@article{Senajak_2022, place={Bangkok, Thailand}, title={เชื่อใจในตัวครู : กุญแจสู่การศึกษาชั้นนำฉบับฟินแลนด์}, volume={19}, url={https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edu-rmu/article/view/256512}, abstractNote={<p>ฟินแลนด์ได้รับความสนใจจากนักการศึกษา นักวิจัย และนักข่าวนานาประเทศ หลังจากแสดงให้เห็นผลสัมฤทธิ์อันโดดเด่นผ่านคะแนนสอบ PISA สิ่งที่พวกเขาพบคือ ฟินแลนด์มีคาบเรียนสั้น มีช่วงพักระหว่างวันเยอะ ไม่มีการสอบวัดมาตรฐานระดับชาติ ไม่มีการตรวจสอบจากภายนอก ไม่มีภาระรับผิดชอบเชิงลงโทษสำหรับครู ทั้งยังให้การสนับสนุนทรัพยากรทางการศึกษาอย่างเท่าเทียม และครูเป็นอาชีพที่มีสถานะทางสังคมสูง  ฟินแลนด์คือประเทศที่มีระบบการศึกษาแข็งแกร่งและมีผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาในอันดับต้น ๆ ของโลก ความสำเร็จนี้ไม่อาจเกิดขึ้นได้หากปราศจากกำลังสำคัญที่คอยขับเคลื่อนอย่าง “ครู” ผู้เปิดประตูแห่งความรู้ให้ผู้เรียน และกุญแจสำคัญที่จะไขประตูบานนี้ได้คือ ความเชื่อใจ พจนานุกรมเคมบริดจ์นิยามว่า การเชื่อใจ (ใครสักคนหรืออะไร สักอย่าง) คือ “การเชื่อว่าคนคนนั้นเป็นคนดี ซื่อสัตย์ และเขาจะไม่ทำร้ายคุณ หรือสิ่งนั้นปลอดภัยและไว้ใจได้” โดยการ “เชื่อใจครู”             ในฟินแลนด์นั้นมีลักษณะสำคัญ คือ การเชื่อใจครูไม่ใช่การปล่อยให้พวกเขาทำอะไรก็ได้ตามต้องการในโรงเรียน … การเชื่อใจในโรงเรียนก็มีมากกว่าการหยิบยื่นงบประมาณจากภาษีให้ แล้วสั่งให้พวกเขาจัดการตัวเองตามปรารถนา เมื่อ 16 มีนาคม 2020 รัฐบาลฟินแลนด์ตัดสินใจปิดโรงเรียนและมหาวิทยาลัยทั้งหมดภายในสองวัน โรงเรียนได้รับคำแนะนำให้จัดการเรียนการสอนทางไกลโดยใช้วิธีการทางเลือกอื่น ๆ ซึ่งมีทั้งแบบดิจิทัลและการเรียนด้วยตนเอง ครูมีเวลาหนึ่งวันเต็มในการคิดแผนต่าง ๆ เพื่อไม่ให้มีเด็กถูกทิ้งและได้รับผลกระทบ ในขณะที่หน่วยงานรัฐกำลังวุ่นวายกับการจัดการความตื่นตระหนกด้านสุขภาพและเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นเพราะโรคระบาด เจ้าหน้าที่การศึกษาและโรงเรียนในท้องถิ่นก็ได้รับการสนับสนุนให้ใช้ภูมิปัญญาในวิชาชีพอย่างดีที่สุดเพื่อจัดการเรียนการสอนให้ดีที่สุด ความเชื่อใจแสดงให้เห็นพลังที่แท้จริงในสถานการณ์ใหม่ ๆ อันคาดไม่ถึง สถานการณ์ซึ่งไม่มีใครรู้ว่าควรทำอะไรต่อไป