ความต้องการจำเป็นและแนวทางการบริหารโรงเรียนประถมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สู่มาตรฐานสากล

Main Article Content

ธัญวลัย ไพศาลอนันต
ทิพยวรรณ แพงบุปผา
พลากร ขุริมนต์

บทคัดย่อ

   งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่คาดหวัง ความต้องการจำเป็น และหาแนวทางการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือสู่มาตรฐานสากล โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานวิธี แบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่คาดหวังและความต้องการจำเป็นกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 385 คน มาจากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างง่าย ใช้แบบสอบถาม ประมาณค่า 5 ระดับ มีความเชื่อมั่นของแบบสอบถามสภาพปัจจุบัน เท่ากับ 0.98 และแบบสอบถามสภาพที่คาดหวัง เท่ากับ 0.96 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีจัดเรียงลำดับความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุง ระยะที่ 2 ศึกษาแนวทางการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือสู่มาตรฐานสากลใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน ที่มาจากการเลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า


สภาพปัจจุบันในการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือสู่มาตรฐานสากลโดยรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}= 4.11) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การนำองค์การ (gif.latex?\bar{X}= 4.19) ส่วนสภาพที่คาดหวังในการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือสู่มาตรฐานสากลโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{X}= 4.63) โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การนำองค์การและด้านผลลัพธ์ (gif.latex?\bar{X}= 4.67) และความต้องการจำเป็นในการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สู่มาตรฐานสากล ลำดับที่หนึ่งคือ การมุ่งเน้นผู้ปฏิบัติงาน รองลงมาคือ การวัด การวิเคราะห์และการจัดการความรู้ และลำดับสุดท้ายคือ การนำองค์การ โดยมีแนวทางการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาในภาคตะวันออก เฉียงเหนือสู่มาตรฐานสากลจำนวน 16 แนวทาง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรุงเทพธุรกิจ. (2562). ปัญหาหลักของการศึกษาไทย. สืบค้นเมื่อ 29 มิถุนายน 2562 จาก https://www.bangkokbiznews.com/blogs/columnist/122393.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2546). ภาพอนาคตและคุณลักษณะของคนไทยที่พึงประสงค์.กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2553). กลยุทธ์การสอน : ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553.

สมศักดิ์ สินธุระเวชญ์. (2542). มองสู่คุณภาพการศึกษา. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพาณิช.

สุภาส มณีโชติ. (2555). โรงเรียนมาตรฐานสากล. สืบค้นเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2561จาก https://www.gotoknow.org/posts/410556.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ.2560-2564/สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: พิมพลักษณ์.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2555). แนวทางการจัดการเรียนการสอน ในโรงเรียนมาตรฐานสากลฉบับปรับปรุง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554). แนวทางการจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานสภาการศึกษา. (2555). รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถของเด็กสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: สำนักงานสภาการศึกษา.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2553). ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษ ที่สอง (พ.ศ. 2552-2561). กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2549). การวิจัยเปรียบเทียบการปฏิรูปการศึกษาของประเทศในกลุ่มอาเซียน. กรุงเทพฯ: สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย (2553). แนวทางการดำเนินงานโรงเรียนมาตรฐานสากล. กรุงเทพฯ: สำนักฯ

Baldrige National Quality Program. (2007). Criteria for Performance Excellence. Available: http:// www.baldrige.nist.gov. (2009, October 11). 26 p.

Drucker, P. F. (1993). Post-Capitalist Society. New York: Butterworth Heineman.

Feigenbaum, A. V. (1983). Total quality control. (3rd ed.). New York: McGraw-Hill.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30 (3), pp. 607-610