@article{(Phramaha Suphachai Suphakitcho)_(Wirot Sanrattana)_(Sirikul Namsiri)_2018, title={การพัฒนาห้องเรียนดิจิตอลที่เหมาะสมสำหรับโรงเรียนพระปริยัติธรรมจันทวิทยาคม; THE DEVELOPMENT OF APPROPRIATE DIGITAL CLASSROOM AT CHANDAWITTYAKHOM GENERAL BUDDHIST SCRIPTURE SCHOOL: A PARTICIPATORY ACTION ...}, volume={20}, url={https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/58254}, abstractNote={<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการพัฒนาห้องเรียนดิจิตอลที่เหมาะสมสำหรับโรงเรียนปริยัติธรรมจันทวิทยาคม แผนกสามัญศึกษา กรณีการเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้ และองค์ความรู้ใหม่ที่เกิดจากกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยมีผู้ร่วมวิจัยหลักเป็นผู้มีส่วนได้เสียภายในโรงเรียน ชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสิ้น 22 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสังเกต แบบตรวจสอบหรือบันทึก แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบสัมภาษณ์กลุ่ม ผลการวิจัย พบว่า โรงเรียนพระปริยัติธรรมจันทวิทยาคมมีปัญหาขาดแคลนคอมพิวเตอร์และสื่ออุปกรณ์เทคโนโลยีที่ทันสมัยสำหรับการจัดการเรียนการสอน และครูขาดทักษะจัดการเรียนรู้โดยการใช้สื่อดิจิตอลเพื่อการเรียนรู้ที่หลากหลาย จึงไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานการประเมินจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) ได้จัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อแก้ปัญหา 2 โครงการ คือ 1) โครงการพัฒนาห้องเรียนดิจิตอล และ 2) โครงการอบรมครูใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ มีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลง คือ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจัดสร้างห้องเรียนดิจิตอล และครูมีทักษะจัดการเรียนรู้ตามแนวศตวรรษที่ 21 ปรับวิธีเรียนเปลี่ยนวิธีสอน และใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนการสอน นอกจากนั้น ผู้วิจัย ครู และผู้บริหารเกิดการเรียนรู้จากการปฏิบัติหลายประการ รวมทั้งเกิดความรู้ใหม่เกี่ยวกับการพัฒนาห้องเรียนดิจิตอลที่เหมาะสมสำหรับโรงเรียนพระปริยัติธรรมจันทวิทยาคม ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม 9 ประการ คือ 1) วิธีการเรียนรู้ จากการเรียนรู้ในแบบทางเดียว (Asynchronous learning) มาเป็นการทำงานเป็นทีมแบบออนไลน์ (Real-time collaboration) 2) ผู้เรียนสามารถดูวีดีโอการศึกษาผ่านระบบวีดีโอสตีมมิ่งได้ตลอดเวลาแล้วยังได้ทบทวนบทเรียนซ้ำๆ หลายๆรอบ ซึ่งเหมาะอย่างยิ่งสำหรับนักเรียนที่เรียนไม่ทันเพื่อน 3) ครูและนักเรียนสามารถสื่อสารผ่านห้องสนทนาออนไลน์ และการเรียกดูเอกสารมัลติมีเดีย บทเรียนออนไลน์ การใช้ระบบการถ่ายทอดเสียงและภาพผ่านทางเว็บซึ่งสามารถฟัง เสียงดูภาพและสนทนา (Chat) ได้พร้อมๆ กัน 4) นักเรียนสามารถเข้าถึงเอกสารและสื่อการสอนที่หลากหลาย ตลอดจนข้อมูลข่าวสารอื่นๆ จากทุกแหล่งต่างๆ ได้อย่างมากมาย โดยใช้อุปกรณ์สื่อเทคโนโลยีต่างๆ ภายในห้องเรียนดิจิตอลได้อย่างมีประสิทธิภาพ 5) รูปแบบการพัฒนาบุคลากรครูให้เกิดกระบวนการเรียนรู้จากประสบการณ์ผ่านการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ด้วยกระบวนการสร้างแรงบันดาลใจ และการเรียนรู้เทคโนโลยีต่างๆ ซึ่งครูสามารถ “สร้างสรรค์” และ “ชักนำนักเรียนให้มีส่วนร่วม” กับการเรียนรู้ และได้ใช้งานเท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ สื่อเทคโนโลยีต่างๆ ภายในห้องเรียนดิจิตอลได้เป็นอย่างดี 6) รูปแบบการส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ การมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีระหว่างครูกับนักเรียน นักเรียนมีความเพลิดเพลินกับการเรียนผ่านแอปพลิเคชั่นมากกว่าการเรียนแบบปกตินักเรียนแสดงออกถึงความสนใจที่เพิ่มมากขึ้น และเกิดแรงจูงใจในการมีส่วนร่วมกับบทเรียน นักเรียนมีความสนุกกับการใช้แท็บเล็ต และคอมพิวเตอร์สื่อเทคโนโลยีในการค้นคว้าทำงานร่วมกัน และการส่งการบ้าน 7) การจัดการห้องเรียนที่บูรณาการเทคโนโลยีและการออกแบบการเรียนการสอน การอำนวยความสะดวกในการจัดกิจกรรมการสอน การจัดการห้องเรียนโดยการสร้างการเรียนรู้สภาพแวดล้อมที่มีประสิทธิภาพมีความชัดเจน มีเป้าหมายและมีกิจกรรมมากมายที่ใช้เทคโนโลยี กับการเรียนการสอนอย่างบูรณาการโดยมีนวัตกรรม ICT ที่มีคุณสมบัติทางด้านเทคโนโลยีที่ใช้ระบบเครือข่ายสังคมออนไลน์ยุคใหม่ (Social Network) มาสนับสนุนการเรียนรู้และการบริหารจัดการสถานศึกษาทั้งด้านวิชาการ บุคคล งบประมาณและการบริหารงานทั่วไป 8) การพัฒนาคุณภาพการศึกษาเกี่ยวกับทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ด้วยสารสนเทศที่มีความพร้อมในการสร้างแหล่งเรียนรู้ด้วยระบบ E-Classroom, E-Learning, E-Library, E-office, E-Student และ E-Service ที่ส่งเสริมพัฒนาการเรียนการสอนและการบริหารจัดการด้วยเทคโนโลยี สารสนเทศ 9) การจัดการห้องเรียนดิจิตอล ห้องสมุดมีชีวิต ที่ส่งเสริมการเรียนการสอนที่ทันสมัย ด้วยสื่อสังคมสมัยใหม่ ซึ่งสามารถยกระดับสู่คุณภาพสถานศึกษายุคใหม่ที่มีประสิทธิภาพ และสร้างความเท่าเทียมกันทางการศึกษาอีกด้วย</p> <p><strong>THE DEVELOPMENT OF APPROPRIATE DIGITAL CLASSROOM AT CHANDAWITTYAKHOM GENERAL BUDDHIST SCRIPTURE SCHOOL: A PARTICIPATORY ACTION RESEARCH</strong></p> <p>This study was aimed at investigating a result of appropriate digital classroom development at Chandawittayakhom General Buddhist Scripture School, in a case of changing, learning and new knowledge body through participatory action research process. The main subjects were 22 monks/laymen, stakeholders at school, community and concerned agencies. Tools used were observable form, recording or checking form, in-depth interview form and group interview form. It was found that Chandawittayakhom General Buddhist Scripture School faced the problem of a scarcity of modern computerized technology for learning-teaching management. The teachers’ lack of learning management skills in applying digital media for various learning techniques. However, the school did not pass the criteria of educational assessment carried out by the Office of Educational Assessment and Assurance (Public Organization). The school made an operational plan for solving the problem in 2 projects: 1) Digital Classroom Development Project, and 2) Training Program on Application of Information Technology for Teachers Project. This resulted in a change that was the budget allotment was supported for setting up a digital classroom, and the teachers gained learning development skills as per a means of learning in the 21st century. Learning and teaching methods were adjusted and changed. And information technology for learning and teaching was applied. Furthermore, the researcher, teachers and school administrator created various learning approaches from a practice, including new knowledge about the ten efficient ways of digital classroom development, The development of appropriate digital classroom at Chandawittayakhom School: a participatory action research process on the following 9 approaches; 1) a method of learning from Asynchronous Learning to Real-time Collaboration Teamwork, 2) learners were able to study by watching educational video through a steaming video system at any time, they also could repeatedly review the lesson. This was appropriate for the learners who were behindhand with learning, 3) teacher and learners were able to communicate with through an online chat room and a call for documents on multimedia, an online lesson, an application of audio and visual transmitting system on Website that one could watch and chat at the time, 4) learners were able to approach a variety of documents and teaching media, including approaching to other information and data from various sources by using media technologies with full efficiency in a digital classroom, 5) a form of developing educational personnel led to creating learning process from a participatory action research through creating of inspirational process and various technological learning that the teacher could “create” and “induce learners to participate in” learning, and using a tablet computer and various technological media in digital classroom, 6) a form of promoting learning skills, a smooth relationship between teacher and learners, learners had more pleasure in learning through applying an application rather than normal learning guide, learners showed more interest and were stimulating to participate in the lesson, learners enjoyed using a tablet computer and computerized technology for a study and homework, 7) an arrangement for integrated classroom settings technology and a design of teaching - learning, a facilitation of teaching activities, an arrangement for classroom settings by creating clear and efficient learning, classroom environments, goal set, and various activities with the use of technology, with integrated teaching - learning, with ICT innovation, and with the property of technology using modern social network in support leaning and administration in educational institution in an area of academic, personnel, budgeting and general administrative aspects, 8) the development of quality of education in terms of the learning in the 21st century with a readiness of information technology set in creating learning sources of E-Classroom, E-Learning, E-Library, E-Student and E-Service. These would promote teaching -learning development and information technological administration, and 9) an arrangement for lively digital classroom and library that promoted modern teaching – learning on modern social media which could raise the quality of modern educational institution and create an equality of education.</p>}, number={2}, journal={Journal of Education and Innovation}, author={(Phramaha Suphachai Suphakitcho) พระมหาศุภชัย สุภกิจฺโจ and (Wirot Sanrattana) วิโรจน์ สารรัตนะ and (Sirikul Namsiri) ศิริกุล นามศิริ}, year={2018}, month={Jun.}, pages={112–125} }