ความเชื่อใจต้องเกิดจากทั้งสองฝั่ง นั่นคือรัฐเชื่อใจครู และครูเชื่อใจรัฐในการทำสิ่ง   ที่ต้องทำ</p> <p>            หนังสือ เชื่อใจในตัวครู : กุญแจสู่การศึกษาชั้นนำฉบับฟินแลนด์ ของ ปาสิ ซอลห์เบิร์ก เป็นศาสตราจารย์ด้านนโยบายการศึกษาที่มหาวิทยาลัยนิวเซาธ์เวลส์ ซิดนีย์ เขามีประสบการณ์ยาวนานในการเป็นครูโรงเรียน อาจารย์ฝึกหัดครูและผู้กำหนดนโยบายในประเทศฟินแลนด์ และ ทิโมธี ดี. วอล์กเกอร์ เป็นครูชาวอเมริกันที่อาศัยอยู่ในเมืองเอสโป ประเทศฟินแลนด์ ที่เชื่อในวิถีการสอนแบบฟินแลนด์ นำเสนอระบบการศึกษาอันแข็งแกร่งบนรากฐานของความเชื่อใจ ซึ่งสนับสนุนให้ครูมีบทบาทกำหนดทิศทางการศึกษา มีสถานะทางอาชีพที่มั่นคง ไม่ถูกตีกรอบทางความคิด หนังสือเล่มนี้แบ่งออกเป็นสองภาค ภาคหนึ่ง ดินแดนแห่งความเชื่อใจ ว่าด้วยการพัฒนาความเข้าใจเกี่ยวกับความเชื่อใจแบบองค์รวม แนวทางการศึกษาแบบฟินแลนด์และวิวัฒนาการความเชื่อใจต่อครูชาวฟินแลนด์ ภาคสอง หลักเจ็ดประการ พร้อมตัวอย่างการนำไปใช้จริง อาทิ กระบวนการบ่มเพาะ “อำนาจตัดสินใจ” ของครู วิธีส่งต่อความเชื่อใจและสร้างผู้เรียนที่รู้จักรับผิดชอบ  การสร้างพื้นที่ปลอดภัยในการเรียนรู้ให้ครูและนักเรียน และระบบช่วยเหลือเด็กที่มีความต้องการเฉพาะ ตามแนวคิด “ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง”  ซึ่งจะสำรวจผ่านหลัก 7 ประการ สำหรับสร้างวัฒนธรรมความเชื่อใจในโรงเรียนประกอบด้วย</p> <p>1) สอนครูให้คิด กลยุทธ์ฝึกครูให้คิด จึงหมายถึงหลักสูตรวิชาชีพครูสมัยใหม่ที่มักสอนให้ครูคิดอย่างลึกซึ้ง และเข้าใจพฤติกรรมกับอารมณ์ของตนเมื่ออยู่ในโรงเรียนได้ดีขึ้น นอกจากนี้ วิชาศึกษาศาสตร์ในฟินแลนด์ยังมีอุดมคติเรื่อง “ครูที่คิดเชิงการสอน” ซึ่งการคิดเชิงการสอน (Pedagogical thinking) หมายถึง กระบวนการทางความคิดที่อธิบายว่าครูตัดสินใจอย่างหลากหลายในระหว่างการสอนได้อย่างไร และหากเราต้องการสนับสนุนให้ครูคิดเพื่อตัวเองมากขึ้น ก็ต้องให้เวลาและพื้นที่สำหรับคิดใคร่ครวญเกี่ยวกับความเชี่ยวชาญของตนแก่ครู โดยในทางปฏิบัติคือ เมื่อเริ่มปีการศึกษา ผู้อำนวยการโรงเรียนจะมอบสมุดบันทึกซึ่งเป็นสัญลักษณ์อันทรงพลังแก่ครู เป็นการแสดงให้เห็นว่าโรงเรียนมุ่งเน้นการทบทวนและสะท้อนการปฏิบัติงาน หรืออาจเป็นเรื่องง่าย ๆ อย่างการเริ่มต้นการประชุมแต่ละสัปดาห์ด้วยการสะท้อนคิด (Reflection) แล้วแลกเปลี่ยนกันในคณะครูและผู้อำนวยการ</p> <p> 2) บ่มเพาะคนรุ่นต่อไป  กลยุทธ์บ่มเพาะคนรุ่นต่อไป เริ่มต้นด้วยการที่อาจารย์ผู้ดูแลนักศึกษาฝึกสอนใช้เวลาบรรยายเกี่ยวกับเด็กนักเรียนให้นักศึกษาฟังเป็นส่วนใหญ่ในช่วงแรกเริ่ม จากนั้นบทสนทนาแบบเห็นหน้าจะช่วยให้นักศึกษาค้นหาหนทางบ่มเพาะความเชื่อใจในหมู่เด็กนักเรียน และรับมือกับความต้องการเฉพาะตัวของแต่ละคนได้ อีกสิ่งที่มีค่ายิ่งซึ่งทุกโรงเรียนทำได้คือ การให้ครูได้แลกเปลี่ยนข้อค้นพบจากเด็กนักเรียนของตน ครูสามารถสร้างบทสนทนาที่มีเด็กเป็นศูนย์กลางได้โดยพูดคุยเกี่ยวกับเด็กแต่ละคนใน 4 ด้าน ได้แก่ ความสนใจ ศักยภาพ ความท้าทาย และกลยุทธ์ เกี่ยวกับนักเรียน</p> <p> 3) อิสระภายในกรอบ  ฟินแลนด์ไม่เพียงมอบอิสระและอำนาจตัดสินใจแก่ครู แต่ระบบการศึกษาฟินแลนด์เชื่อว่าห้องเรียนก็เป็นของเด็กด้วย ในชุดการเรียนสหวิชา เด็กจะแบ่งเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ตั้งคำถามวิจัย พัฒนาคำถาม และสมมติฐาน จากนั้นก็ลงมือเก็บข้อมูล อาจมีการนำเสนองานอันหลากหลาย</p> <p>4) สร้างผู้เรียนที่รับผิดชอบเป็น  กลยุทธ์การบ่มเพาะผู้เรียนที่รับผิดชอบเป็น มีวิธีปฏิบัติอันเรียบง่ายอย่างหนึ่งที่เห็นได้ทั่วไปในฟินแลนด์ ซึ่งครูจะจับคู่กับครูต่างระดับชั้นอีกคนหนึ่งเพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสองชั้นเรียนเป็นเวลาหนึ่งปี วิธีนี้เรียกว่า กุมมิต (kummit  แปลว่า พ่อแม่ทูนหัว) วิธีนี้เป็นการผูกพันชั้นเรียนทั้งสองนานสิบเดือน ประกอบด้วยนักเรียนที่จับคู่กันและคอยช่วยเหลือกันในด้านต่าง ๆ และยังผนึกกำลังครูซึ่งมีภารกิจร่วมกันในการทำสิ่งที่ดีที่สุดให้แก่เด็ก ๆ โดยไม่เป็นการเพิ่มภาระของครู แม้แนวทางนี้จะมุ่งให้เกิดประโยชน์ต่อนักเรียนเป็นหลัก แต่ครูมือใหม่ก็ได้รับคำแนะนำที่สำคัญและเป็นธรรมชาติจากครูที่มีประสบการณ์มากกว่าด้วย</p> <p>5) เล่นเป็นทีม  ทุนทางสังคมคือเครือข่ายความสัมพันธ์ที่บุคคล กลุ่ม หรือหน่วยบางอย่างสร้างขึ้นและใช้เพื่อประโยชน์ของตนเองหรือผู้อื่น ในโรงเรียนที่มีทุนทางสังคมดี เราจะเห็นครูพูดถึงงานของตนในฐานะวิถีปฏิบัติแบบร่วมมือร่วมแรง พวกเขาเข้าถึงชั้นเรียนของครูคนอื่นได้เป็นปกติ ประชุมกันเป็นประจำ และร่วมกันวางแผน โรงเรียนเช่นนี้มีความเชื่อใจในตัวครูสูงกว่าโรงเรียนที่มีทุนทางสังคมต่ำ โดยการสร้างทุนทางสังคมนั้นมีวัตถุดิบสามอย่างได้แก่ ตารางสอนที่ยืดหยุ่น ศูนย์ความร่วมมือ และวิธีคิดแบบอิงกลุ่ม</p> <p>6) แบ่งปันความเป็นผู้นำ ในฟินแลนด์ ผู้อำนวยการเป็นครูที่ผ่านการฝึกฝนและมักใช้เวลาหลายปีในชั้นเรียนก่อนจะไปเป็นผู้บริหารโรงเรียน ผู้อำนวยการจำนวนมากยังคงมีวิชาสอนในแต่ละสัปดาห์ สำหรับที่นี่แล้ว มีความคาดหวังโดยทั่วไปว่าผู้อำนวยการต้องวางเท้าอย่างน้อยข้างหนึ่งไว้ในห้องเรียนเสมอ</p> <p>7) เชื่อใจกระบวนการ  ระบบการศึกษาของฟินแลนด์เข้าใจดีว่า “เด็กทุกคนมีความต้องการเฉพาะ” และเด็กทุกคนเรียนรู้สิ่งที่จำเป็นต้องเรียนได้หากมีเงื่อนไขการเรียนรู้ที่เหมาะสม ทำให้ฟินแลนด์ต่างจากประเทศตรงที่ 1) ครูทั้งหมดต้องเรียนวิชาการศึกษาพิเศษ 2) นักการศึกษาและผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาวะทำงานกันเป็นทีมเพื่อเข้าช่วยเหลือเด็ก ๆ ให้เร็วที่สุด รวมถึงมีมาตรการเชิงป้องกันก่อนเกิดปัญหาด้วย 3) ระบบสาธารณสุขทำงานร่วมกับนักการศึกษา และในส่วนการประเมินการศึกษาของฟินแลนด์ประกอบด้วย 1) โรงเรียนใช้การประเมินโดยสุ่มตัวอย่าง การประเมินเนื้อหาการสอน การประเมินตนเอง และรายงานจากองค์การบริหารท้องถิ่น 2) นักเรียนจะได้รับการประเมินจากครูเป็นหลัก ครูมีอิสระในการออกแบบการทดสอบตามที่เห็นสมควร</p> <p>บทเรียนที่น่าสนใจจากทั่วโลกอีกประการหนึ่งคือ เราได้เห็นว่าการปิดโรงเรียนในระหว่างมีโรคระบาดส่งผลกระทบต่อเด็ก ๆ อย่างไรในประเทศที่คาดหวังให้นักเรียนดูแลตัวเองและรับผิดชอบการเรียนรู้ของตนเอง การเปลี่ยนไปเรียนทางไกลเป็นไปได้อย่างราบรื่นกว่า เป็นที่ทราบกันว่าโรงเรียนในฟินแลนด์เป็นสถานที่ที่นักเรียนได้รับแรงกระตุ้นและเรียนรู้ที่จะจัดการเรียนรู้ของตนเอง ความเชื่อใจทั้งต่อตัวครูและนักเรียนจึงเป็นเงื่อนไขสำคัญของการเรียนรู้ด้วยตนเองในโรงเรียนฟินแลนด์  เพราะระบบการศึกษาที่แข็งแกร่งไม่อาจพัฒนาได้ด้วยนวัตกรรมวิเศษหรือครูยอดมนุษย์ไม่กี่คน แต่ต้องอาศัยความเชื่อใจที่เชื่อมร้อยครู ผู้บริหาร ผู้กำหนดนโยบาย ผู้ปกครอง และนักเรียนเข้าด้วยกัน นี่คืออิฐก้อนแรกที่เป็นรากฐานสำคัญ เพื่อปูทางสู่อนาคตอันเปี่ยมความหวังของคนรุ่นต่อไป ความเชื่อใจดังกล่าวมีองค์ประกอบห้าประการดังนี้ 1) ความเมตตา (Benevolence) 2) ความซื่อสัตย์ (Honesty) 