รูปแบบการเรียนรู้การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นโดยเครือข่ายการจัดการความรู้

Main Article Content

เพียงออ ฟุ้งเฟื่อง
อมรรัตน์ วัฒนาธร
เทียมจันทร์ พานิชย์ผลินไชย

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาและตรวจสอบรูปแบบการเรียนรู้การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นโดยเครือข่ายการจัดการความรู้ โดยมีกลุ่มผู้ให้ข้อมูลเป็นครูในเครือข่ายพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น “เรารักพระราชวังจันทร์” ซึ่งได้มาจากวิธีการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 14 คน ประกอบด้วย ครูแม่ข่าย จำนวน 2 คน และครูลูกข่าย จำนวน 12 คน ดำเนินการวิจัยโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ ตรวจสอบข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ด้วยวิธีการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้าด้านวิธีการรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการลดทอนขนาดและปริมาณข้อมูล ทำการเลือกข้อมูลเพื่อแสดงหลักฐาน สร้างและทดสอบยืนยันผลสรุป และทำการตรวจสอบรูปแบบโดยพิจารณาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวปฏิบัติ โดยใช้แบบสอบถามความคิดเห็นชนิดมาตราประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ มัธยฐาน และพิสัยระหว่างควอไทล์

ผลการศึกษา พบว่า รูปแบบการเรียนรู้การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นโดยเครือข่ายการจัดการความรู้ ประกอบด้วยกลวิธีการเรียนรู้และปัจจัยความสำเร็จ ในส่วนกลวิธีการเรียนรู้ แบ่งได้เป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 สร้างเครือข่าย ใช้กลวิธีสร้างวิสัยทัศน์ร่วม ซึ่งประกอบด้วย 2 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 สร้างความตระหนัก และขั้นที่ 2 สร้างความมั่นใจ ในระยะที่ 2 เรียนรู้การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น ใช้กลวิธีเสริมสร้างความรู้ร่วมกัน ซึ่งประกอบด้วย 9 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 จัดโอกาสการเรียนรู้อย่างเป็นทางการ ขั้นที่ 2 ศึกษาข้อมูลท้องถิ่น ขั้นที่ 3 สร้างโอกาสการเรียนรู้ ขั้นที่ 4 สร้างหลักสูตรท้องถิ่น ขั้นที่ 5 สร้างพื้นที่

แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ขั้นที่ 6 จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ ขั้นที่ 7 จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ขั้นที่ 8 นำหลักสูตรท้องถิ่นไปใช้ ขั้นที่ 9 เรียนรู้การประเมินหลักสูตรท้องถิ่น ส่วนปัจจัยความสำเร็จ ประกอบด้วย ปัจจัยเกื้อหนุนครูแม่ข่าย และปัจจัยเกื้อหนุนครูลูกข่าย ซึ่งปัจจัยเกื้อหนุนครูแม่ข่าย ประกอบด้วย 3 ปัจจัย ได้แก่ 1) การทำงานเป็นทีม 2) ภาวะผู้นำทางวิชาการ 3) ความเป็นบุคคลเรียนรู้ และปัจจัยเกื้อหนุนครูลูกข่าย ประกอบด้วย 3 ปัจจัย ได้แก่ 1) การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม 2) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 3) การสื่อสารติดตาม

ผลการตรวจสอบรูปแบบ พบว่า รูปแบบการเรียนรู้การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นโดยเครือข่ายการจัดการความรู้ มีแนวปฏิบัติที่มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด จำนวน 47 ข้อ และมีแนวปฏิบัติที่มีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด จำนวน 18 ข้อ

คำสำคัญ : รูปแบบการเรียนรู้, การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น, เครือข่าย, การจัดการความรู้

 

Abstract

The purposes of this study were to investigate and examine the model of learning on local curriculum development with knowledge management networking. The target group comprised 14 teachers from “Rao Rak Pra Rarch Cha Wang Chan” local curriculum development network; 2 Node manager teachers and 12 teacher practitioners were selected by purposive sampling technique. Qualitative research method has been used for the study. Data collection was based on participation observation and informal interview. Methodological triangulation was used for validity checking. Data reduction, data display and conclusion and verification were used in data analysis. Rating scale questionnaire was used to examine the model appropriation and feasibility. Statistics used for data analysis were Median and Inter-quartile Range.

Research findings were as follows:

The model of learning on local curriculum with knowledge management networking consisted of learning strategies and key success factors. Learning strategies was divided into 2 phases. The first phase; setting up the network with shared vision strategy consisting 2 steps: 1) Awareness raising and 2) Trust making. The second phase, local curriculum development learning with knowledge sharing strategy, consisting 9 steps: 1) Offering the opportunity for formal learning 2) Investigating community knowledge 3) Providing opportunity for learning 4) Constructing local curriculum 5) Creating cyber learning space for sharing knowledge 6) Developing lesson plans on local curriculum 7) Providing opportunity for knowledge sharing 8) Implementing local curriculum 9) Training for local curriculum evaluation. This model possessed 2 key success factors; the supporting factors of Node manager teachers and the supporting factors of teacher practitioners. The supporting factors of Node manager teachers of 3 sub-factors were: 1) Team working 2) Academic leadership 3) Learning person whereas The supporting factors of teacher practitioners of 3 sub-factors were: 1) Team learning 2) Knowledge sharing 3) Communication. The result of model examination revealed; 47 practice guides of model were accepted on the appropriation at the highest level and 18 practice guide were accepted on the feasibility at the highest level, were found in the study.

Key words : model of learning, local curriculum, networking, knowledge management

Article Details

How to Cite
ฟุ้งเฟื่อง เ., วัฒนาธร อ., & พานิชย์ผลินไชย เ. (2013). รูปแบบการเรียนรู้การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นโดยเครือข่ายการจัดการความรู้. Journal of Education and Innovation, 12(3), 113–132. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/9302
Section
Research Articles