่อส่งเสริมภาวะผู้นำ ของนักการเมืองท้องถิ่น จังหวัดปทุมธานี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/bim/article/view/272399 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาระดับภาวะผู้นำนักการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดปทุมธานี 2. ศึกษาปัจจัยที่ส่งเสริมภาวะผู้นำของนักการเมืองท้องถิ่น จังหวัดปทุมธานี และ 3. นำเสนอการบูรณาการหลักสังคหวัตถุธรรมเพื่อส่งเสริมภาวะผู้นำของนักการเมืองท้องถิ่น จังหวัดปทุมธานี การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีวิจัยแบบผสานวิธี เก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน ซึ่งได้คำนวณจากสูตรของยามาเน่ โดยทำการสุ่มแบบแบ่งชั้นโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาและเชิงอนุมานด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ และการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 2 รูป และ 16 คน ซึ่งสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงกับผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ ที่เป็นผู้มีความรู้และเกี่ยวข้องการการวิจัย เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านศาสนา เป็นผู้นำทางการเมืองท้องถิ่น เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านรัฐศาสตร์ เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับภาวะผู้นำนักการเมืองท้องถิ่น จังหวัดปทุมธานีโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2. ปัจจัยที่ส่งเสริมภาวะผู้นำของนักการเมืองท้องถิ่น จังหวัดปทุมธานี พบว่า อยู่ในระดับปานกลาง 3. การบูรณาการหลักสังคหวัตถุธรรมเพื่อส่งเสริมภาวะผู้นำของนักการเมืองท้องถิ่น จังหวัดปทุมธานี พบว่า การใช้หลักสังควัตถุธรรมมาช่วยส่งเสริมภาวะผู้นำของนักการเมืองท้องถิ่น ให้มีภาวะผู้นำที่ดีขึ้น ในด้านการโน้มน้าวหรือชักจูงอย่างมีอุดมการณ์ การสร้างแรงบันดาลใจ การกระตุ้นทางปัญญาการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล ทำให้ผู้คนยอมรับนับถือในตัวตนผู้นำได้ และการกระตุ้นปัญญาที่ก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งสองฝ่าย สองฝ่ายในที่นี้หมายถึง ฝ่ายการเมืองกับฝ่ายประชาชนที่เป็นผู้รับผลประโยชน์ร่วมกัน</p> พระมหาศิวพล พลเมธี Copyright (c) 2024 วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ 2024-07-01 2024-07-01 7 4 91 104 การมีส่วนร่วมทางการเมืองในระดับท้องถิ่นตามแนวพระพุทธศาสนา ของประชาชนในตำบลบ้านโตก อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/bim/article/view/270336 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระดับท้องถิ่นของประชาชน 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระดับท้องถิ่นของประชาชน 3. เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระดับท้องถิ่นตามแนวพระพุทธศาสนา กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 387 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 10 รูปหรือคน จากจำนวน 5 กลุ่ม แล้ววิเคราะห์คำให้สัมภาษณ์ของผู้ให้ข้อมูลสำคัญตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. ความคิดเห็นเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระดับท้องถิ่นของประชาชน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. ผลการเปรียบเทียบ พบว่า ประชาชนที่มี เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ และรายได้ต่างกัน มีความคิดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ 3. การมีส่วนร่วมทางการเมืองในระดับท้องถิ่นตามแนวพระพุทธศาสนา พบว่า 1. การหมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ เป็นการร่วมประชุมเพื่อจุดมุ่งหมายเดียวกัน 2. การพร้อมเพรียงกันประชุมและเลิกประชุมพร้อมกัน แสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบ 3. การไม่บัญญัติสิ่งที่ยังไม่บัญญัติ เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง 4. การเคารพ นับถือผู้ใหญ่เป็นการแสดงออกถึงการเคารพนับถือผู้อาวุโส 5. การให้เกียรติสิทธิสตรีควรเปิดโอกาสให้สตรีได้เข้ามามีบทบาทเป็นผู้นำชุมชน 6. การส่งเสริมและรักษาวัฒนธรรมจะต้องรักษาวัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม 7. นักการเมืองท้องถิ่นต้องส่งเสริมคนทำประโยชน์ให้กับท้องถิ่น</p> พระยุทธนา ชยเมธี สุมาลี บุญเรือง เติมศักดิ์ ทองอินทร์ Copyright (c) 2024 วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ 2024-07-01 2024-07-01 7 4 105 117 การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมเพื่อเสริมสร้างทีมงานของธุรกิจธนาคาร ในเขตอยุธยา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/bim/article/view/273298 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาระดับความคิดเห็นทีมงาน 2. เปรียบเทียบความคิดเห็นของพนักงาน 3. นำเสนอปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะกับการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมเพื่อเสริมสร้างทีมงานของธุรกิจธนาคารในเขตอยุธยา ระเบียบวิธีวิจัยเป็นแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงคุณภาพ สัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 8 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา การวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากพนักงานธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) ในเขตอยุธยา จำนวน 144 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้คือค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการทดสอบค่าเอฟ ด้วยวิธีวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. พนักงานมีความคิดเห็นต่อการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมเพื่อเสริมสร้างทีมงานของธุรกิจธนาคาร ในเขตอยุธยา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. ผลการทดสอบสมมติฐานการวิจัย พบว่า พนักงานที่มีเพศต่างกัน มีวุฒิการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการสร้างทีมงานที่มีประสิทธิภาพ โดยภาพรวม แตกต่างกัน จึงเป็นไปตามสมมติฐานการวิจัย พนักงานที่มีตำแหน่งต่างกัน มีอายุการทำงานต่างกัน มีความคิดเห็น โดยภาพรวม ไม่แตกต่างกัน ดังนั้น จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย 3. ปัญหา อุปสรรค ที่การใช้หลักพุทธธรรมในธุรกิจธนาคารเพื่อเสริมความไว้วางใจและความร่วมมือเป็นเรื่องที่มีคุณค่า แต่ประสบปัญหาจากความหลากหลายทางวัฒนธรรมและความเชื่อ การตีความหลักคำสอนที่แตกต่างกัน และความท้าทายในการรวมเข้ากับวัฒนธรรมองค์กร การฝึกอบรมและการพัฒนาที่ต้องการทรัพยากรและเวลามากทำให้การปรับตัวยาก จึงต้องพัฒนาแนวทางเหมาะสมเพื่อลดผลกระทบของปัญหาเหล่านี้ ความเข้าใจเรื่องการเปิดเผยตามหลักพุทธธรรม การปรึกษาหารือ การสร้างความร่วมมือ และการติดตามการพัฒนาทีมงานนั้นต้องการความเข้าใจ การสื่อสาร และความยืดหยุ่นจากทุกฝ่ายเพื่อสร้างความสำเร็จ</p> รักเขต รัตนคุปต์ สุภัทรชัย สีสะใบ พระมหาสุนันท์ สุนนฺโท Copyright (c) 2024 วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ 2024-07-01 2024-07-01 7 4 118 129 การสื่อสารทางการเมืองเชิงพุทธของผู้บริหารเทศบาลนครเพื่อส่งเสริม การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในภาคเหนือตอนล่าง https://so06.tci-thaijo.org/index.php/bim/article/view/272354 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาสภาพการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในภาคเหนือตอนล่าง 2. ศึกษาปัจจัยการสื่อสารทางการเมืองเชิงพุทธที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงคุณภาพ ข้อมูลกลุ่มตัวอย่างจากผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเทศบาลนครภาคเหนือตอนล่าง จำนวน 400 คน ใช้เครื่องมือจากแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติทางสังคมศาสตร์ การวิจัยเชิงคุณภาพ สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่าง ๆ จำนวน 24 รูปหรือคน โดยใช้เครื่องมือจากแบบแบบสัมภาษณ์ อภิปรายผลโดยวิธีพรรณนา</p> <p>ผลวิจัยพบว่า 1. สภาพการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในภาคเหนือตอนล่าง แยกตามปัจจัยส่วนบุคคลประชาชนเพศหญิง ร้อยละ 40 อายุเฉลี่ย 41-50 ปี มีการศึกษาระดับมัธยมศึกษา มีรายได้เฉลี่ยเดือนละ 15,000 บาทขึ้นไป และส่วนใหญ่ มีอาชีพรับราชการ เข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองมากที่สุด 2. ปัจจัยการสื่อสารทางการเมืองเชิงพุทธส่งผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน พบว่าการสื่อสารทางการเมืองเชิงพุทธของผู้บริหารเทศบาลนครทำให้การมีส่วนร่วมทางการเมืองมากทุกด้าน</p> จิรเดช นาคพงษ์ Copyright (c) 2024 วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ 2024-07-01 2024-07-01 7 4 130 142 การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมบทบาทนักการเมืองท้องถิ่น เทศบาลตำบลทับมา อำเภอเมือง จังหวัดระยอง https://so06.tci-thaijo.org/index.php/bim/article/view/272084 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาระดับการส่งเสริมบทบาทนักการเมืองท้องถิ่น 2. ศึกษาการส่งเสริมบทบาทนักการเมืองท้องถิ่น และ 3. ศึกษาแนวทางการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมบทบาทนักการเมืองท้องถิ่นในเทศบาลตำบลทับมา อำเภอเมือง จังหวัดระยอง เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี คือ การวิจัยเชิงปริมาณ โดยสุ่มกลุ่มตัวอย่างจากการคำนวนด้วยสูตรของทาโร่ ยามาเน่ จำนวน 392 คน โดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วย 1. สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน จำนวน 9 รูปหรือคน โดยใช้การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1. การส่งเสริมบทบาทนักการเมืองท้องถิ่นในเทศบาลตำบลทับมา อำเภอเมือง จังหวัดระยอง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. ระหว่างหลักสังคหวัตถุ 4 กับการส่งเสริมบทบาทนักการเมืองท้องถิ่น มีความสัมพันธ์เชิงบวก ในระดับสูง (r=0.811**) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 3. หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมบทบาทนักการเมืองท้องถิ่นในเทศบาลตำบลทับมา อำเภอเมือง จังหวัดระยอง ได้แก่ 1. นักการเมืองท้องถิ่นให้ความสนใจและใส่ใจให้มีระบบสาธารณสุขแก่ประชาชน 2. นักการเมืองท้องถิ่นจัดให้มีระบบ สาธารณูปโภคโดยให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการ 3. นักการเมืองท้องถิ่นเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติตามกฎระเบียบของชุมชน สังคม และร่วมการรักษาความสงบเรียบร้อยตามหมู่บ้านต่าง ๆ และ 4. นักการเมืองท้องถิ่นมีภาพลักษณ์ในการส่งเสริมกิจกรรมการออกกำลังกายและรักษาสุขภาพ และสนับสนุนการออกกำลังกายให้ประชาชนได้เป็นแบบอย่างร่วมกิจกรรมตามจารีตประเพณีกับประชาชนในท้องถิ่น</p> ธนกฤต ชัยเทวะกุล Copyright (c) 2024 วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ 2024-07-01 2024-07-01 7 4 143 157 การประยุกต์หลักปัญญาธรรมเพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจทางการเมือง ในระบอบประชาธิปไตยของประชาชน ตำบลบ้านนา อำเภอแกลง จังหวัดระยอง https://so06.tci-thaijo.org/index.php/bim/article/view/271447 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาระดับความรู้ความเข้าใจทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย 2. เปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย และ 3. นำเสนอแนวทางการประยุกต์หลักปัญญาธรรมเพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของประชาชน ตำบลบ้านนา อำเภอแกลง จังหวัดระยอง เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ระยะที่ 1 คือ การวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรได้แก่ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตตำบลบ้านนา อำเภอแกลง จังหวัดระยอง จำนวน 8,433 กำหนดกลุ่มตัวอย่างด้วยสูตรของทาโร่ ยามาเน่ได้ขนาดตัวอย่าง จำนวน 382 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา สถิติอนุมาน ระยะที่ 2 คือ การวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 รูปหรือคน คือ เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองจำนวน ผู้นำท้องที่ นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ และนักวิชาการด้านพระพุทธศาสนา โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา แล้วสังเคราะห์ข้อมูลโดยเขียนเป็นความเรียงเพื่อนำเสนอข้อมูลในภาพรวม</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. ความรู้ความเข้าใจทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก 2. ประชาชนที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือน ต่างกัน มีความรู้ความเข้าใจทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย โดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3. หลักปัญญาธรรมเพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของประชาชน ตำบลบ้านนา อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ได้แก่ 1. ด้านสุตมยปัญญา (เกิดจากการฟัง) คือ ส่งเสริมให้ประชาชนฟัง เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ 2. ด้านจินตามยปัญญา (เกิดจากการคิดพิจารณา) คือ ส่งเสริมให้ประชาชนคิด เพื่อให้เข้าใจเรื่องราวต่าง ๆ และ 3. ด้านภาวนามยปัญญา (เกิดจากประสบการณ์) คือ ส่งเสริมให้ประชาชนทำ เพื่อสร้างเสริมประสบการณ์ โดยการเรียนรู้และลงมือปฏิบัติ</p> พระมหาธนาธิป สีลสุทฺโธ Copyright (c) 2024 วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ 2024-07-01 2024-07-01 7 4 158 170 การบูรณาการพุทธจริยธรรมทางการเมืองเพื่อการพัฒนานักการเมืองท้องถิ่นในอำเภอเมือง จังหวัดระยอง https://so06.tci-thaijo.org/index.php/bim/article/view/272846 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อจริยธรรมทางการเมือง 2. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพุทธจริยธรรมทางการเมือง กับการพัฒนานักการเมืองท้องถิ่น และ 3. การบูรณาการพุทธจริยธรรมทางการเมืองเพื่อการพัฒนานักการเมืองท้องถิ่นในอำเภอเมือง จังหวัดระยอง เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี คือ การวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร ได้แก่ ประชาชนในตำบลเชิงเนิน ตำบลท่าประดู่ และตำบลน้ำคอก จำนวน 69,294 และสุ่มกลุ่มตัวอย่าง ได้จำนวน 398 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วย 1. สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2. สถิติอนุมาน วิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ด้วยวิธีการของเพียร์สัน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 9 รูปหรือคน ประกอบด้วย นักวิชาการด้านพระพุทธศาสนา นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ นักการเมืองท้องถิ่น และกลุ่มผู้นำชุมชน โดยใช้การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อจริยธรรมทางการเมืองเพื่อการพัฒนานักการเมืองท้องถิ่นในอำเภอเมือง จังหวัดระยอง โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2. หลักฆราวาสธรรม 4 มีความสัมพันธ์กับการพัฒนานักการเมืองท้องถิ่นในอำเภอเมือง จังหวัดระยอง มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 ในเชิงบวกระดับปานกลาง และมาตรฐานจริยธรรมทางการเมืองกับการพัฒนานักการเมืองท้องถิ่น<br />ในอำเภอเมืองจังหวัดระยอง มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 ในเชิงบวกระดับต่ำ 3. การบูรณาการพุทธจริยธรรมทางการเมืองเพื่อการพัฒนานักการเมืองท้องถิ่นในอำเภอเมือง จังหวัดระยอง ดังนี้ 1. หลักสัจจะ นักการเมืองท้องถิ่น ควรมีความซื่อสัตย์ต่อหน้าที่และประชาชน 2. หลักทมะ รู้จักที่จะควบคุมอารมณ์ได้แม้จะประสบกับปัญหา 3. หลักขันติ นักการเมืองท้องถิ่นมีความอดทนทำหน้าที่ด้วยความขยันหมั่นเพียร 4. หลักจาคะ สละความสุขส่วนตนเพื่อช่วยเหลือคนอื่น</p> ภานุวัฒน์ ชัยเทวะกุล Copyright (c) 2024 วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ 2024-07-01 2024-07-01 7 4 171 185 การพัฒนารูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูตในจังหวัดนครราชสีมา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/bim/article/view/272468 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาสภาพทั่วไปในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูตในจังหวัดนครราชสีมา 2. พัฒนารูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูตในจังหวัดนครราชสีมา ระเบียบวิธีวิจัยเป็นแบบวิจัยเชิงคุณภาพ ดำเนินการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 25 รูปหรือคน และการสนทนาเฉพาะกลุ่มกับผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 รูปหรือคน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการพรรณนาความ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพทั่วไปในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูตมีจุดแข็ง คือ มีกิจกรรมหลากหลาย พระธรรมทูตส่วนใหญ่มีความรู้อย่างดีมีสื่อที่หลากหลาย มีความร่วมมือกับหน่วยงานราชการ โรงเรียน จุดอ่อน คือ การเผยแพร่หลักธรรมในรูปแบบเดิม ๆ ขาดปัจจัยพัฒนาอุปกรณ์สารสนเทศ ไม่มีการติดตามและประเมินผล โอกาส คือ นครราชสีมา มีประชากรหนาแน่น ประชาชนและ เยาวชนมีแนวโน้มสนใจธรรมะ อุปสรรค คือ ประชาชนขาดความเข้าใจในหลักธรรม การประเมินผลยังไม่มีประสิทธิภาพ 2. การพัฒนารูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูต พบว่า การวางแผนที่ชัดเจน ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ พัฒนาพระธรรมทูตให้มีความมีความรู้ การลงมือปฏิบัติ อย่างเป็นระบบ ใช้สื่อและวิธีที่เหมาะสม เลือกหัวข้อธรรมที่เหมาะสม เป็นแบบอย่างที่ดี การตรวจสอบ วิเคราะห์ผล จากการสำรวจความคิดเห็น การปรับปรุงแก้ไข แผนการดำเนินงาน พัฒนาศักยภาพของพระธรรมทูต สร้างเครือข่ายการเผยแผ่ ติดตามและประเมินผล</p> พระครูสุธรรมธีรานุยุต (ธีรศักดิ์ ธมฺมธีโร) พระปลัดระพิน พุทฺธิสาโร นิกร ศรีราช Copyright (c) 2024 วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ 2024-07-01 2024-07-01 7 4 186 197 รูปแบบการสื่อสารทางการเมืองเชิงพุทธของผู้บริหารเทศบาลนครเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง https://so06.tci-thaijo.org/index.php/bim/article/view/272360 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาสภาพการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนภาคเหนือตอนล่าง 2. ศึกษาปัจจัยการสื่อสารทางการเมืองเชิงพุทธที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน และ 3. ศึกษาการประยุกต์หลักสาราณียธรรม 6ใช้เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี วิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งในเทศบาลนครภาคเหนือตอนล่าง 400 คน จากแบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลสถิติทางสังคมศาสตร์ วิจัยเชิงคุณภาพ จากผู้เชี่ยวชาญ 24 รูปหรือคน เลือกแบบเฉพาะเจาะจงโดยใช้แบบสัมภาษณ์และวิเคราะห์ข้อมูลยวิธีพรรณนา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนด้านการวางแผน การปฏิบัติ รับประโยชน์ และประเมินผล เพศหญิง อายุ 41-50 ปี การศึกษามัธยมศึกษา อาชีพรับราชการ และมีรายได้เดือนละ 15,000 บาทขึ้นไป มีส่วนร่วมทางการเมืองมากที่สุด 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมือง พบว่า การสื่อสารทางการเมืองเชิงพุทธของผู้บริหารเทศบาลนครทำให้การมีส่วนร่วมทางการเมืองมากทุกด้าน <br />3. การประยุกต์หลักสาราณียธรรม 6 มาใช้เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน พบว่า ผู้บริหารเทศบาลนคร ส่งสาร คิดดี พูดดี ทำดี เนื้อหาถูกต้อง เลือกสื่อเหมาะสม ผู้รับสารปฏิบัติได้</p> จิรเดช นาคพงษ์ Copyright (c) 2024 วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ 2024-07-01 2024-07-01 7 4 198 210 การพัฒนางานสาธารณูปการต้นแบบของพระสังฆาธิการ ในจังหวัดนครราชสีมา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/bim/article/view/273783 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาระดับการพัฒนางานสาธารณูปการต้นแบบของพระสังฆาธิการ 2. ศึกษาวิเคราะห์การพัฒนางานสาธารณูปการต้นแบบของพระสังฆาธิการ และ 3. นำเสนอแนวทางการพัฒนางานสาธารณูปการของพระสังฆาธิการในจังหวัดนครราชสีมา การวิจัยเป็นแบบผสานวิธี ระยะที่ 1 การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 326 รูป เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และระยะที่ 2 เป็นวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 25 รูปหรือคน การสัมภาษณ์เชิงลึกใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลแบบอรรถาธิบายและพรรณนา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับการพัฒนางานสาธารณูปการต้นแบบของพระสังฆาธิการในจังหวัดนครราชสีมาในภาพรวมในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านกิจการอันเกี่ยวกับวัด ส่วนการพัฒนางานสาธารณูปการเป็นหน้าที่ของพระสังฆาธิการในการดูแลการก่อสร้าง บูรณะ ซ่อมแซม ปฏิสังขรณ์ และดูแลรักษาสิ่งก่อสร้างอาคารสถานที่ภายในวัด เช่น พระอุโบสถ เมรุ อาคารเรียน หอธรรมการปรับปรุงสภาพวัด และดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของวัด เน้นการแก้ไขข้อบกพร่อง พัฒนา และส่งเสริมกิจการพระพุทธศาสนาให้มีคุณภาพ 2. วิเคราะห์การพัฒนางานสาธารณูปการต้นแบบของพระสังฆาธิการในจังหวัดนครราชสีมา จุดแข็ง เจ้าอาวาสกำหนดนโยบายสำคัญของคณะสงฆ์ในการขับเคลื่อนงานสาธารณูปการ จุดอ่อน เจ้าอาวาสบางรูปขาดความรู้ความเข้าใจในการบริหารจัดการ โอกาส การจัดหาทุนทรัพย์ได้จากประชาชนที่มีศรัทธาต่อวัดการมีส่วนร่วมของชุมชน อุปสรรค ขาดการสนับสนุนงบประมาณที่เพียงพอ ไม่สามารถแบ่งงานรับผิดชอบได้อย่างทั่วถึง 3. นำเสนอแนวทางการพัฒนางานสาธารณูปการของพระสังฆาธิการในจังหวัดนครราชสีมา ด้านการวางแผนตามแผนยุทธศาสตร์การปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา ด้านการลงมือปฏิบัติตามแผนยุทธศาสตร์และนโยบายของรัฐให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ด้านการตรวจสอบประเมินผลตามแผนที่กำหนด วิเคราะห์ปัญหาและสาเหตุที่เกี่ยวข้อง ด้านการปรับปรุงแก้ไข นำผลการวิเคราะห์ปัญหาและสาเหตุที่เกี่ยวข้องมาปรับปรุงแก้ไข</p> พระศรีวัชรวิสุทธิ์ (โกวิท อภิปุญฺโญ) Copyright (c) 2024 วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ 2024-07-01 2024-07-01 7 4 211 224 การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อพัฒนากระบวนการการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดเพชรบูรณ์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/bim/article/view/274150 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาระดับกระบวนการการปฏิบัติงานของบุคลากร 2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักภาวนา 4 กับกระบวนการการปฏิบัติงานของบุคลากร และ 3. เพื่อศึกษาการบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อพัฒนากระบวนการการปฏิบัติงานของบุคลากร เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร คือ พระสังฆาธิการในจังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 813 หากลุ่มตัวอย่างด้วยสูตรการคำนวณของทาโร่ ยามาเน่ ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 269 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหพันธ์ ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 12 รูปหรือคน โดยใช้การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า 1. ระดับกระบวนการการปฏิบัติงานของบุคลากร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. ความสัมพันธ์ระหว่างหลักภาวนา 4 กับการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดเพชรบูรณ์ พบว่า ภาพรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับมาก 3. การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อพัฒนากระบวนการการปฏิบัติงานของบุคลากร ควรนำหลักธรรมมาบูรณาการเพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์เกื้อกูลกับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ด้วยการควบคุมการใช้จ่ายไม่เกินความจำเป็น พร้อมทั้งพัฒนาความสัมพันธ์ทางสังคมในลักษณะที่เกื้อกูล สร้างสรรค์ มีความประพฤติเรียบร้อย โดยให้การสนับสนุนทางจิตใจ อารมณ์ ให้โอกาสในการศึกษา และพัฒนาทักษะทางจิตใจเพื่อส่งเสริมความเป็นผู้นำ สนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิตของบุคลากร โดยให้โอกาสในการเข้าร่วมอบรม หรือการศึกษาด้านต่าง ๆ</p> พระมหาภานุพงษ์ ญาณวิชโย ธวัชชัย สมอเนื้อ รัฐพล เย็นใจมา Copyright (c) 2024 วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ 2024-07-01 2024-07-01 7 4 225 236 การส่งเสริมจริยธรรมผู้บริหารพรรคการเมือง https://so06.tci-thaijo.org/index.php/bim/article/view/267809 <p>การบริหารพรรคการเมืองเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ เป้าหมายของการบริหารพรรคการเมืองคือ เพื่อให้พรรคการเมืองดำเนินกิจกรรมทางการเมืองและกิจกรรมของพรรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งของการบริหารพรรคการเมืองให้มีประสิทธิภาพคือการที่ผู้บริหารพรรคการเมืองปฏิบัติตนตามหลักจริยธรรม ดังนั้นจึงต้องมีการส่งเสริมจริยธรรรมสำหรับผู้บริหารพรรคการเมือง ด้วยกระบวนการส่งเสริมจริยธรรม เพื่อให้ผู้บริหารพรรคการเมือง ปฏิบัติหน้าที่อย่างเติมศักยภาพ เป็นไปตามหลักจริยธรรมของนักการเมือง กล่าวคือ ยึดมั่นในสถาบันหลักของประเทศ มีความซื่อสัตย์สุจริต มีจิตสำนึกที่ดี และรับผิดชอบต่อหน้าที่ กล้าตัดสินใจและกระทำในสิ่งที่ถูกต้องชอบธรรม คิดถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว และมีจิตสาธารณะ มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน ปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นธรรมและไม่เลือกปฏิบัติ และดำรงตนเป็นแบบอย่างที่ดีและรักษาภาพลักษณ์ของทางราชการ</p> อภิรัต ศิรินาวิน Copyright (c) 2024 วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ 2024-07-01 2024-07-01 7 4 263 272 การพัฒนาสมรรถนะการบริหารวัดเชิงพุทธของเจ้าอาวาสในประเทศไทย https://so06.tci-thaijo.org/index.php/bim/article/view/269490 <p>บทความวิชาการนี้มุ่งศึกษา การพัฒนาสมรรถนะการบริหารวัดเชิงพุทธของเจ้าอาวาสในประเทศไทย ใช้วิธีการศึกษาจากเอกสาร ตำรา หนังสือ วารสาร เว็ปไซต์ รวมถึงการวิเคราะห์สังเคราะห์จากผู้เขียน ผลการศึกษาพบว่า สมรรถนะของเจ้าอาวาสที่จะบริหารวัดสามารถประยุกต์ได้ 6 ด้านตามทฤษฎีตะวันตก กล่าวคือ 1. มีสมรรถนะในการสื่อสาร เจ้าอาวาสจำเป็นจะต้องมีลักษณะที่สามารถสื่อสาร รวมถึงการเผยแผ่พุทธศาสนา 2. สมรรถนะในการวางแผนและการบริหารจัดการ 3. สมรรถนะในการทำงานเป็นทีมเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพของยุคปัจจุบัน 4. สมรรถนะในการปฏิบัติเชิงกลยุทธ์ 5. สมรรถนะการตระหนักรับรู้โลกโลกาภิวัฒน์มีการแสดงตนเองให้เป็นที่ศรัทธาและเป็นผู้นำชาวพุทธถือว่าเป็นบทบาทสำคัญ 6. สมรรถนะในการพัฒนาตนเอง คือ การศึกษา<br />การสร้างทัศนคติการมีทักษะในการทำงานการมีความคิดสร้างสรรค์และประกอบด้วยคุณลักษณะการบริหารวัดเชิงพุทธ ประกอบด้วย อาวาสิกธรรม 5 เป็นคุณสมบัติของเข้าอาวาสหมวดที่หนึ่งประเภทที่ควรยกย่อง ได้แก่ 1. ถึงพร้อมด้วยมารยาทและวัตร 2. เป็นพหูสูต ทรงความรู้ 3. เป็นผู้ปฏิบัติขัดเกลาชอบความสงบ ยินดีในกัลยาณธรรม 4. มีวาจางาม รู้จักพูด รู้จักเจรจาให้เป็นผลดี 5. มีปัญญาเฉลียวฉลาด</p> พระใบฎีกามงคล ปญฺญาทีโป Copyright (c) 2024 วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ 2024-07-01 2024-07-01 7 4 273 288 พุทธจริยธรรมสำหรับนักบริหาร https://so06.tci-thaijo.org/index.php/bim/article/view/260312 <p>บทความนี้มุ่งศึกษาจริยธรรมสำหรับนักบริหาร ผู้บริหารทั้งภาครัฐและเอกชนทุกระดับ จะบริหารงานให้ประสบความสำเร็จได้ต้องมีจริยธรรม เนื่องจากจริยธรรมเป็นหลักที่จะทำให้คนในองค์กรปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ภาครัฐและเอกชนจึงได้ส่งเสริมให้บุคลากรโดยเฉาะอย่างยิ่งผู้บริหารได้ปฏิบัติตามหลักจริยธรรม แต่ทั้งนี้การส่งเสริมให้ทุกคนในองค์กรปฏิบัติตามหลักจริยธรรมได้นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย อย่างไรก็ตามยังมีหลักพุทธธรรม ซึ่งเป็นจริยธรรมสำหรับนักบริหาร ที่ง่ายต่อการปฏิบัติ ทุกองค์กรสามารถนำไปส่งเสริมให้บุคลากรปฏิบัติตามได้โดยง่าย กล่าวคือ หลักฆราวาสธรรม 4 ประการ ได้แก่ 1. สัจจะ การปฏิบัติตนเป็นคนซื่อตรง มีสัจจะ 2. ทมะ การข่มใจ ฝึกนิสัย ควบคุมตนเองไม่ให้ผิดระเบียบ 3. ขันติ อดทน มุ่งมั่นไปสู่เป้าหมาย 4. จาคะ เสียสละประโยชน์ส่วนตนเพื่อส่วนรวม หลักพุทธจริยธรรมทั้ง 4 ประการนี้ถือเป็นจริยธรรมเบื้องต้นสำหรับนักบริหารทุกระดับทุกองค์กรควรปฏิบัติตาม</p> อภิรัต ศิรินาวิน Copyright (c) 2024 วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ 2024-07-01 2024-07-01 7 4 289 297 การศึกษา การเรี่ยไรหรือบอกบุญของคณะสงฆ์ไทยในปัจจุบัน https://so06.tci-thaijo.org/index.php/bim/article/view/269491 <p>บทความวิชาการนี้มุ่งเน้นศึกษา การเรี่ยไรหรือบอกบุญของคณะสงฆ์ไทยในปัจจุบัน จากการศึกษาจากแนวคิด หนังสือ ตำรา และจากการสังเคราะห์ วิเคราะห์จากผู้แต่งพบว่า 1. การเรี่ยไรตามพระธรรมวินัยพระสงฆ์สามารถทำการออกปากขอของต่อคนไม่ควรขอ หมายถึง ภิกษุขอสิ่งของต่อคฤหัสถ์ผู้ไม่ใช่ญาติ ผู้ไม่ใช่คนปวารณา คือ สามารถบอกบุญกับคนที่เป็นญาติ หรือ คนที่ปวารณา (คนที่บอกไว้ล่วงหน้า) 2. การเรี่ยไรตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ คำสั่งมหาเถรสมาคมเรื่อง ควบคุมการเรี่ยไร พ.ศ. 2539 เช่น ในกรณีที่มีการบำเพ็ญกุศลในวัด ซึ่งเป็นงานประจำปี หรืองานพิเศษถ้าจะมีการเรี่ยไร การโฆษณาเรี่ยไร และการรับเงิน หรือทรัพย์สินจากการเรี่ยไรให้กระทำได้เฉพาะภายในบริเวณวัด ห้ามมิให้กระทำนอกบริเวณวัด 3. การเรี่ยไรตามกฎหมายตามพระราชบัญญัติควบคุมการเรี่ยไร พ.ศ. 2487 การที่มีบุคคล กลุ่มบุคคลทำการเรี่ยไร โดยอ้างวัด เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งกระบวนการ ขั้นตอน และวิธีการ โดยนอกจากจะผิด พรบ.ควบคุมการเรี่ยไร แล้ว ยังผิด พรบ.จราจร และกฎหมายอาญา ฐานฉ้อโกง และ 4. แนวทางในการเรี่ยไรหรือบอกบุญของคณะสงฆ์ไทยจุดมุ่งหมายการบริหารวัด การตั้งไวยาวัจกรที่มีความรู้ความสามารถในด้านการเงินหรือ ทำการเงินลักษณะรูปแบบของมูลนิธิก็จะสามารถช่วยให้วัดมีความน่าเชื่อถือได้</p> พระธีรวัชร์ มุตฺตจิตฺโต Copyright (c) 2024 วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ 2024-07-01 2024-07-01 7 4 298 310 การบริหารจัดการพรรคการเมืองไทยตามแนวพุทธ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/bim/article/view/260243 <p>บทความนี้มุ่งศึกษาการบริหารจัดการพรรคการเมืองไทยตามแนวพุทธ การบริหารจัดการพรรคการเมืองเป็นบทบาทและหน้าที่ของผู้บริหารพรรค เนื่องจากพรรคการเมืองถือเป็นองค์กรหลักในการพัฒนาบุคคลเข้าสู่ตำแหน่งทางการเมือง ดังนั้นผู้บริหารพรรคจำเป็นต้องมีความรู้ความสามารถในการบริหารจัดการองค์กร โดยเฉาะอย่างยิ่งการบริหารปัจจัยการบริหาร ได้แก่ คน เงิน วัสดุอุปกรณ์ การจัดการ และการบริหารจัดการดังกล่าวหากนำมาประยุกต์ใช้ร่วมกับหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา กล่าวคือ หลักอิทธิบาท 4 ได้แก่ ฉันทะ ความพอใจ วิริยะ ความเพียร จิตตะ ความเอาใจใส่ วิมังสา ความไตร่ตรอง เมื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการพรรคการเมืองจะส่งผลให้พรรคการเมืองสามารถบริหารพรรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> อภิรัต ศิรินาวิน Copyright (c) 2024 วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ 2024-07-01 2024-07-01 7 4 311 318