การพัฒนารูปแบบการสอนภาษาอังกฤษโดยใช้การเรียนรู้แบบเน้นประสบการณ์ สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง

Main Article Content

พรรณวร บุญประเศรษฐผล
สุดากาญจน์ ปัทมดิลก
วารีรัตน์ แก้วอุไร
อมรรัตน์ วัฒนาธร

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนารูปแบบการสอนภาษาอังกฤษโดยใช้การเรียนรู้แบบเน้นประสบการณ์สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา เป็นนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคพิจิตร จำนวน 57 คน ประกอบด้วย นักศึกษาผู้เรียนวิชาทักษะพัฒนาเพื่อการสื่อสารภาษาอังกฤษ 1 โดยเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 26 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 31 คน ดำเนินการตามระเบียบวิธีและพัฒนา 4 ขั้นตอน พบว่า

1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการสอนภาษาอังกฤษโดยใช้การเรียนรู้แบบเน้นประสบการณ์สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงได้องค์ความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันจริงด้านความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษเรื่องการทักทาย การแนะนำ ครอบครัว การโทรศัพท์ การบันทึกข้อความ การเดินทาง ฤดูกาลที่ผันเปลี่ยน การศึกษา อาหารและเครื่องดื่ม กิจกรรมยามว่าง และงานและการสัมภาษณ์ ตามมารยาทสังคม วัฒนธรรม ประเพณีของเจ้าของภาษา คุณลักษณะผู้เรียนควรมีความตั้งใจที่จะติดตามการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง มีการคิดไตร่ตรอง รู้จักเรียนรู้ด้วยตัวเอง และกระบวนการเรียนรู้ของรูปแบบการสอนควรประกอบด้วย ประสบการณ์ตามสภาพจริง การฝึกปฏิบัติ การสะท้อนคิด การสร้างองค์ความรู้ การประยุกต์ใช้ การวัดผลและประเมินผล การทบทวน และการได้ทดลองปฏิบัติใช้ภาษาทั้งในและนอกห้องเรียน

2. การสร้างและตรวจสอบคุณภาพรูปแบบที่พัฒนาขึ้น อันประกอบด้วย หลักการซึ่งมีหลักสำคัญในการจัดการเรียนรู้แบบเน้นประสบการณ์ที่ให้ความสำคัญกับคุณลักษณะของผู้เรียนที่จะต้องพัฒนาเพื่อให้ผู้เรียนมีความตั้งใจที่จะติดตามการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง คิดไตร่ตรอง รู้จักเรียนรู้ด้วยตัวเองและได้ทดลองปฏิบัติใช้ภาษาทั้งในและนอกห้องเรียน สาระและกระบวนการที่เป็นองค์ความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันจริง ด้านความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษ เรื่องการทักทาย การแนะนำ ครอบครัว การโทรศัพท์ การบันทึกข้อความ การเดินทาง ฤดูกาลที่ผันเปลี่ยน การศึกษา อาหาร และเครื่องดื่ม กิจกรรมยามว่าง และงานและการสัมภาษณ์ ตามมารยาทสังคม วัฒนธรรม และประเพณีของเจ้าของภาษา และกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบด้วยกระบวนการเรียนรู้ตามวงจรการเรียนรู้ของคอล์บ (Kolb, 1984) ประยุกต์ใช้เป็น 7 ขั้นตอนได้แก่ ประสบการณ์ตามสภาพจริง การฝึกปฏิบัติ การสะท้อนคิด การสร้างองค์ความรู้ การประยุกต์ใช้ การวัดผลและประเมินผล และ การทบทวน โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ประเมินความเหมาะสมรูปแบบที่พัฒนาขึ้น พบว่า รูปแบบที่พัฒนา มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (\inline \bar{X}=4.49) และเมื่อนำไปทดลองใช้กับนักศึกษาที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างจำนวน 22 คน พบว่า มีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์คือ มีประสิทธิภาพ E1/E2 =76.51/75.23

3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้น พบว่า ความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษหลังการทดลองของนักศึกษากลุ่มทดลองที่ได้รับการสอนด้วยรูปแบบการสอนที่พัฒนาสูงกว่าความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษหลังการทดลองของนักศึกษากลุ่มควบคุมที่ได้รับการสอนด้วยรูปแบบการสอนปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01

4. นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการสอนภาษาอังกฤษโดยใช้การเรียนรู้แบบเน้นประสบการณ์สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงอยู่ในระดับมาก (\inline \bar{X}=4.36)

คำสำคัญ : ความสามารถในการสื่อสาร, การเรียนรู้แบบเน้นประสบการณ์, รูปแบบการสอนภาษาอังกฤษ

 

Abstract

This research was to develop an English language instructional model based on Experiential Learning for enhancing higher vocational diploma students’ communicative ability. The target group from Phichit technical college consisted of 57 students: 26 students as an experimental group and 31 students as a controlled group. The research procedure comprised 4 steps of research and development processes. The results of research were as follows:

1. The basic data study showed that the instructional model focused on English language ability for communication in real daily life situations of Greetings, Introducing, Telling about family, Telephoning, Taking a message, Traveling, Changing seasons, Education, Food and beverage, Leisure activities, Jobs and interview to native speakers’ society ,culture and custom; students’ concern with inspiration, reflection, self learning and active experimentation; and 7 steps of activities used in the lesson plan were: 1) Real experience 2) Practice 3) Reflection 4) Conceptualization 5) Application 6) Evaluation 7) Review.

2. The experts agreed to the quality of the developed model and supplementary materials which focused on English language ability for communication in real daily life situations of Greetings, Introducing, Telling about family, Telephoning, Taking a message, Traveling, Changing seasons, Education, Food and beverage, Leisure activities, Jobs and interview to native speakers’ society ,culture and custom; students’ characteristics of motivation, reflection, learning how to learn and active experimentation; and 7 steps of activities used in the lesson plan were: 1) Real experience 2) Practice 3) Reflection 4) Conceptualization 5) Application 6) Evaluation 7) Review in high level, and the efficiency from 22 pilot students was E1/E2 =76.51/75.23

3. An implementation showed that the average scores of the students’ communicative ability in the experimental group after learning through the developed model was significantly higher than students’ communicative ability in the controlled group at .01 level of significance.

4. The students had a high level of satisfaction towards the instructional model for enhancing higher vocational diploma students’ communicative ability.

Key words : Communicative ability, Experiential learning, English language instructional model

Article Details

How to Cite
บุญประเศรษฐผล พ., ปัทมดิลก ส., แก้วอุไร ว., & วัฒนาธร อ. (2013). การพัฒนารูปแบบการสอนภาษาอังกฤษโดยใช้การเรียนรู้แบบเน้นประสบการณ์ สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง. Journal of Education and Innovation, 12(3), 53–76. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/9297
Section
Research Articles