วารสารสหวิทยาการ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/citujournal <p>วารสารสหวิทยาการเป็นวารสารที่จัดทำโดยวิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วารสารนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะเผยแพร่บทความเชิงวิชาการที่เกี่ยวข้องกับสาขาสหวิทยาการและสังคมศาสตร์ อาทิ รัฐศาสตร์ กฎหมาย การจัดการ บริหารและเศรษฐศาสตร์ และการท่องเที่ยว โดยตีพิมพ์ 2 ฉบับต่อปี ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน และฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม</p> วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (College of Interdisciplinary Studies, Thammasat University) th-TH วารสารสหวิทยาการ 1685-2494 <p>บทความทัศนะ ข้อคิดเห็น ภาพที่ปรากฏ ในวารสารเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน บรรณาธิการและกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย และไม่ถือเป็นความรับผิดชอบ ลิขสิทธิ์เป็นของผู้เขียนและวิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ การตีพิมพ์ชื่อต้องได้รับอนุญาตจากผู้เขียน และวิทยาลัยสหวิทยาการโดยตรง และเป็นลายลักษณ์อักษร</p> การประเมินการทำงานแอไจล์ในบริบทอุตสาหกรรม 4.0: กรณีศึกษาอุตสาหกรรมการผลิต https://so06.tci-thaijo.org/index.php/citujournal/article/view/265753 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะวุฒิภาวะแอไจล์ในบริบทอุตสาหกรรม 4.0 ของกลุ่มผู้ให้ข้อมูล และ 2) ศึกษาอุปสรรคการพัฒนาแอไจล์ในบริบทอุตสาหกรรม 4.0 ของกลุ่มผู้ให้ข้อมูล ด้วยเครื่องมือตัวแบบประเมินวุฒิภาวะแอไจล์ในบริบทอุตสาหกรรม 4.0 ที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยผู้วิจัยจากการทบทวนวรรณกรรมและสอบถามจากผู้เชี่ยวชาญโดยการสัมภาษณ์กลุ่ม กลุ่มผู้ให้ข้อมูลคือกลุ่มทำงานแอไจล์ในบริษัทที่อยู่ในบริบทอุตสาหกรรม 4.0 โดยผู้วิจัยเลือกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจงตามเกณฑ์การคัดเลือกคุณสมบัติที่เหมาะสม จากการประเมินผล พบว่าลักษณะวุฒิภาวะแอไจล์ทั้ง 3 กลุ่มแอไจล์มีความแตกต่างกัน และพบอุปสรรคในการพัฒนาแอไจล์ในเรื่อง การขาดการสนับสนุนจากองค์กร การขาดการติดตามงาน การขาดการใช้เทคโนโลยีบางประเภท และอุปสรรคการสร้างความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้เสีย</p> กฤษณ์ ปัทมะโรจน์ นภดล ร่มโพธิ์ Copyright (c) 2023 วารสารสหวิทยาการ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-30 2023-12-30 20 2 31 45 อาหารสามัญ: วัฒนธรรมอาหาร และการกินของชาวไทยเชื้อสายเวียดนามอําเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย https://so06.tci-thaijo.org/index.php/citujournal/article/view/264159 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวัฒนธรรมอาหารการกินของชาวไทยเชื้อสายเวียดนามในพื้นที่ตลาดสดเทศบาลเมืองท่าบ่อ อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย โดยเป็นการศึกษาเชิงชาติพันธุ์วรรณาด้วยวิธีการสำรวจ สังเกตวัฒนธรรมอาหารและวิถีการบริโภคอาหารสามัญในชีวิตประจำวัน ร่วมกับการสัมภาษณ์เชิงลึกและสนทนาอย่างไม่เป็นทางการกับชาวไทยเชื้อสายเวียดนามในพื้นที่ศึกษา ผลการศึกษาพบว่า “อาหารสามัญ”ในชีวิตประจำวัน ทั้งในแง่ของรสชาติ วัตถุดิบ การปรุง การบริโภค และการจัดวางพื้นที่ของโต๊ะอาหาร สะท้อนให้เห็นถึงการผลิตซ้ำทางวัฒนธรรมของชาวไทยเชื้อสายเวียดนาม อาหารสามัญ จึงมี “นัยลักษณ์ทางชาติพันธุ์” ที่สะท้อนให้เห็นถึงพัฒนาการทางความคิด วิถีชีวิต และ “ความเป็นเวียต” ที่ปรากฎในชุมชน พหุวัฒนธรรม</p> ทุติยาภรณ์ ภูมิดอนมิ่ง Copyright (c) 2023 วารสารสหวิทยาการ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-30 2023-12-30 20 2 61 79 จริยธรรมในการตีพิมพ์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/citujournal/article/view/269929 Yingluck Kanchanaroek Copyright (c) 2023 วารสารสหวิทยาการ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-30 2023-12-30 20 2 บทบรรณาธิการ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/citujournal/article/view/269988 Yingluck Kanchanaroek Copyright (c) 2023 วารสารสหวิทยาการ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-30 2023-12-30 20 2 เจนตริฟิเคชั่น: ความหมาย รูปแบบ จากโลกตะวันตกสู่โลกตะวันออก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/citujournal/article/view/259939 <p>ระยะเวลากว่าครึ่งศษตวรรษที่ผ่านมา ปรากฏการณ์เจนตริฟิเคชั่น ไม่เพียงแต่จะจำกัดอยู่แค่เมืองใหญ่ในยุโรปและอเมริกาเหนือ แต่เจนตริฟิเคชั่นถูกมองว่าเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในสถานที่ต่าง ๆ มากมาย<br />ทั่วโลก ผลกระทบมีทั้งด้านบวกและด้านลบ ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์เจนตริฟิเคขั่น คือ การเข้าถือครองพื้นที่ในเขตชุมชนเมือง หรือการเปลี่ยนมือของอาคารและที่ดินที่ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงทางกายภาพให้กับย่านที่พักอาศัย ทำให้มีการผลักใสคนกลุ่มเดิมออกด้วย ทุน หรือมิติทางชนชั้น รวมถึงการพัฒนาในเชิงนโยบายที่เกิดขึ้นในพื้นที่ย่านพักอาศัย บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหมายและรูปแบบปรากฏการณ์เจนตริฟิเคชั่นที่เกิดขึ้น ปรากฏการณ์เจนตริฟิเคชั่นนั้นสามารถแบ่งได้เป็น 3 ยุคสมัย โดยยุคแรกเกิดขึ้นในช่วง ปี ค.ศ.1960-1970 เจนตริฟิเคชั่นถูกมองว่าเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมที่ทำให้เกิดการย้ายถิ่น มีการต่อสู้กันระหว่างชนชั้นแรงงานและชนชั้นกลาง ยุคสมัยที่สองช่วงปี 1970-1990 เจนตริฟิเคชั่นถูกใช้เป็นเครื่องมือในการอธิบายการฟื้นฟูและพัฒนาเมืองที่เสื่อมโทรม กระทั่งถึงยุคสมัยที่สามช่วงปี ค.ศ. 1990-ปัจจุบัน พบว่าคำดังกล่าวมักใช้เป็นเครื่องมือในอธิบายการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์สร้างใหม่ขนาดใหญ่ในเมืองชั้นใน การพัฒนาความสวยงามของพื้นที่สำหรับตอบสนองการท่องเที่ยวซึ่งขับเคลื่อนโดยอุดมการณ์เสรีนิยมใหม่ ภายใต้วาทกรรม “ความสวยงาม” และมีการขยายความหมายของเจนตริฟิชั่นในบริบทที่มีความสัมพันธ์กับด้านอื่น ๆ เพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน โดยสรุปแล้ว บทความนี้ต้องการเสนอแนะว่ากรีนเจนตริฟิเคชั่น และเฮอริเทจเจนตริฟิเคชั่นเป็นแนวทางที่ควรศึกษาและนำมาปรับใช้กับย่านชุนชนในประเทศเพื่อหลีกเลี่ยงและลดผลกระทบจากปรากฏการณ์เจนตริฟิเคชั่น อีกทั้งควรพิจารณาความเข้าใจร่วมกันของคำว่า “เจนตริฟิเคชั่น” และการนำไปใช้ในประเทศไทย รวมถึงการวิจัยเพิ่มเติมนั้นควรให้ความสำคัญกับประเด็นความขัดแย้งทางชนชั้น การย้ายถิ่นที่และผู้คนที่ได้รับผลกระทบจากปรากฏการณ์ดังกล่าว เพื่อที่จะทำให้แน่ใจได้ว่าความหมายของคำจะไม่สูญหายหรือถูกกลืนกินภายใต้สำนวน เช่น การฟื้นฟูเมือง ความทันสมัย การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ความสวยงาม และ การอนุรักษ์</p> <p><strong> </strong></p> พุทธชาติ รัตนวงค์ ลิขิต กิตติศักดินันท์ ต้นข้าว ปาณินท์ Copyright (c) 2023 วารสารสหวิทยาการ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-30 2023-12-30 20 2 7 30 ความสอดคล้องของนโยบายประเทศไทยต่อแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/citujournal/article/view/264778 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ความสอดคล้องของนโยบายประเทศไทยต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ผ่านการวิเคราะห์เอกสารและนโยบายของไทยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืนในช่วงการ แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 โดยแบ่งนโยบายออกเป็น 5 หัวข้อ ได้แก่ 1) การจัดการฝุ่นและมลภาวะ ต่าง ๆ 2) การจัดการการค้ามนุษย์ 3) นโยบายสวัสดิการและการกระตุ้นเศรษฐกิจ 4) การจัดการเมืองและ การวางโครงสร้างพื้นฐาน และ 5) การจัดการโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19 ผลการศึกษาพบว่า นโยบายของไทยได้บรรจุแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนเอาไว้เป็นแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี โดยผสมผสานเข้ากับแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งนี้การนำมาปฏิบัตินั้นยังไม่สอดคล้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืนเนื่องจากเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่ปลายเหตุ กล่าวคือ 1) การจัดการฝุ่นและมลภาวะโดยการใช้น้ำพ่นเพื่อลดฝุ่น ควบคุมปริมาณรถยนต์ รถสาธารณะ 2) การจัดการการค้ามนุษย์ไม่ได้มีความเข้มงวดหรือจริงจังมากขึ้น 3) สวัสดิการที่ได้รับไม่ทั่วถึงทุกคน 4) การจัดวางผังเมืองที่ปรับปรุงทัศนียภาพแต่ขาดการปรับปรุงเรื่องผังเมือง และ 5) การจัดการเชื้อไวรัสโควิด 19 ที่มุ่งแก้ปัญหาเศรษฐกิจมากกว่าการควบคุมโรค ด้วยเหตุที่การดำเนินนโยบายเหล่านั้นอยู่ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 จึงทำให้ต้องดำเนินนโยบายในลักษณะที่เร่งด่วนมากกว่าดำเนินการอย่างมั่นคงยั่งยืน ข้อเสนอแนะคือควรมีการดำเนินนโยบายอย่างจริงจังและต่อเนื่องมากขึ้นเพื่อตอบโจทย์ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน</p> ปิยชัย นาคอ่อน Copyright (c) 2023 วารสารสหวิทยาการ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-30 2023-12-30 20 2 46 60