วารสารคุรุศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edudru <p><strong>วารสารคุรุศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี</strong></p> <p> วารสารคุรุศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่บทความวิจัยและบทความวิชาการทางด้านการศึกษา 3 ภาษา คือ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และ ภาษาจีน ในสาขาบริหารการศึกษา สาขาการวัดและประเมินผล สาขาการศึกษาพิเศษ สาขาปฐมวัย และสาขาการสอน (ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ทั่วไป จิตวิทยาและการแนะแนว สุขศึกษา พลศึกษา คอมพิวเตอร์ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาจีน เป็นต้น) รวมทั้งเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่าง อาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ และนักศึกษา</p> <p> </p> <p><strong>กำหนดจัดพิมพ์ออกเผยแพร่ ปีละ 2 ฉบับ</strong></p> <p> ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน (กำหนดออกเดือนมิถุนายน)</p> <p> ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม (กำหนดออกเดือนธันวาคม)</p> th-TH <p><strong>ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้ ไม่ใช่ความคิดเห็นและความรับผิดชอบของคณะผู้จัดทำ บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ และมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ซึ่งความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน</strong></p> edjournal@udru.ac.th (รศ.ดร.จุฬามาศ จันทร์ศรีสุคต) edjournal@udru.ac.th (นายรุ่งโรจน์ มีแก้ว) Sun, 30 Jun 2024 23:10:56 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การพัฒนาเกมการศึกษารูปแบบจักรวาลนฤมิตรโดยใช้ Roblox เพื่อส่งเสริมความรู้ เรื่องเลขยกกำลังสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edudru/article/view/275173 <p> การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาและพัฒนาเกมการศึกษารูปแบบจักรวาลนฤมิตรโดยใช้ Roblox เพื่อส่งเสริมความรู้เรื่องเลขยกกำลัง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยเกมการศึกษารูปแบบจักรวาลนฤมิตรโดยใช้ Roblox 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อเกมการศึกษารูปแบบจักรวาลนฤมิตรโดยใช้ Roblox กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนประจักษ์ศิลปาคาร ภาคเรียนที่ 2 จำนวน 28 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย 1) เกมการศึกษารูปแบบจักรวาลนฤมิตรโดยใช้ Roblox เพื่อส่งเสริมความรู้เรื่องเลขยกกำลัง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) แผนจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน จำนวน 20 ข้อ 4) แบบฝึกหัดระหว่างเรียนมีทั้งหมด 2 ชุด แบบฝึกหัดแต่ละชุดประกอบด้วย 10 ข้อ และ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน แบบประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 18 ข้อ ผลการศึกษาพบว่า 1) การพัฒนาเกมการศึกษารูปแบบจักรวาลนฤมิตรโดยใช้ Roblox เรื่อง เลขยกกำลัง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 87.32/88.75 2) นักเรียนที่เรียนด้วยเกมการศึกษารูปแบบจักรวาลนฤมิตรโดยใช้ Roblox มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อเกมการศึกษารูปแบบจักรวาลนฤมิตรโดยใช้ Roblox อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด (𝑥̅= 4.54 , S.D. = 0.02)</p> ปณวรรต คงธนกุลบวร, พิศณุ ชัยจิตวณิชกุล, จักราวุธ เหลี่ยมจัตุรัส, สุทธิศานต์ แสงสว่าง Copyright (c) 2024 วารสารคุรุศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edudru/article/view/275173 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือที่เน้นกิจกรรมบทบาทสมมติเพื่อพัฒนาความสามารถการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edudru/article/view/273596 <p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสามารถการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักเรียน ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือที่เน้นกิจกรรมบทบาทสมมติ 2) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือที่เน้นกิจกรรมบทบาทสมมติ ประชากร ได้แก่ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยการอาชีพจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษฟัง-พูด ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 19 คน เครื่องมือวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือที่เน้นกิจกรรมบทบาทสมมติ แบบทดสอบก่อนและหลังเรียนและแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ ผลการวิจัย พบว่า ก่อนเรียนนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 45.79 ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด (ร้อยละ 60) แต่หลังเรียนนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 72.65 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดทุกคน โดยมีคะแนนการเปลี่ยนแปลงสัมพัทธ์อยู่ในระดับปานกลาง และความคิดเห็นของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับมากที่สุด</p> พันธชา อินทยศ, ปทมรัศมิ์ นาคนิษฐนนต์ Copyright (c) 2024 วารสารคุรุศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edudru/article/view/273596 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่องการประยุกต์อนุพันธ์โดยการใช้รูปแบบ SSCS ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edudru/article/view/275013 <p>การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การประยุกต์อนุพันธ์ โดยใช้รูปแบบ SSCS ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 75/75 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักศึกษา เรื่อง การประยุกต์อนุพันธ์ หลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ SSCS ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ กับเกณฑ์ร้อยละ 75 และ 3) ศึกษาความมั่นใจในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การประยุกต์อนุพันธ์ โดยใช้รูปแบบ SSCS และใช้กระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี จำนวน 30 คน ทำการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย</p> <p>เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การประยุกต์อนุพันธ์ โดยใช้รูปแบบ SSCS ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง การประยุกต์อนุพันธ์ และแบบสอบถามความมั่นใจในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การประยุกต์อนุพันธ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาประสิทธิภาพ (E<sub>1</sub>/E<sub>2</sub>) และการทดสอบที</p> <p>ผลการวิจัยสามารถสรุปได้ว่า 1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การประยุกต์อนุพันธ์ โดยใช้รูปแบบ SSCS และใช้กระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ มีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 76.67/79.33 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักศึกษา เรื่อง การประยุกต์อนุพันธ์ หลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ SSCS ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) นักศึกษามีความมั่นใจในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การประยุกต์อนุพันธ์ โดยใช้รูปแบบ SSCS ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ อยู่ในระดับมาก</p> ขนิษฐา แน่นอุดร Copyright (c) 2024 วารสารคุรุศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edudru/article/view/275013 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700