แนวทางการจัดกิจกรรมแบบ UNPLUGGED เพื่อเสริมสร้างทักษะ ของผู้เรียนในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ส่งผลกระทบอย่างมากต่อการพัฒนาทักษะของผู้เรียนในหลายประเทศรวมถึงประเทศไทย ซึ่งหนึ่งในสาเหตุหลักเกิดจากโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกลที่ยังขาดแคลนทรัพยากรทางเทคโนโลยีที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ ในขณะที่ทางด้านการศึกษาเริ่มมีการนำรูปแบบการจัดกิจกรรมแบบ Unplugged มาใช้เพื่อลดปัญหาดังกล่าวมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการจัดกิจกรรมแบบ Unplugged ยังมีจำนวนไม่มากนัก ดังนั้น ผู้วิจัยจึงได้ศึกษาแนวทางการจัดกิจกรรมแบบ Unplugged โดยมีวัตถุประสงค์การวิจัยครั้งนี้ คือ เพื่อศึกษาแนวทางและผลลัพธ์การนำรูปแบบการจัดกิจกรรมแบบ Unplugged ไปใช้ในประเทศไทย โดยการทบทวนวรรณกรรมอย่างมีขอบเขต (Scoping Review) ซึ่งวิธีการวิจัย: ประกอบด้วย 1) การกำหนดขอบเขต 2) การออกแบบการดำเนินการวิจัย 3) การเก็บรวบรวมข้อมูล 4) การคัดแยกข้อมูล 5) การวิเคราะห์ข้อมูล และ 6) การสรุปผลข้อมูล ผลการวิจัย: พบว่า การจัดกิจกรรมแบบ Unplugged กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในประเทศไทย รวมถึงการจัดกิจกรรมดังกล่าวถูกนำไปใช้เพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ หลากหลายด้าน ได้แก่ สภาพทางสังคม สภาพแวดล้อมในการเรียนและปัญหาที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับผู้สอนและผู้เรียน นอกจากนี้ผลการศึกษาจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องทั้งหมด พบว่า การจัดกิจกรรมแบบ Unplugged สามารถพัฒนาทักษะต่าง ๆ ของผู้เรียนในประเทศไทยได้อย่างมีนัยสำคัญ
Article Details
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้ ไม่ใช่ความคิดเห็นและความรับผิดชอบของคณะผู้จัดทำ บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ และมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ซึ่งความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน
References
กัลยาณี คุณา. (2564). การวิเคราะห์กระบวนการพัฒนาการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาการคำนวณของครูและผลที่เกิดขึ้นกับนักเรียน: การวิจัยเชิงผสมวิธี. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
กิตติญา ปัตถาลี, สุนิตย์ตา เย็นทั่ว และ พัชรินทร์ รุจิรานุกุล. (2566). การพัฒนาชุดกิจกรรม CS Unplugged ร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหา วิชาวิทยาการคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 17(2), 101–110.
ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์. (2566). การจัดการนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาการเรียนรู้แบบ Unplugged Coding เรื่อง ท่องเที่ยวสวนสัตว์ ตามวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น (5E) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านป่าพลู จังหวัดลำพูน. วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม, 4(2), 73–83.
นาดียะห์ สาหม๊ะ และ มูนีเร๊าะ ผดุง. (2566). การพัฒนาชุดกิจกรรมอันปลั๊กโค้ดดิ้งร่วมกับสื่อความเป็นจริงเสริมเพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนโปรแกรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ในโรงเรียนขนาดเล็ก. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 18(3), 64–73.
ประภัสสร สำลี. (2564). The Development of Unplugged Coding Set of Activities to Enhance Computational Thinking Skills for Students in Kindergarten 3. วารสารวิจัยและนวัตกรรม สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร, 4(2), 181–198.
ปิยธิดา ณ อุบล และ ฤทธิไกร ไชยงาม. (2565). การศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Unplugged Coding ที่มีต่อการคิดเชิงคํานวณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 19(2), 144–153.
พรนภัส ใหญ่วงค์ และ อังคณา อ่อนธานี. (2566). การพัฒนาชุดเกม Unplugged Codingเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนต้น. วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้และเทคโนโลยี, 3(1), 25-34.
มูนีเร๊าะ ผดุง, ลักษ์ขณาวดี ชุ่มแก้ว, และ ซูไรยะห์ ดอเลาะ. (2566). รายงานวิจัยการพัฒนาทักษะแนวคิดเชิงคำนวณด้วยชุดกิจกรรมอันปลั๊กโค้ดดิ้ง สำหรับนักเรียนมัธยม ศึกษาชั้นปีที่ 2. ยะลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2566). การสำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ. 2566 (ไตรมาส 3). กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.
สุวิมล นิลพันธ์ และ ธิติยา บงกชเพชร. (2564). การจัดกิจกรรมการเรียนแบบ Unplugged เพื่อพัฒนาทักษะการคิดเชิงคำนวณ เรื่อง รูปสีเหลียม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา 5. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 15(2), 208–223.
อภิญญา ผ่านวงษ์ และ ทิพรัตน์ สิทธิวงศ์. (2566). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดเชิงออกแบบโค้ดดิ้งโดยไม่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ร่วมกับเทคโนโลยีโลกเสมเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา, 6(19), 126–136.
อารีวรรณ ไชยกาญจน์, ปิยะนันท์ หิรัณย์ชโลทร และ อรพรรณ บุตรกตัญญู. (2565). ผลของการจัดกิจกรรมเกม ดนตรี และเคลื่อนไหวผสาน Unplugged Coding เพื่อส่งเสริมการคิดเชิงคำนวณของเด็กปฐมวัย. วารสารวิชาการการจัดการภาครัฐและเอกชน, 4(2), 123–137.
Bell, T., Vahrenhold, J. (2018). CS Unplugged-How Is It Used, and Does It Work?. In Böckenhauer, HJ., Komm, D., Unger, W. (Eds.), Adventures Between Lower Bounds and Higher Altitudes, pp. 497-521. Springer, Cham.
Brackmann, C., Barone, D., Casali, A., Boucinha, R., & Muñoz-Hernandez, S. (2016). Computational Thinking: Panorama of the Americas. In 2016 International Symposium on Computers in Education (SIIE), pp. 1–6. IEEE. DOI: 10.1109/SIIE.2016.7751839.
Brackmann, C. P., Román-González, M., Robles, G., Moreno-León, J., Casali, A., & Barone, D. (2017). Development of Computational Thinking Skills through Unplugged Activities in Primary School. In Proceedings of the 12th Workshop on Primary and Secondary Computing Education, pp. 65–72. ACM. DOI: 10.1145/3137065.3137069.
Chen, P., Yang, D., Metwally, A. H. S., Lavonen, J., & Wang, X. (2023). Fostering Computational Thinking through Unplugged Activities: A Systematic Literature Review and Meta-Analysis. International Journal of STEM Education, 10(1), 47.
Intarasorn, J., Vatanakhiri, C., & Boonmee, W. (2023). Unplugged Coding Experience Results to Develop Life Skills at The Early Childhood Level. Journal of Pacific Institute of Management Science Humanities and Social Sciences, 9(1), 378–387.
Lee, J., & Junoh, J. (2019). Implementing Unplugged Coding Activities in Early Childhood Classrooms. Early Childhood Education Journal, 47, 709-716.
Threekunprapa, A., & Yasri, P. (2020). Unplugged Coding Using Flowblocks for Promoting Computational Thinking and Programming among Secondary School Students. International Journal of Instruction, 13(3), 207–222.
Wallet, P., & Melgar, B. (2015). ICT in Education in Sub-Saharan Africa: A Comparative Analysis of Basic E-Readiness in Schools. Montreal, Canada: UNESCO Institute for Statistics.
Wallet, P., & Valdez, B. (2014). ICT in Education in Asia: A Comparative Analysis of ICT Integration and E-Readiness in Schools Across Asia. Montreal, Canada: UNESCO Institute for Statistics.
Wongpuan, T., & Chomphucome, P. (2023). Using a Combination of Activity Packs Linked to Real-World Situations to Develop Early Programming Knowledge and Ability of Grade 3 Pupils in Multicultural Schools, Chai Prakan District, Chiang Mai Province. Journal of MCU Social Science Review, 12(4), 110–123.