การพัฒนาตัวบ่งชี้การส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักศึกษา ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

Main Article Content

พัชรินทร์ ชมภูวิเศษ
กฤตฏ์ ชมภูวิเศษ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้การส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี และวิเคราะห์องค์ประกอบการส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักศึกษาระดับปริญญาตรี กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 1,175 คน โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามปลายเปิดและแบบสอบถามการส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี จำนวน 1 ฉบับ การวิเคราะห์ข้อมูล โดย การหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ 


ผลการวิจัย พบว่า ตัวบ่งชี้การส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ประกอบด้วย ตัวบ่งชี้หลัก 10 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ด้านตัวนักศึกษา 2) ด้านปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น 3) ด้านเพื่อน 4) ด้านการปรับตัวทางสังคม 5) ด้านอาจารย์ผู้สอน 6) ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอน 7) ด้านครอบครัว 8) ด้านการอบรมเลี้ยงดู 9) ด้านมหาวิทยาลัย 10) ด้านการมีส่วนร่วมกับกิจกรรมเสริมของมหาวิทยาลัย 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการ. (2543). รูปแบบหรือแนวการจัดการเรียนรู้ที่เสริมสร้างคุณลักษณะดี เก่ง มีสุขระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2545). คู่มือกิจกรรมเสริมสร้าง ความฉลาดทางอารมณ์ เด็กอายุ 3–1 ปี. นนทบุรี: โรงพิมพ์ ร.ส.พ. นนทบุรี.

กองทิพย์ นาควิเชตร และคณะ. (2564). การพัฒนาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้การส่งเสริมความสุขในการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.). 27(1): 48; มกราคม–มิถุนายน 2564.

กิติยวดี บุญซื่อ และคณะ. (2540). ทฤษฎีการเรียนรูอย่างมีความสุข ต้นแบบการเรียนรู ทางด้านหลักทฤษฎี และแนวปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

ชฏายุ บุตรศรี. (2563). การพัฒนาตัวบ่งชี้ความสุขในการเรียนวิชาสังคมศึกษาของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. วิทยานิพนธมหาบัณฑิต กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ฐิติยา อัลอิดรีสี. (2551). การพัฒนาตัวบ่งชี้การส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 ในจังหวัดปัตตานี. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.

ทองคูณ หงส์พันธุ์. (2542). คู่มือการจัดกิจกรรมค่ายอาสาพัฒนาและบำเพ็ญประโยชน์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). โมเดลลิสเรล: สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). รูปแบบการจัดการเรียนร่วมแบบรวมพลัง (Collaborative Inclusion Model =CIM). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

ประเวศ วะสี. (2553). เคล็ดลับสร้างความสุขในการทำงาน. จดหมายข่าวชุมชนคนรักสุขภาพ, 7(111) : 7.

ปรัศนี จีรวงศ์รุ่งเรือง. มิถุนายน-ตุลาคม, (2542). “การเรียนรู้อย่างมีความสุข,” เอกสารทาง วิชาการ เทคโนฯ- ทับแก้ว 2. 3(1): 45.

พงษ์พันธ์ พงษ์โสภา. (2542). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ: พัฒนศึกษา.

พระธรรมปิฎก.ป.อ.ปยุตโต. (2538). ชีวิตที่สมบูรณ์. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต). (2549). สุขภาวะองค์รวมแนวพุทธ. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ: อักษรสัมพันธ์.

แพรวพรรณ์ พิเศษ. (2548). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีผลต่อการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ศันศนีย์ ฉัตรคุปต์ และคณะ. (2544). การเรียนรู้อย่างมีความสุข: สารเคมีในสมองกับความสุขและการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: สกายบุ๊กส์.

สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564). กรุงเทพ ฯ: สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาการ เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560 – 2579. กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สำนักงานวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. 15 – 22 กุมภาพันธ์, (2549). แนวทางการบริหารหลักสูตรและการเรียนการสอน ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. เอกสารการประชุมชี้แจงเจตนารมณ์ กระทรวงศึกษา “2549 ปีแห่งการปฏิรูปการเรียนการสอน”.

สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ. (2542). คู่มือการปฏิบัติงานกิจการนักศึกษาของสถาบันราชภัฏ. กรุงเทพฯ: แสงสว่าง.

อุมาพร ตรังคสมบัติ. (2543). ปัญหาการเรียนและเทคนิคช่วยให้ลูกเรียนดี. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยและพัฒนาครอบครัว.

Burton, J. (2010). WHO healthy workplace framework and model: Background and supporting literature and practices. Geneva: World Health OrganiZation.

Diener, E., (2010). New measures of well-being: Flourishing and positive and negative Feeling, Social Indicators Research, 39, 247-266.

Helliwell, J., Layard, R., & Sachs, J. (2012). World happiness report. Retrieved from http://www.earth.columbia.edu/sitefiles/file/sachswriting/2012/ world happinessreport.pdf

Layard, R. (2005). Happiness. UK: Penguin Press.

Lundin, S., Paul, M., & Christenes, J. (2003). Fish tales!. NY: Hyperion.

Manion, J. (2003). Joy at work: Creating a positive workplace. Journal of Nursing Administration, 33(12), 9-652.

Seligman, M. (2002). Authentic happiness: Using the new positive psychology to realize your potential for lasting fulfillment. NY: Free Press.

Warr, P. (2007). Work, happiness, and unhappiness. NJ: Lawrence Erlbaum.