การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยบูรณาการทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์และการคิดอย่างมีวิจารณญาณเพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะกระบวนการ และความสามารถในการตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

กัลยานี แพงจันทร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยบูรณาการทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยบูรณาการทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์และแนวคิดการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และความ สามารถในการตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ดำเนินการวิจัยมี 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยบูรณาการทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดยเริ่มจากการสัมภาษณ์ครูผู้สอนวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับสภาพการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เกี่ยวกับการเรียน บริบท และองค์ประกอบที่ส่งเสริมสนับสนุนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ วิเคราะห์โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน แล้วนำข้อมูลมาเป็นแนวทางในการสร้างและหาคุณภาพรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ระยะที่ 2 การศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการการเรียนรู้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 1 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และแบบวัดการตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ การวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้การทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 


1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยบูรณาการทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์และการคิดอย่างมีวิจารณญาณเพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะกระบวนการ และความสามารถในการตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วยการจัดการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นกระตุ้นความคิด ขั้นคิดพิจารณา ขั้นสร้างแนวคิดใหม่ ขั้นสื่อสารและสะท้อนคิด และขั้นนำแนวคิดไปใช้ ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการเรียนรู้มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด


2. ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยบูรณาการทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ พบว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ และความสามารถในการตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์หลังสูงกว่าก่อนได้รับการจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

จรรยา ศรีพันธบุตร. (2555). การพัฒนายุทธศาสตร์การจัดการเรียนรู้โดยบูรณาการทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์และแนวคิดการคิดอย่างมีวิจารณญาณเพื่อเสริมสร้างผลการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และความสามารถในการตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขายุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

จิรดาวรรณ หันตุลา. (2550). ทักษะการคิดและกระบวนการคิดของนักเรียน โดยใช้รูปแบบการสอนคอนสตรัคติวิสต์. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ณฐกรณ์ ดำชะอม. (2553). ผลการจัดการเรียนรู้ด้วยการสืบเสาะหาความรู้แบบ 5E และวิธีการทางประวัติศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนประวัติศาสตร์และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ณรงค์ โสภิณ. (2555). การพัฒนายุทธศาสตร์การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสืบสอบและการรู้คิดเพื่อส่งเสริมผลการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และความสามารถในการกำกับตนเองในการเรียนรู้ สำหรับนักเรียนประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การจัดการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

ทิศนา แขมมณี. (2563). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 24. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธนภูมิ พุ่มจันทร์. (2555). การพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เรื่องประเด็นทางสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบซักค้าน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นิภารัตน์ วิธี. (2555). ผลของวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้นร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือแบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

บุญรักษ์ ลาดสูงเนิน. (2555). การศึกษาเปรียบเทียบกระบวนการคิดและพฤติกรรมการคิดอย่างมีวิจารณญาณในกระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนโปรแกรม คณิตศาสตร์และสถิติ สถาบันราชภัฏกลุ่มภาคตะวันตก. วิทยานิพนธ์ปริญญาการ ศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.

ปริญญาพร เรืองสุทธิ. (2553). ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ โดยใช้กระบวนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัย ขอนแก่น, 4(4), 83-90.

โรงเรียนบ้านหมากแข้ง. (2564). แผนปฏิบัติการประจำปี พ.ศ. 2564. อุดรธานี: ฝ่ายบริหารวิซาการโรงเรียนบ้านหมากแข้ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต1.

ล้วน สายยศ และ อังคณา สายยศ. (2543). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

วันเพ็ญ ปัญญาสิงห์. (2553). การพัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและผล สัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี เรื่อง สารชีวโมเลกุล ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้ 4MAT. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 6(3), 177-186.

สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-64). กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สุชาดา ทองอยู่. (2551). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการตัดสิน ใจอย่างสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมสร้างองค์ความรู้. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการมัธยมศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุรินทร์ อ่อนกล. (2552). ผลการสอนตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์แบบอินเตอร์แอกทีฟที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอนวิทยาศาสตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ไสว วีรพันธ์ และ น้อยทิพย์ ลิ้มยิ่งเจริญ. (2555). การพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์เรื่องงานและพลังงานของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยการจัดการเรียนรู้แบบคอนสตรัคติวิสต์ (CLM). วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา, 6(3), 177-186.

อัญชลี ด้วงต้อย. (2557). การสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์เพื่อพัฒนาความ สามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.