https://so06.tci-thaijo.org/index.php/citujournal/issue/feed วารสารสหวิทยาการ 2024-12-28T18:48:56+07:00 Asst. Prof. Yingluck Kanchanaroek, Ph.D. ci.journal@tu.ac.th Open Journal Systems <p>วารสารสหวิทยาการเป็นวารสารที่จัดทำโดยวิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วารสารนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะเผยแพร่บทความเชิงวิชาการที่เกี่ยวข้องกับสาขาสหวิทยาการและสังคมศาสตร์ อาทิ รัฐศาสตร์ กฎหมาย การจัดการ บริหารและเศรษฐศาสตร์ และการท่องเที่ยว โดยตีพิมพ์ 2 ฉบับต่อปี ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน และฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม</p> https://so06.tci-thaijo.org/index.php/citujournal/article/view/280356 บทบรรณาธิการ 2024-12-28T18:38:43+07:00 ยิ่งลักษณ์ กาญจนฤกษ์ ci.journal@tu.ac.th 2024-12-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/citujournal/article/view/280358 จริยธรรมในการตีพิมพ์ 2024-12-28T18:48:56+07:00 ยิ่งลักษณ์ กาญจนฤกษ์ ci.journal@tu.ac.th 2024-12-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/citujournal/article/view/278263 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ตลอดชีวิตในประเทศไทย 2024-11-15T11:14:05+07:00 เมธชนนท์ ประจวบลาภ edu.ynet@gmail.com สถิดาพร คำสด fedusokh@ku.th <p>การเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นแนวคิดการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี เนื่องจากความรู้ที่ได้รับจากการศึกษาในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิตไม่สามารถนำไปใช้ได้ตลอดไป โดยการเรียนรู้ตลอดชีวิตเกี่ยวข้องกับการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย ถือเป็นบริการสาธารณะที่ดำเนินการโดยภาครัฐหรือมอบหมายให้หน่วยงานผู้เกี่ยวข้องดำเนินงานภายใต้อำนาจบทบัญญัติของกฎหมาย ซึ่งการมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ตลอดชีวิตร่วมกับการบังคับใช้กฎหมายที่มีประสิทธิภาพ จะส่งผลให้แนวคิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตเกิดขึ้นได้จริงในสังคมไทย บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ทบทวนและวิเคราะห์ข้อกฎหมายพร้อมทั้งสภาพการใช้งานกฎหมาย ผลการศึกษาพบว่า ประเทศไทยมีกฎหมายที่เอื้อต่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตหลายฉบับและส่วนใหญ่ครอบคลุมตามหลักการเรียนรู้ตลอดชีวิต อย่างไรก็ตามยังพบปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายของผู้ปฏิบัติงาน คือ การขาดความรู้ความเข้าใจ และกฎหมายบางฉบับไม่สอดคล้องกับกฎหมายการศึกษาชาติและหลักการเรียนรู้ตลอดชีวิต</p> 2024-12-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/citujournal/article/view/268356 มุมมองปัญหาแรงงานเด็กในอุตสาหกรรมอีสปอร์ต 2024-06-19T13:26:21+07:00 ปีดิเทพ อยู่ยืนยง pedithep@gmail.com <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัญหาแรงงานเด็กในอุตสาหกรรมอีสปอร์ตจากการศึกษาทบทวนปัจจัยที่สำคัญของมาตรการที่เหมาะสมในการปกป้องผู้เยาว์ที่ทำงานภายใต้ระบบนิเวศธุรกิจกีฬาอีสปอร์ต ด้วยวิธีการทบทวนเอกสารทางกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้ในการวิเคราะห์การวางกฎระเบียบว่าด้วยกีฬาอีสปอร์ตในประเทศไทย ฝรั่งเศส และสหรัฐอเมริกา เพื่อนำไปประเมินและตรวจสอบปัญหาการคุ้มครองแรงงานเด็กในกีฬาอีสปอร์ตในประเทศไทย ข้อค้นพบของบทความฉบับนี้ได้นำเสนอประโยชน์ของการนำเอามาตรฐานทางกฎหมายสำหรับคุ้มครองแรงงานเด็กมาปฏิบัติในอุตสาหกรรมอีสปอร์ตและสามารถใช้เป็นแนวทางในการวางแผนดูแลเด็กและแรงงานเยาวชนให้ปลอดภัยในกีฬาอีสปอร์ตในประเทศไทย</p> 