3) ความเปิดกว้าง (Openness) 4) ความน่าเชื่อถือ (Reliability) และ 5) ศักยภาพ (Competence)  ซอลห์เบิร์กกับวอล์กเกอร์ยังเขียนถึงประโยชน์ของความเชื่อใจไว้ว่า</p> <ul> <li>เป็นกาวประสานที่ส่งเสริมการพึ่งพาอาศัยกันทางสังคมเชิงบวกและความกลมเกลียวในระบบการศึกษา</li> <li>เป็นองค์ประกอบสำคัญของการร่วมมือกันในโรงเรียน</li> <li>ช่วยเพิ่มระดับความซื่อสัตย์และโปร่งใสระหว่างครู กระตุ้นครูให้ส่งเสียงและรับฟังเสียงสะท้อนทางวิชาการ</li> <li>เกิดความสัมพันธ์ที่สมบูรณ์ระหว่างครูกับนักเรียน เมื่อครูเชื่อใจนักเรียนโดยมอบหมายความรับผิดชอบและ</li> </ul> <p>  ให้อำนาจในการดูแลตัวเองอย่างสมเหตุสมผลให้</p> <ul> <li>ความเชื่อใจมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักเรียน</li> </ul> <p>          หนังสือเล่มนี้ออกเผยแพร่ในช่วงเวลาที่เหมาะสมเป็นอย่างยิ่งต่อการปฏิรูปการศึกษาของประเทศเรา สาระในหนังสือจะช่วยสนับสนุนการดำเนินการจัดการศึกษาตามนโยบาย ซึ่งได้กล่าวถึงกระบวนการสร้างความเชื่อใจให้เกิดขึ้นในห้องเรียนฟินแลนด์  แสดงให้เห็นว่าการเชื่อใจครูเป็นส่วนประกอบสำคัญของความเป็นเลิศด้านการศึกษาและ      สุขภาวะ สังคมแห่งความเชื่อใจเป็นสังคมแห่งสุขภาวะ ความเชื่อใจเป็นสุขภาวะทางสังคม โรงเรียนต้องเป็นพื้นที่สร้างสุขภาวะทางสังคม และรับผิดชอบการบ่มเพาะพลเมืองที่เชื่อใจได้ รวมทั้งหลักเจ็ดประการที่จะช่วยให้โรงเรียนและครูนำมาประยุกต์ใช้ได้ ระบบการศึกษาและโรงเรียนที่ดีไม่อาจสร้างได้ด้วย “ครูยอดมนุษย์” ไม่กี่คน เพราะนี่เป็นกีฬาประเภททีม และต้องเป็นทีมที่เชื่อใจกัน  นอกจากเชื่อใจในตัวครูแล้ว ยังต้องถักทอความสัมพันธ์เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างโรงเรียน ผู้บริหาร ผู้กำหนดนโยบาย ผู้ปกครอง ครู ตลอดจนเด็กนักเรียน เพื่อให้การเรียนการสอนในห้องเรียนไทยมีความเชื่อใจกันมากขึ้นและนำไปสู่การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ หนังสือเล่มนี้จะช่วยชี้แนะแนวทางการพัฒนาระบบการศึกษาไทยให้บรรลุเป้าหมาย ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งของการศึกษาที่มีคุณภาพ</p>}, number={1}, journal={Journal of Education Rajabhat Maha Sarakham University}, author={Senajak, Jeeranan}, year={2022}, month={May}, pages={279–282} }