@article{(Pundita Intharaksa)_(Chatchai Muangpatom)_(Julamas Jansrisukot)_(Ruetairat Chidmongkol)_2018, title={การพัฒนายุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้ที่ประยุกต์ใช้การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน และแนวคิดเมตาคอกนิชัน เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ การกำกับตนเองในการเรียน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; THE DEVELOPMENT...}, volume={20}, url={https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/77885}, abstractNote={<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลการใช้ยุทธศาสตร์การจัดการเรียนรู้ที่ประยุกต์ใช้การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานและแนวคิดเมตาคอกนิชันโดยมีวิธีดำเนินการวิจัย แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัญหา และแนวคิด ทฤษฎีเพื่อหาแนวทางในการพัฒนายุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้ โดยการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญและอาจารย์ผู้สอนในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ระยะที่ 2 พัฒนายุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้ที่ประยุกต์ใช้การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานและแนวคิดเมตาคอกนิชันโดยใช้กระบวนการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) และตรวจสอบความเหมาะสมของยุทธศาสตร์ ระยะที่ 3 ศึกษาผลการใช้ยุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้ที่ประยุกต์ใช้การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานและแนวคิดเมตาคอกนิชันโดยใช้แบบแผนการทดลองแบบ Randomized Control Group Pretest Posttest Design กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ เป็นนิสิตชั้นปีที่ 1 ภาคต้น ปีการศึกษา 2559 มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร จำนวน 50 คน กลุ่มทดลอง 25 คน เรียนด้วยยุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้ และกลุ่มควบคุม 25 คน เรียนตามระบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) แผนการจัดการการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ 3) แบบสอบถามวัดความสามารถในการกำกับตนเองในการเรียน และ 4) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิเคราะห์ข้อมูลจากคะแนนการทดสอบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ คะแนนวัดความสามารถในการกำกับตนเองในการเรียน และคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิต ด้วยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละ การทดสอบที ไม่อิสระ และการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมพหุคูณ (MANCOVA)<br> ผลการวิจัย พบว่า <br> 1. กระบวนการพัฒนายุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้ ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ คือ ชื่อยุทธศาสตร์ หลักการและเหตุผล แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง หลักการ จุดมุ่งหมาย การจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย 1) ด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้ ซึ่งมี 6 ขั้นตอน ได้แก่ กำหนดประเด็นปัญหา เชื่อมโยงเข้าสู่ปัญหา ระดมสมองเพื่อวางแผน รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลสรุปแนวทางแก้ปัญหา และประเมินผลการเรียนรู้ 2) ด้านการจัดสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน และการวัดและการประเมินผล ผลการประเมินความเหมาะสมจากผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ยุทธศาสตร์มีความเหมาะสมในระดับมาก ( = 4.26, S.D. = 0.67) <br> 2. ผลการใช้ยุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้ พบว่า<br> 2.1 นิสิตกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ ความสามารถในการกำกับตนเองในการเรียน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01<br> 2.2 นิสิตกลุ่มทดลอง มีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ ความสามารถในการกำกับตนเองในการเรียน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01</p> <p><strong>THE DEVELOPMENT OF LEARNING MANAGEMENT STRATEGY BASED ON THE APPLICATION OF PROBLEM-BASED LEARNING AND METACOGNITION APPROACHES TO ENHANCE ABILITY OF PROBLEM SOLVING WITH CRITICAL THINKING, SELF-REGULATING AND LEARNING ACHIEVEMENT OF UNDERGRADUATE STUDENTS KASETSART UNIVERSITY</strong></p> <p>The purposes of this research were to develop and study of the implementing of learning management strategy based on the application of problem- based learning and metacognition approaches to enhance ability of problem solving with critical thinking, self-regulating and learning achievement of undergraduate students Kasetsart University. The research was devided into 3 phases: Phase 1: studied the states of problem and strategy for developing strategy of learning management through interviewed; the professionals and teachers of Kasetsart University. Phase 2: developed learning management strategy based on the application of problem-based learning and metacognition approaches by using focus group discussion and evaluated the strategy. Phase 3: studied the results of using the learning management strategy, the sample group was 50 persons of Kasetsart University Chalermphrakiat Sakon Nakhon Province Campus students of first semester in the academic year 2016. Experiment group 25 persons learned by strategy based on the application of problem-based learning and metacognition approaches and control group 25 persons learned by course syllabus. The research instruments comprised 1) learning management plans, 2) problem solving with critical thinking ability test, 3) self-regulating ability questionnaires, and 4) learning achievement test, the data was analyzed by mean, standard deviation and percentage, dependent t-test and MANCOVA. The results of the research were as follows:<br> 1. The development of learning management strategy is problem-based learning and metacognition approaches comprised 7 components: name of strategy, rationale, theory, principles, objectives, learning procedures; 1) learning management process comprised 6 steps including problem definition, connect to problem, brainstorming for planning, data gathering and analysis, problem solving solution and learning assessment, and 2) environment arrangement inside and outside classroom and evaluation. The evaluation of the experts found that the strategy of learning management mean scores was = 4.26, S.D. = 0.67.<br> 2. The results of using learning management strategy showed as follows:<br> 2.1 Experiment group and control group have the posttest mean score of the problem solving with critical thinking ability, self-regulating ability and learning achievement higher than <br>the pretest.<br> 2.2 The mean score of problem solving with critical thinking, self-regulating ability and learning achievement of experiment group was higher than control group.</p>}, number={2}, journal={Journal of Education and Innovation}, author={(Pundita Intharaksa) ปัณฑิตา อินทรักษา and (Chatchai Muangpatom) ชาติชาย ม่วงปฐม and (Julamas Jansrisukot) จุฬามาศ จันทร์ศรีสุคต and (Ruetairat Chidmongkol) ฤทัยรัตน์ ชิดมงคล}, year={2018}, month={Jun.}, pages={89–102} }