https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edudru/issue/feed
วารสารคุรุศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
2024-06-30T00:00:00+07:00
รศ.ดร.จุฬามาศ จันทร์ศรีสุคต
edjournal@udru.ac.th
Open Journal Systems
<p><strong>วารสารคุรุศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี</strong></p> <p> วารสารคุรุศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่บทความวิจัยและบทความวิชาการทางด้านการศึกษา 3 ภาษา คือ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และ ภาษาจีน ในสาขาบริหารการศึกษา สาขาการวัดและประเมินผล สาขาการศึกษาพิเศษ สาขาปฐมวัย และสาขาการสอน (ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ทั่วไป จิตวิทยาและการแนะแนว สุขศึกษา พลศึกษา คอมพิวเตอร์ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาจีน เป็นต้น) รวมทั้งเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่าง อาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ และนักศึกษา</p> <p> </p> <p><strong>กำหนดจัดพิมพ์ออกเผยแพร่ ปีละ 2 ฉบับ</strong></p> <p> ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน (กำหนดออกเดือนมิถุนายน)</p> <p> ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม (กำหนดออกเดือนธันวาคม)</p>
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edudru/article/view/273596
การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือที่เน้นกิจกรรมบทบาทสมมติเพื่อพัฒนาความสามารถการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1
2024-06-20T12:06:01+07:00
พันธชา อินทยศ
puntacha@gmail.com
ปทมรัศมิ์ นาคนิษฐนนต์
puntacha@gmail.com
<p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสามารถการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักเรียน ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือที่เน้นกิจกรรมบทบาทสมมติ 2) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือที่เน้นกิจกรรมบทบาทสมมติ ประชากร ได้แก่ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยการอาชีพจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษฟัง-พูด ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 19 คน เครื่องมือวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือที่เน้นกิจกรรมบทบาทสมมติ แบบทดสอบก่อนและหลังเรียนและแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ ผลการวิจัย พบว่า ก่อนเรียนนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 45.79 ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด (ร้อยละ 60) แต่หลังเรียนนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 72.65 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดทุกคน โดยมีคะแนนการเปลี่ยนแปลงสัมพัทธ์อยู่ในระดับปานกลาง และความคิดเห็นของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับมากที่สุด</p>
2024-06-30T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารคุรุศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edudru/article/view/275013
การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่องการประยุกต์อนุพันธ์โดยการใช้รูปแบบ SSCS ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
2024-06-20T11:58:23+07:00
ขนิษฐา แน่นอุดร
khanithar.n@dru.ac.th
<p>การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องการประยุกต์อนุพันธ์ โดยใช้รูปแบบ SSCS ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 75/75 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักศึกษา เรื่องการประยุกต์อนุพันธ์ หลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ SSCS ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ กับเกณฑ์ร้อยละ 75 และ 3) ศึกษาความมั่นใจในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่องการประยุกต์อนุพันธ์ โดยใช้รูปแบบ SSCS และใช้กระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี จำนวน 30 คน ทำการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย</p> <p>เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องการประยุกต์อนุพันธ์ โดยใช้รูปแบบ SSCS ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง การประยุกต์อนุพันธ์ และแบบสอบถามความมั่นใจในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่องการประยุกต์อนุพันธ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที </p> <p>ผลการวิจัยสามารถสรุปได้ว่า 1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องการประยุกต์อนุพันธ์ โดยใช้รูปแบบ SSCS และใช้กระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ มีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 76.67/79.33 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักศึกษา เรื่องการประยุกต์อนุพันธ์ หลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ SSCS ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) นักศึกษามีความมั่นใจในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การประยุกต์อนุพันธ์ โดยใช้รูปแบบ SSCS ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ อยู่ในระดับมาก </p>
2024-06-30T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารคุรุศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edudru/article/view/275173
การพัฒนาเกมการศึกษารูปแบบจักรวาลนฤมิตรโดยใช้ Roblox เพื่อส่งเสริมความรู้ เรื่องเลขยกกำลังสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
2024-06-25T19:19:03+07:00
พิศณุ ชัยจิตวณิชกุล
pitsanu.ch@udru.ac.th
จักราวุธ เหลี่ยมจัตุรัส
64040145211@udru.ac.th
สุทธิศานต์ แสงสว่าง
64040145213@udru.ac.th
ปณวรรต คงธนกุลบวร
panawat.kh@udru.ac.th
<p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาและพัฒนาเกมการศึกษารูปแบบจักรวาลนฤมิตรโดยใช้ Roblox เพื่อส่งเสริมความรู้เรื่องเลขยกกำลัง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยเกมการศึกษารูปแบบจักรวาลนฤมิตรโดยใช้ Roblox 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อเกมการศึกษารูปแบบจักรวาลนฤมิตรโดยใช้ Roblox กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนประจักษ์ศิลปาคาร ภาคเรียนที่ 2 จำนวน 28 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย 1) เกมการศึกษารูปแบบจักรวาลนฤมิตรโดยใช้ Roblox เพื่อส่งเสริมความรู้เรื่องเลขยกกำลัง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) แผนจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน จำนวน 20 ข้อ 4) แบบฝึกหัดระหว่างเรียนมีทั้งหมด 2 ชุด แบบฝึกหัดแต่ละชุดประกอบด้วย 10 ข้อ และ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน แบบประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 18 ข้อ ผลการศึกษาพบว่า 1) การพัฒนาเกมการศึกษารูปแบบจักรวาลนฤมิตรโดยใช้ Roblox เรื่อง เลขยกกำลัง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 87.32/88.75 2) นักเรียนที่เรียนด้วยเกมการศึกษารูปแบบจักรวาลนฤมิตรโดยใช้ Roblox มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อเกมการศึกษารูปแบบจักรวาลนฤมิตรโดยใช้ Roblox อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด (𝑥̅= 4.54 , S.D. = 0.02) </p>
2024-06-30T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารคุรุศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edudru/article/view/275213
รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้บูรณาการด้วยโครงงานเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
2024-06-25T18:29:19+07:00
พรสวรรค์ สงวนนาม
pornsawan.vs@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้บูรณาการด้วยโครงงานเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้บูรณาการด้วยโครงงานเป็นฐานเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนก่อนและหลังการเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้บูรณาการด้วยโครงงานเป็นฐาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และศึกษาความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้บูรณาการด้วยโครงงานเป็นฐาน กลุ่มที่ร่วมพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ ครูคณิตศาสตร์ที่มีวิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษขึ้นไป จำนวน 5 คน นักเรียนที่มีพื้นฐานการเรียนคณิตศาสตร์แตกต่างกัน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้บูรณาการด้วยโครงงานเป็นฐาน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ แบบวัดความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า</p> <p> 1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้บูรณาการด้วยโครงงานเป็นฐาน เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่สร้างแรงจูงใจ กระตุ้นให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ ได้ศึกษาหาความรู้ สร้างความรู้ด้วยตนแอง โดยการลงมือปฏิบัติกิจกรรมด้วยสถานการณ์ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน ปัญหาชวนคิด ปัญหาที่ท้าทาย มาให้นักเรียนได้พิจารณาไตร่ตรองหาแนวทางที่หลากหลายในการหาคำตอบผ่านกระบวนการกลุ่มและนำความรู้ต่อยอดสู่การผลิตนวัตกรรม ประยุกต์ความรู้ไปใช้ได้จริง สามารถนำเสนอความรู้เผยแพร่สู่ชุมชนได้ ประกอบด้วย 5 ขั้น ได้แก่ ขั้นกระตุ้นความสนใจ ขั้นใฝ่การเรียนรู้ ขั้นฝึกฝนสู่การสรุป ขั้นประยุกต์สร้างสรรค์ และขั้นประเมินงานประสานสังคม ซึ่งมีประสิทธิภาพ (E<sub>1</sub>/E<sub>2</sub>) เท่ากับ 84.17/82.68 ซึ่งถือว่าสูงกว่าเกณฑ์ 80/80</p> <p> 2. ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้บูรณาการด้วยโครงงานเป็นฐาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ดังนี้<br /> 2.1 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์หลังสูงกว่าก่อนการเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้บูรณาการด้วยโครงงานเป็นฐาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05<br /> 2.2 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์หลังสูงกว่าก่อนการเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้บูรณาการด้วยโครงงานเป็นฐาน<strong> </strong>อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05<br /> 2.3 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีความพึงพอใจในรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้บูรณาการด้วยโครงงานเป็นฐาน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด</p>
2024-06-30T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารคุรุศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edudru/article/view/275218
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยบูรณาการทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์และการคิดอย่างมีวิจารณญาณเพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะกระบวนการ และความสามารถในการตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
2024-06-25T19:13:55+07:00
กัลยานี แพงจันทร์
nnee545972@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยบูรณาการทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยบูรณาการทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์และแนวคิดการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และความ สามารถในการตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ดำเนินการวิจัยมี 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยบูรณาการทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดยเริ่มจากการสัมภาษณ์ครูผู้สอนวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับสภาพการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เกี่ยวกับการเรียน บริบท และองค์ประกอบที่ส่งเสริมสนับสนุนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ วิเคราะห์โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน แล้วนำข้อมูลมาเป็นแนวทางในการสร้างและหาคุณภาพรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ระยะที่ 2 การศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการการเรียนรู้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 1 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และแบบวัดการตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ การวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้การทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า </p> <p>1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยบูรณาการทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์และการคิดอย่างมีวิจารณญาณเพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะกระบวนการ และความสามารถในการตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วยการจัดการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นกระตุ้นความคิด ขั้นคิดพิจารณา ขั้นสร้างแนวคิดใหม่ ขั้นสื่อสารและสะท้อนคิด และขั้นนำแนวคิดไปใช้ ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการเรียนรู้มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด</p> <p>2. ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยบูรณาการทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ พบว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ และความสามารถในการตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์หลังสูงกว่าก่อนได้รับการจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p>
2024-06-30T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารคุรุศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี