การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่องการประยุกต์อนุพันธ์โดยการใช้รูปแบบ SSCS ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Main Article Content

ขนิษฐา แน่นอุดร

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การประยุกต์อนุพันธ์ โดยใช้รูปแบบ SSCS ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 75/75 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักศึกษา เรื่อง การประยุกต์อนุพันธ์ หลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ SSCS ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ กับเกณฑ์ร้อยละ 75 และ 3) ศึกษาความมั่นใจในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การประยุกต์อนุพันธ์ โดยใช้รูปแบบ SSCS และใช้กระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี จำนวน 30 คน ทำการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย


เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การประยุกต์อนุพันธ์ โดยใช้รูปแบบ SSCS ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง การประยุกต์อนุพันธ์ และแบบสอบถามความมั่นใจในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การประยุกต์อนุพันธ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาประสิทธิภาพ (E1/E2) และการทดสอบที


ผลการวิจัยสามารถสรุปได้ว่า 1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การประยุกต์อนุพันธ์ โดยใช้รูปแบบ SSCS และใช้กระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ มีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 76.67/79.33 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักศึกษา เรื่อง การประยุกต์อนุพันธ์ หลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ SSCS ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) นักศึกษามีความมั่นใจในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การประยุกต์อนุพันธ์ โดยใช้รูปแบบ SSCS ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ อยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กษิตธร ขวัญละมูล, วราภรณ์ จาตนิล และ ธารีรัตน์ ธนัตถ์พาณิชย์. (2560). การจัดการเรียนรู้สําหรับการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การประยุกต์อนุพันธ์ โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาตามแนวคิดของโพลยา. ใน การประชุมวิชาการทางคณิตศาสตร์ ครั้งที่ 22 ประจำปี พ.ศ. 2560, หน้า 1-15. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2537). เทคนิคการสร้างเครื่องมือรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: บีแอนด์บี พลับบิชชิ่ง.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2551). ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

Billstein, R. (1987). A Problem Solving Approach to Mathematics for Elementary School Teachers. 3rd ed. Menlo Park, California: The Benjamin/Cummings.

Pizzini, E. L., Shepardson, D. L. P., & Abell, S. K. (1989). A rationale for and the development of a problem solving model of instruction in science education. Science Education, 73(5), 523-534.