2024-12-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/citujournal/article/view/275483 คำยืมภาษาไทยเหนือและภาษาไทยมาตรฐานของผู้พูดภาษาไทใหญ่ในชุมชนบ้านเวียงหวาย ตำบลม่อนปิ่น อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ 2024-10-15T11:02:52+07:00 วรรณวนัช อรุณฤกษ์ wanwanataroonroek@gmail.com <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ประเภทคำยืมภาษาไทยถิ่นเหนือและภาษาไทยมาตรฐานของผู้พูดภาษาไทใหญ่ในชุมชนบ้านเวียงหวาย ตำบลม่อนปิ่น อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ โดยเก็บข้อมูลจากผู้พูดภาษาไทใหญ่ จำนวนทั้งหมด 15 คน ผลการศึกษาพบว่า ผู้พูดภาษาไทใหญ่ในชุมชนบ้านเวียงหวาย ตำบลม่อนปิ่น อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ได้ยืมคำจากภาษาไทยถิ่นเหนือและภาษาไทยมาตรฐาน จำนวน 10 หมวด ได้แก่ คำนาม คำลักษณนาม คำสรรพนาม คำกริยา คำวิเศษณ์ คำบุพบท คำเชื่อม คำลงท้าย คำอุทาน และ คำปฏิเสธ โดยใช้คำศัพท์ทั้งหมด 1,871 คำ แบ่งได้เป็นคำศัพท์ภาษาไทใหญ่จำนวน 836 คำ คำยืมภาษาไทยถิ่นเหนือจำนวน 733 คำ และคำยืมภาษาไทยมาตรฐานจำนวน 302 คำ ทั้งนี้คำยืมในภาษาไทใหญ่นั้นเป็นคำยืมที่มาจากภาษาไทยถิ่นเหนือและภาษาไทยมาตรฐาน ซึ่งมีลักษณะคล้ายกัน กล่าวคือ คำยืมที่เป็นคำนามมีจำนวนมากที่สุด รองลงมาคือคำกริยา คำวิเศษณ์ หมวดคำเหล่านี้ล้วนเป็นคำหลัก ส่วนคำไวยากรณ์ ได้แก่ คำสรรพนาม คำลักษณนาม คำบุพบท คำเชื่อมคำลงท้าย คำอุทาน และคำปฏิเสธ ได้มีการยืมจากภาษาไทยถิ่นเหนือและภาษาไทยมาตรฐานเช่นกัน แต่มีจำนวนไม่มากนัก ดังนั้นคำยืมเหล่านี้จึงแสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงการใช้ภาษาไทใหญ่ของคนในพื้นที่นี้ได้เป็นอย่างดี</p> 2024-12-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/citujournal/article/view/274686 การสร้างสรรค์และพัฒนาผ้าขาวม้าของชุมชนคูบัวสำหรับตลาดรีสอร์ทแวร์ 2024-10-28T11:23:40+07:00 ธีร์ โคตรถา dhea.k@mail.rmutk.ac.th เจษฎาภรณ์ ช่วยแท่น textiles.utk@gmail.com ชูพรรค แพงไธสง choopak.p@mail.rmutk.ac.th นพชัย ฟองอิสสระ em_noppachai_f@crru.ac.th <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสมบัติโครงสร้างผ้าขาวม้าทอมือชุมชนคูบัวด้วยกระบวนการชุบมันเส้นด้ายฝ้าย และสร้างสรรค์เครื่องแต่งกายรีสอร์ทแวร์ด้วยเทคนิคฟังก์ชันนอลแฟชั่นจากผ้าขาวม้าทอมือชุมชนคูบัว ด้วยการวิจัยแบบผสมร่วมกับการวิจัยแบบการทดลองและการสร้างสรรค์สินค้าต้นแบบผลการศึกษาพบว่าการชุบมันด้วยโซดาไฟทำให้เส้นด้ายฝ้ายมีสมบัติความหนาแน่นเชิงเส้นดีกว่าเส้นด้ายฝ้ายที่ชุบมันด้วยเอทานอล อีกทั้งเส้นด้ายที่ผ่านการชุบมันจะมีความเหนียวและความมันวาวมากกว่าเส้นด้ายที่ไม่ได้ผ่านกระบวนการชุบมัน จากการทดสอบการนำผ้าผืนที่ผ่านกระบวนการปรับปรุงโครงสร้างผ้ามาสร้างสรรค์เป็นเครื่องแต่งกายตามหลักการฟังก์ชันนอลแฟชั่นนั้น พบว่าเครื่องแต่งกายที่สร้างสรรค์จากผ้าทอที่ผ่านกระบวนการการชุบมันจะมีสมบัติการคืนตัวและการขึ้นรูปทรงได้ดีกว่าผ้าทอที่ไม่ผ่านกระบวนการชุบมันสำหรับการสร้างสรรค์กลุ่มสินค้าใหม่ให้มีความเหมาะสมกับตลาดแฟชั่นรีสอร์ทแวร์ค้นพบองค์ประกอบการออกแบบสำคัญ คือ โครงร่างเงาทรงหลวม รายละเอียดการตัดต่อแบบกราฟิก กลุ่มสีตามแนวโน้มแฟชั่นฤดูร้อนปี 2024 ได้แก่ สีแดง ขาว น้ำเงิน ในส่วนวัสดุที่ใช้ผ้าทอลายและผ้าทอที่ไม่มีลวดลายร่วมกัน ทั้งหมดนี้เป็นแนวทางสร้างสรรค์เป็นกลุ่มสินค้าสำเร็จรูปเพื่อจำหน่ายในตลาดสินค้าแฟชั่นรีสอร์ทแวร์</p> 2024-12-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการ