วารสารมหาจุฬาคชสาร https://so06.tci-thaijo.org/index.php/gajasara <p>วารสารมหาจุฬาคชสาร รับตีพิมพ์และเผยแพร่ผลงานทางวิชาการในสาขาที่เกี่ยวกับด้านศิลปศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ การบริหาร การจัดการ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ และศาสนา ปรัชญา บทความที่ได้รับตีพิมพ์จะต้องได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการก่อนตีพิมพ์ และได้ผ่านการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) จำนวนไม่น้อยกว่า 3 ท่าน ที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง ในลักษณะปกปิดรายชื่อ (Doubleblind Peer Review) ลักษณะของบทความที่จะนำลงตีพิมพ์ ได้แก่ บทความวิจัย (Research Article) บทความวิชาการ (Academic Article) บทความปริทรรศน์หรือบทวิจารณ์วรรณกรรม (Review Article) บทวิจารณ์หนังสือ (Book Review)</p> <p><strong>ค่าธรรมเนียมและการชำระค่าตีพิมพ์เผยแพร่บทความ</strong></p> <p><strong> อัตราค่าตีพิมพ์</strong> ค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์เผยแพร่ <strong>จำนวน </strong><strong>3,500 บาท</strong>/บทความ </p> <p><strong> การชำระค่าธรรมเนียม</strong> การชำระค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์บทความ เจ้าของบทความจะสามารถชำระค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์บทความได้หลังจากได้รับการตอบกลับจากกองบรรณาธิการให้ชำระค่าธรรมเนียม ซึ่งทางกองบรรณาธิการจักได้แจ้งรายละเอียดช่องทางการชำระแก่เจ้าของบทความได้ทราบทางอีเมล์ของท่าน</p> มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์ th-TH วารสารมหาจุฬาคชสาร 2774-0714 พระธรรมฑูตกับการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศอินโดนีเซีย https://so06.tci-thaijo.org/index.php/gajasara/article/view/266745 <p>บทความวิชาการนี้มุ่งศึกษาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมฑูตในประเทศอินโดนีเซีย เป็นนโยบายภาครัฐบาล ภายใต้ความร่วมมือของฝ่ายสงฆ์ทั้งสองนิกาย ได้จัดส่งพระธรรมทูตไปเพื่อส่งเสริมการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศอินโดนีเซีย เพื่อให้ชาวอินโดนีเซีย สามารถเข้าใจหลักธรรม และนำไปปฏิบัติให้เกิดประโยชน์ได้จริง ในฐานะที่ผู้เขียนเป็นพระธรรมฑูตที่ปฎิบัติหน้าที่ในประเทศอินโดนีเซียอยู่ จึงมีความสนใจที่ต้องการศึกษาในเรื่องนี้ ดังนั้น บทความนี้ จึงมุ่งศึกษาหลักการและแนวคิดในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศอินโดนีเซียของพระธรรมฑูต 6 ด้านสำคัญ คือ 1) ด้านนโยบายการส่งเสริมการเผยแผ่พระพุทธศาสนา 2) ด้านการส่งเสริมการศึกษาของบุคลากร 3) ด้านการส่งเสริมพุทธศาสนิกชน 4) ด้านการจัดการบุคลากร 5) ด้านวิธีการเผยแผ่พระพุทธศาสนา และ 6) ด้านการนำหลักธรรมไปปฏิบัติของพระธรรมฑูต ทังนี้เพื่อธำรงดำรงรักษาพระพุทธศาสนาให้เจริญมั่นคงสืบต่อไปทั้งในปัจจุบันและอนาคต โดยใช้วิธีศึกษาจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง</p> พระมานพ โชติโก (หงษ์พันธ์) สมคิด เศษวงศ์ Copyright (c) 2024 วารสารมหาจุฬาคชสาร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-15 2024-06-15 15 1 1 10 การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/gajasara/article/view/270200 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาซึ่งเป็นหัวใจสำคัญ ในการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ โดยมีกระบวนการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา ดังนี้ 1) การกำหนดวิสัยทัศน์ หลักการ เป้าหมาย และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 2) การจัดโครงสร้างของหลักสูตรสถานศึกษา 3) การจัดสาระของหลักสูตร 4)การออกแบบการเรียนรู้ 5) การออกแบบกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 6) การกำหนดรูปแบบวิธีการและเกณฑ์การตัดสินการวัด และประเมินผลและเอกสารหลักฐานการศึกษา 7) พัฒนาระบบการส่งเสริมสนับสนุน 8) เรียบเรียงเป็นหลักสูตรสถานศึกษาทั้งนี้สถานศึกษาอาจกำหนดหัวข้อเพิ่มเติม หรือเปลี่ยนแปลงได้เหมาะสม เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามกระทรวงศึกษาธิการได้กำหนด</p> ธิดารัตน์ ถาบุตร Copyright (c) 2024 วารสารมหาจุฬาคชสาร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-15 2024-06-15 15 1 11 22 ศึกษาวิเคราะห์สาเหตุการสังคายนา ครั้งที่ 1 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/gajasara/article/view/265263 <p> บทความนี้ต้องการหาคำตอบว่าสาเหตุของการสังคายนา ครั้งที่ 1 มาจากปัจจัยอะไร ผู้เขียนเลือกวิเคราะห์ 2 ประเด็น กล่าวคือ ปัจจัยภายนอก และปัจจัยภายใน ผลการศึกษาทำให้ทราบว่าปัจจัยภายนอกที่เป็นสาเหตุ ให้มีการสังคายนาเกิดจากเหตุการณ์การดับขันธ์ของนิครนถ์นาฏบุตร แล้วสาวกทะเลาะวิวาทกันจนแตกความสามัคคี พระจุนทเถระ เกรงว่าจะเกิดกับศาสนาของพระพุทธเจ้า จึงเข้าเฝ้ากราบทูลรายงาน เพราะเหตุการณ์ดังกล่าว พระพุทธองค์ จึงทรงวางหลักการสังคายนา พร้อมแนะนำวิธีการรวบรวมหัวข้อธรรมที่เห็นสมควร ต่อมาภายหลังพระสารีบุตรเถระได้กราบทูลขอพุทธานุญาตทำการสังคายนา กล่าวคือรวบรวม และจัดหลักธรรมเป็นหมวดหมู่ ส่วนปัจจัยภายในที่เป็นสาเหตุให้เกิดการสังคายนา คือพระสุภัททะ กล่าวจาบจ้วงพระพุทธเจ้าต่อหน้าคณะสงฆ์ ซึ่งขณะนั้นพระพุทธองค์ทรงปรินิพานไม่นาน เป็นเหตุให้พระมหากัสสปเถระชักชวนพระสงฆ์อรหันต์ทำการสังคายนา ณ เมืองราชคฤห์ แต่หากวิเคราะห์เชิงลึกจะเห็นว่าระยะเวลาระหว่างการดับขันธ์ของนิครนถ์นาฏบุตรกับการจาบจ้วงพระพุทธเจ้าของพระสุภัททะเกิดขึ้นไม่ห่างกันมากนัก เชื่อได้ว่าเพราะปัจจัยทั้งสองอย่างดังกล่าวมาบรรจบกัน จึงเป็นเหตุให้พระมหากัสสปเถระและคณะสงฆ์รีบทำการสังคายนาพระธรรมวินัย ก่อนที่พระสงฆ์สาวกจะทะเลาะวิวาทเหมือนสาวกของนิครนถ์นาฎบุตร</p> พระมหาพจน์ สุวโจ พระมหาถนอม อานนฺโท ชยาภรณ์ สุขประเสริฐ Copyright (c) 2024 วารสารมหาจุฬาคชสาร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-15 2024-06-15 15 1 23 32 จิตวิทยาพุทธศาสนา ผู้แต่ง วารีญา ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม https://so06.tci-thaijo.org/index.php/gajasara/article/view/266746 วิไลรัตน์ พฤกษาภิรมย์ สมคิด เศษวงศ์ Copyright (c) 2024 วารสารมหาจุฬาคชสาร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-15 2024-06-15 15 1 33 39 เพื่อความเข้าใจปัญหาเรื่องอัตตา-อนัตตา ผู้แต่ง สมภาร พรมทา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/gajasara/article/view/266748 พระมานพ โชติโก หงษ์พันธ์ สมคิด เศษวงศ์ Copyright (c) 2024 วารสารมหาจุฬาคชสาร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-15 2024-06-15 15 1 40 46 สภาพ ปัญหา และแนวทางพัฒนาการบริหารงานพัสดุโรงเรียน ในเขตพื้นที่อำเภอเมืองยโสธร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/gajasara/article/view/269634 <p><strong>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหา และแนวทางพัฒนาการบริหารงานพัสดุโรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้างานพัสดุโรงเรียน และครูผู้สอน รวมจำนวน 239 คน มีผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 231 คน คิดเป็นร้อยละ 96.65 ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้างานพัสดุโรงเรียน และครูผู้สอน รวมจำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามสภาพและปัญหาการบริหารงานพัสดุโรงเรียน มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .45-.78 และ .48-.78 และค่าความเชื่อมั่น .97 และ .96 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา</strong></p> <p><strong> ผลการวิจัยพบว่า</strong></p> <p><strong> 1) สภาพการบริหารงานพัสดุโรงเรียน โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก ส่วนปัญหาการบริหารงานพัสดุโรงเรียน โดยรวมและรายด้าน มีปัญหาอยู่ในระดับน้อย 2) แนวทางพัฒนาการบริหารงานพัสดุโรงเรียน ที่สำคัญ มีดังนี้ 1) โรงเรียนควรจัดทำคู่มือแบบฟอร์มการเก็บ การบันทึก การเบิกจ่าย และเอกสารที่เกี่ยวข้องให้โรงเรียนปฏิบัติงานเป็นแนวทางเดียวกัน เพื่อผู้ปฏิบัติงานได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎ ระเบียบ 2) ผู้ปฏิบัติหน้าที่งานพัสดุควรลงบัญชีหรือทะเบียนเพื่อควบคุมพัสดุโดยให้มีหลักฐานการรับเข้าบัญชีให้ถูกต้องตามระเบียบอย่างเคร่งครัด เมื่อมีการยืมพัสดุ ให้ผู้ยืมทำหลักฐานยืมเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้สะดวกต่อการติดตาม 3) คณะกรรมการตรวจสอบพัสดุประจำปีควรปฏิบัติหน้าที่อย่างเคร่งครัด ถูกต้อง รัดกุม และโปร่งใส และ 4) ผู้บริหารควรส่งเสริมด้านคุณธรรมจริยธรรมและเน้นย้ำให้ผู้ที่มีหน้าที่มีความซื่อสัตย์ สุจริต มีระเบียบ กฎเกณฑ์ที่เหมาะสมและรัดกุม เพื่อป้องกันข้อครหาต่าง ๆ เนื่องจากการจำหน่ายพัสดุเป็นกระบวนการที่จะก่อให้เกิดความเสียหายและข้อบกพร่องได้ง่าย </strong></p> โรจนพงศ์ นิลแก้ว เจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม กนกกาญจน์ ศรีสุรินทร์ Copyright (c) 2024 วารสารมหาจุฬาคชสาร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-15 2024-06-15 15 1 47 61 การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การเขียนแบบไฟฟ้าบ้านชั้นเดียว ด้วยคอมพิวเตอร์ โดยการจัดการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซันร่วมกับแบบฝึกทักษะสำหรับนักเรียนชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปีที่ 1 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/gajasara/article/view/270432 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซันร่วมกับแบบฝึกทักษะ เรื่อง การเขียนแบบไฟฟ้าบ้านชั้นเดียวด้วยคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การเขียนแบบไฟฟ้าบ้านชั้นเดียวด้วยคอมพิวเตอร์ โดยการจัดการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซันร่วมกับแบบฝึกทักษะ สำหรับนักเรียนชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงปีที่ 1 ก่อนเรียนและหลังเรียน 3) ศึกษาพัฒนาการทักษะ เรื่อง การเขียนแบบไฟฟ้าบ้านชั้นเดียวด้วยคอมพิวเตอร์ โดยการจัดการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซันร่วมกับแบบฝึกทักษะ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงปีที่ 1 แผนกวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง วิทยาลัยการอาชีพแม่น้ำแคว ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 21 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซันร่วมกับแบบฝึกทักษะ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบวัดทักษะปฏิบัติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test Dependent) ผลการวิจัย พบว่า 1. แผนการจัดการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซันร่วมกับแบบฝึกทักษะประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 85.52/83.81 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2. นักเรียนที่เรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซันร่วมกับแบบฝึกทักษะ มีคะแนนผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซันร่วมกับแบบฝึกทักษะ มีพัฒนาการทักษะปฏิบัติสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 32.54 คิดเป็นร้อยละ 81.37</p> <p> </p> กัญญารัตน์ เพชรรักษ์ สุนันท์ สีพาย ชวนพิศ รักษาพวก Copyright (c) 2024 วารสารมหาจุฬาคชสาร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-15 2024-06-15 15 1 62 74 การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติตามแนวคิดของเดวีส์ ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะปฏิบัติ เรื่อง ฟ้อนชมเมืองชัยภูมิ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/gajasara/article/view/270529 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติตามแนวคิดของเดวีส์ ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และทักษะปฏิบัติ เรื่อง ฟ้อนชมเมืองชัยภูมิ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติตามแนวคิดของเดวีส์ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เปรียบเทียบทักษะปฏิบัติของนักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติตามแนวคิดของเดวีส์ เรื่อง ฟ้อนชมเมืองชัยภูมิ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 70 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้น เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติตามแนวคิดของเดวีส์ เรื่อง ฟ้อนชมเมืองชัยภูมิ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดทักษะปฏิบัติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติ t-test </p> <p> ผลการวิจัย พบว่า</p> <ol> <li>ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติตามแนวคิดของเดวีส์ สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 87.21/85.73 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80</li> <li>นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนรู้โดยการจัดการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติตามแนวคิดของเดวีส์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</li> <li>นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนรู้โดยการจัดการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติตามแนวคิดของเดวีส์ มีทักษะปฏิบัติหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</li> </ol> สถิตย์พร จงมีเสร็จ สุนันท์ สีพาย Copyright (c) 2024 วารสารมหาจุฬาคชสาร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-15 2024-06-15 15 1 75 87 การพัฒนาการบริหารงานบุคคลตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา ในเขตพื้นที่อำเภอป่าติ้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษายโสธร เขต 2 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/gajasara/article/view/271096 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารงานบุคคลตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา และ 2) ศึกษาการพัฒนาการบริหารงานบุคคลตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้าฝ่ายบริหารงานบุคคล และครู จำนวน 122 คน มีผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 116 ฉบับ คิดเป็น 95.08 % เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า</p> <ol> <li>การบริหารงานบุคคลตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวม อยู่ในระดับมาก</li> <li>การพัฒนาการบริหารงานบุคคลตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา มีดังนี้ 1) การออกจากราชการตามหลักนิติธรรม ผู้บริหารควรประชุม ชี้แจงกฎระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ ให้กับบุคลากรที่จะการออกจากราชการ เมื่อมีการออกกฎ ระเบียบ ข้อบังคับใหม่ 2) วินัยและการรักษาวินัยตามหลักคุณธรรม ผู้บริหารควรใช้อำนาจลงโทษทางวินัยภายในขอบเขตที่กฎหมายกำหนดอย่างถูกต้องเหมาะสม และ 3) การออกจากราชการตามหลักคุณธรรม กรณีที่มีข้อผิดพลาดใดในการกระทำของบุคลากร ผู้บริหารควรจัดตั้งคณะกรรมการพิจารณาอย่างชัดเจน และต้องเปิดเผยกระบวนการตัดสินความผิดนั้น ๆ ได้</li> </ol> กิรณา คนยืน เมธาวี โชติชัยพงศ์ Copyright (c) 2024 วารสารมหาจุฬาคชสาร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-15 2024-06-15 15 1 88 103 การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ตำบลโคกคราม อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/gajasara/article/view/271229 <p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ รายได้ต่อเดือน อาชีพสถานภาพ ระดับการศึกษา และระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในพื้นที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เกี่ยวกับการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงสนับสนุนทางสังคมกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันโรคไข้เลือดออก กลุ่มตัวอย่างคือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในตำบลโคกคราม อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี อายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป จำนวน 311 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความถี่และการวิเคราะห์ไคสแควร์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า</p> <ol> <li>การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก ตำบลโคกคราม อำเภอ บางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี อยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 50.8</li> <li>ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p - value &lt;0.05) ได้แก่ อายุ อาชีพ รายได้ต่อเดือน และแรงสนับสนุนทางสังคม</li> </ol> <p> 3. ผลการศึกษาครั้งนี้ เสนอแนะให้หน่วยงานในพื้นที่เร่งดำเนินการนโยบายในการเผยแพร่ ความรู้ให้แก่ประชาชนในพื้นที่อย่างทั่วถึง และส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออกเพื่อประชาชนเกิดการเรียนรู้อย่างเหมาะสม เช่น การจัดให้ความรู้โดยประประชาคมในชุมชนเพื่อรับทราบการป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออกที่ถูกต้อง</p> ปัญญา ใจวิวัฒน์พงศ์ วิราสิริร์ วสีวีรสิว์ Copyright (c) 2024 วารสารมหาจุฬาคชสาร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-15 2024-06-15 15 1 104 116 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเข้ารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรี อายุ 30-60 ปี ตำบลกฤษณา อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/gajasara/article/view/271171 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการเข้ารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรี อายุ 30-60 ปี 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล กับการเข้ารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรี อายุ 30-60 ปี 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูก กับการเข้ารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรี อายุ 30-60 ปี 4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ทัศนคติต่อการรับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก กับการเข้ารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรี อายุ 30-60 ปี การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ไคสแควร์ กลุ่มตัวอย่างคือ ประชากรเพศหญิง อายุ 30-60 ปี จำนวน 227 คน ที่อาศัยอยู่ในตำบลกฤษณา อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี ได้จากการสุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ผลการวิจัยพบว่า</p> <p> 1) สตรีส่วนใหญ่ไม่เข้ารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก (ร้อยละ 60.4)</p> <p> 2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเข้ารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรี ได้แก่ อายุ สถานภาพ สมรส รายได้เฉลี่ยของครอบครัว การมีบุตร การคุมกำเนิด การได้รับข่าวสาร การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูก ทัศนคติต่อการรับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก</p> สุนิสา สุขชูศรี วิราสิริริ์ วสีวีรสิว์ Copyright (c) 2024 วารสารมหาจุฬาคชสาร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-15 2024-06-15 15 1 117 137 A Survey of Strategies of English Vocabulary Learning: A Case Study https://so06.tci-thaijo.org/index.php/gajasara/article/view/271222 <p>Learning vocabulary is one of the best ways to master a target language. While language learners employ a variety of strategies, this article focuses on how Thai university students develop their English vocabulary skills. We investigated their vocabulary learning strategies through a voluntary survey conducted in October 2023. Of the 59 participants, 26 students willingly shared their approaches to learning English vocabulary in response to the prompt "How do you learn English vocabulary?" This research provided a deeper understanding of the diverse methods employed by Thai students, encompassing both traditional and modern approaches. Recommendations for future studies and classroom teaching are also provided.</p> Sakolkarn Insai Siriluck Wechsumangkalo Janpha Thadphoothon Copyright (c) 2024 วารสารมหาจุฬาคชสาร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-15 2024-06-15 15 1 138 147 การมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีต่อการวางแผนพัฒนาชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลแกใหญ่ อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/gajasara/article/view/271260 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีต่อการวางแผนพัฒนาชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลแกใหญ่ อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ 2) เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีต่อการวางแผนพัฒนาชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลแกใหญ่ อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีต่อการวางแผนพัฒนาชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลแกใหญ่ อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ เป็นการวิจัยเชิงผสมผสาน โดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.884 กับประชากรกลุ่มตัวอย่าง จํานวน 367 คน โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสําคัญ จํานวน 13 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยวิธีการพรรณนา</p> <p> <strong>ผลการวิจัยพบว่า </strong> </p> <ol> <li>ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีต่อการวางแผนพัฒนาชุมชนขององค์การบริหารส่วน ตำบลแกใหญ่ อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ โดยรวม อยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน</li> <li>การเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีต่อการวางแผนพัฒนาชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลแกใหญ่ อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ พบว่า อายุต่างกัน และรายได้ต่อเดือนต่างกัน มีส่วนร่วมต่อการวางแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลแกใหญ่ <strong>ไม่แตกต่างกัน</strong> และเพศต่างกัน และระดับการศึกษาต่างกัน <strong>แตกต่างกัน</strong> อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงทำการเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธี LSD</li> </ol> <p> 3. การศึกษาแนวทางพัฒนาการมีส่วนร่วมชองประชาชนที่มีต่อการวางแผนพัฒนาชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลแกใหญ่ อำเภอเมืองสุรินทร์ ดังนี้ (1) ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ผู้นำชุมชนควรสร้างความรู้ ความเข้าใจให้เห็นถึงความสำคัญในการจัดทำยุทธศาสตร์ และแผนปฏิบัติการประจำปีให้กับชุมชน คณะกรรมการหมู่บ้าน หรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง (2) ด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินการ ควรเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมกลุ่ม เพื่อค้นหาของดีในแต่ละชุมชนซึ่งนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ เป็นแหล่งเรียนรู้ แหล่งท่องเที่ยว และเป็นการสร้างรายได้ สร้างอาชีพของชุมชนอย่างยั่งยืน (3) ด้านการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ ควรส่งเสริมจัดตั้งกลุ่มอาชีพ การจัดทำผลิตภัณฑ์ จากภูมิปัญญาของชุมชน ซึ่งสามารถสร้างชื่อเสียงเกียรติยศให้แก่ครอบครัวและชุมชนได้อย่างยั่งยืน และ (4) ด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล ควรแต่งตั้งคณะกรรมการที่มาจากภาคประชาชนให้เข้ามามีบทบาทหน้าที่เป็นตัวแทนในประเมินผลติดตาม ตรวจสอบผลการดำเนินงานให้ชัดเจน</p> บูรณ์พิภพ นิ่มปรางค์ พระครูปริยัติปัญญาโสภณ พระปลัดสุระ ญาณธโร Copyright (c) 2024 วารสารมหาจุฬาคชสาร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-15 2024-06-15 15 1 148 165 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดการตนเองในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในอำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร https://so06.tci-thaijo.org/index.php/gajasara/article/view/271296 <p>การจัดการตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงเป็นปัญหาสุขภาพที่มีความสำคัญ และผู้ป่วยจำเป็นต้องมีการจัดการตนเองที่ถูกต้อง และเหมาะสมกับสภาพร่างกายของตนเอง จึงจะสามารถลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นต่อร่างกายได้ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการจัดการตนเองในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในอำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง อายุ 35 ปี ขึ้นไป จำนวน 389 คน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ไคสแควร์ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>1. การจัดการตนเองในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง อยู่ในระดับ ปานกลาง (ร้อยละ 53.0)</li> <li>2. การรับรู้ความสามารถตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ความรอบรู้ด้านสุขภาพ และแรงสนับสนุนทางสังคม มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการจัดการตนเองในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในอำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร (p-value &lt; 0.05) </li> <li>ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดการตนเองในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ได้แก่ ความรอบรู้ด้านสุขภาพ รายได้ครอบครัว แรงสนับสนุนทางสังคม เพศ การรับรู้ความสามารถตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง และอายุ (p-value &lt; 0.01)</li> </ol> ศตพร ศิลปะการสกุล วิราสิริริ์ วสีวีรสิว์ Copyright (c) 2024 วารสารมหาจุฬาคชสาร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-15 2024-06-15 15 1 166 183 การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก ตำบลบ้านใต้ อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/gajasara/article/view/271405 <p>บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกัน และควบคุม โรคไข้เลือดออก 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก ตำบลบ้านใต้ อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี เนื่องจากความร่วมมือ และการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นเรื่องสำคัญ โดยการมีส่วนร่วมของประชาชนจะเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่เสริมให้ประสบผลสำเร็จยิ่งขึ้น โดยประชาชนถือเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาสังคมหรือชุมชนให้เป็นไปอย่างยั่งยืน (Sustainable Community Development) การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ตำบลบ้านใต้ อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 302 คน ซึ่งได้จาการสุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ไควสแควร์และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า</p> <p> 1) การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก อยู่ในระดับมาก ร้อยละ 79.8 รองลงมาคือระดับปานกลาง ร้อยละ 10.6 และระดับน้อย ร้อยละ 9.6</p> <p> 2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกัน และควบคุม โรคไข้เลือดออกในตำบลบ้านใต้ อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-Value&lt;0.05) ได้แก่ ระดับการศึกษา แรงจูงใจในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก การรับรู้โอกาสเสี่ยงความรุนแรง ของโรคไข้เลือดออก</p> นันท์ปภัทร์ ศรีทองทา วิราสิริริ์ วสีวีรสิว์ Copyright (c) 2024 วารสารมหาจุฬาคชสาร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-15 2024-06-15 15 1 184 197 สมรรถนะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร https://so06.tci-thaijo.org/index.php/gajasara/article/view/271541 <p>บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา 2) เปรียบเทียบสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามขนาดสถานศึกษา และ 3) ศึกษาข้อเสนอแนะการพัฒนาสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตาราง Krejcie and Morgan (1970) ใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น โดยใช้ขนาดของสถานศึกษาเป็นชั้นในการสุ่ม ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 330 คน จำแนกเป็น ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 8 คน และครูผู้สอน จำนวน 322 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า</p> <ol> <li>สมรรถนะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการสนับสนุนความเสมอภาคและการเป็นพลเมืองโดยใช้เทคโนโลยี รองลงมา คือ ด้านการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อความเป็นมืออาชีพ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการออกแบบเชิงระบบด้านเทคโนโลยี</li> <li>เปรียบเทียบสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามขนาดสถานศึกษา โดยรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน</li> <li>ข้อเสนอแนะการพัฒนาสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา มีดังนี้ ผู้บริหารควรสนับสนุนให้ครู และนักเรียนเข้าถึงเทคโนโลยีอย่างทั่วถึง มีการวางแผนกลยุทธ์ และกำหนดวิสัยทัศน์เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยี ผู้บริหารควรเป็นผู้นำด้านนวัตกรรม ผู้บริหารควรส่งเสริม สนับสนุน วางแผนการใช้ทรัพยากรอย่างเป็นระบบและสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ร่วมกันในองค์กร</li> </ol> ธันยพร สะสมผลสวัสดิ์ เจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม สมหมาย สร้อยนาคพงษ์ Copyright (c) 2024 วารสารมหาจุฬาคชสาร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-15 2024-06-15 15 1 198 211 การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันการแพร่ระบาดโรคไข้หวัดใหญ่ ในเขตพื้นที่ชายแดน ตำบลบ้านเก่า อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/gajasara/article/view/271553 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันการแพร่ระบาด โรคไข้หวัดใหญ่ในเขตพื้นที่ชายแดน 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันการแพร่ระบาดโรคไข้หวัดใหญ่ในเขตพื้นที่ชายแดน ตำบลบ้านเก่า อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี เนื่องจากการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นเรื่องสำคัญ โดยการมีส่วนร่วมของประชาชนจะเป็นอีกแนวทางหนึ่ง ที่เสริมให้ประสบผลสำเร็จ และการได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมจะช่วยให้การป้องกันการแพร่ระบาดโรคไข้หวัดใหญ่ในเขตพื้นที่ชายแดนมีความยั้งยืน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามด้วยตนเอง โดยเก็บข้อมูลวันที่ 11 พฤศจิกายน 2566 ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2566 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ไควสแควร์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า</p> <p> 1) การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันการแพร่ระบาดโรคไข้หวัดใหญ่ อยู่ในระดับมาก ร้อยละ 36.6 รองลงมาคือระดับปานกลาง ร้อยละ 35.7 และระดับน้อย ร้อยละ 27.7</p> <p> 2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันการแพร่ระบาดโรคไข้หวัดใหญ่ในเขตพื้นที่ชายแดนตำบลบ้านเก่า อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-Value &lt; 0.05) ได้แก่ อายุ รายได้ต่อเดือน ระดับการศึกษา ประวัติการได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ของสมาชิกในครอบครัว ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ แรงสนับสนุนทางสังคมในการป้องกันการแพร่ระบาดโรคไข้หวัดใหญ่</p> วิวัฒน์ ศรีทองทา วิราสิริริ์ วสีวีรสิว์ Copyright (c) 2024 วารสารมหาจุฬาคชสาร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-15 2024-06-15 15 1 212 225 ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร https://so06.tci-thaijo.org/index.php/gajasara/article/view/271716 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร 2) เปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร จำแนกตามขนาดสถานศึกษา และ 3) ศึกษาข้อเสนอแนะในการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร ปีการศึกษา 2566 จำนวน 329 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครซี่และมอร์แกน กำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ โดยจำแนกตามขนาดสถานศึกษา และวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 36 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า</p> <ol> <li>ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ศรีสะเกษ ยโสธร 6 ด้าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก</li> <li>ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร จำแนกตามขนาดสถานศึกษา โดยภาพรวม และรายด้าน ไม่แตกต่างกัน</li> <li>ข้อเสนอแนะภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาควรพัฒนาองค์ประกอบด้านการบริหารความเสี่ยง ตระหนักและให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์องค์กรร่วมกับบุคลากร มีการกำกับ ติดตามอย่างมีระบบ</li> </ol> อาริยา แสงนิล เจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม บุลภรณ์ เทวอนสิริกุล Copyright (c) 2024 วารสารมหาจุฬาคชสาร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-15 2024-06-15 15 1 226 240 การจัดการเรียนรู้ตามหลักสัปปุริสธรรมวิชาพระพุทธศาสนาระดับมัธยมศึกษา ชั้นปีที่ 1 โรงเรียนสุวรรณภูมิวิทยาลัย ตำบลสระคู อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด https://so06.tci-thaijo.org/index.php/gajasara/article/view/270688 <p>การศึกษาวิจัยเรื่องงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประเด็น คือ (1) เพื่อศึกษาการจัดการเรียนรู้ตามหลัก สัปปุริสธรรม วิชาพระพุทธศาสนา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสุวรรณภูมิ วิทยาลัย ตำบลสระคู อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด และ (2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียน และหลังเรียนการจัดการเรียนรู้ตามหลัก สัปปุริสธรรม วิชาพระพุทธศาสนา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสุวรรณภูมิวิทยาลัย โดยใช้กลุ่มตัวอย่างจากนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/4 โรงเรียนสุวรรณภูมิวิทยาลัย จำนวน 28 คน ใช้คู่มือในการจัดการเรียนรู้ แผนการสอน และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียน นำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อคำนวณหาค่าทางสถิติต่าง ๆ ได้แก่ ค่าเฉลี่ยค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>การศึกษาการจัดการเรียนรู้ตามหลักสัปปุริสธรรม วิชาพระพุทธศาสนา ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1/4 โรงเรียนสุวรรณภูมิวิทยาลัย อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด พบว่า ผู้เรียนมีความเข้าใจตามหลักสัปปุริสริสธรรม มากขึ้น และสามารถคิดวิเคราะห์แยกแยะ ตามการจัดการเรียนรู้ หลักสัปปุริสธรรม ได้เป็นอย่างดี และจากการศึกษาการจัดการเรียนรู้ตามหลักสัปปุริสธรรม สังเกตุพบอีกว่า นักเรียนส่วนใหญ่มีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดี</li> </ol> <p> 2. ผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียน การจัดการเรียนรู้ตามหลักสัปปุริสธรรม วิชา พระพุทธศาสนา เรื่อง วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาและศาสนพิธี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/4 โรงเรียนสุวรรณภูมิวิทยาลัย อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 28 คน มีคะแนนก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ย = 13.14 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) = 1.96 คะแนนหลังเรียนมีค่าเฉลี่ย = 26.82 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) = 1.59 เมื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่า หลังเรียนมีคะแนนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้</p> พระมหานำเกียรติ วิสุทโธ พระครูวิริยปัญญาภิวัฒน์ พระครูศรีสุนทรสรกิจ Copyright (c) 2024 วารสารมหาจุฬาคชสาร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-15 2024-06-15 15 1 241 250 การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านคอโค ตำบลคอโค อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป https://so06.tci-thaijo.org/index.php/gajasara/article/view/271490 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูปเรื่องหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านคอโค ตำบลคอโค อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป เรื่องหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านคอโค ตำบลคอโค อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อบทเรียนสำเร็จรูป เรื่องหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านคอโค ตำบลคอโค อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 28 คน โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) บทเรียนสำเร็จรูปเรื่องหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาประสิทธิภาพ E<sub>1</sub>/E<sub>2</sub> และทดสอบสมมติฐานของการวิจัยโดยใช้ค่า t-test แบบ Dependent ผลการวิจัยพบว่า 1. ประสิทธิภาพของบทเรียนสำเร็จรูปเรื่องหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านคอโค ตำบลคอโค อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ มีประสิทธิภาพ 84.01/87.38 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้คือ 80/80 </p> <p>2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูปเรื่องหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านคอโค ตำบลคอโค อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 </p> <p>3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนสำเร็จรูปเรื่องหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านคอโค ตำบลคอโค อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ โดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด</p> ศิริภา หลอมประโคน พระครูวิริยปัญญาภิวัฒน์ พระครูสาธุกิจโกศล Copyright (c) 2024 วารสารมหาจุฬาคชสาร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-15 2024-06-15 15 1 251 262 การพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ โดยใช้วิธีการสอนแบบอริยสัจ 4 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/gajasara/article/view/271708 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ โดยใช้วิธีการสอนแบบหลักอริยสัจ 4 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) เพื่อศึกษาผลการพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ โดยใช้วิธีการสอนตามหลักอริยสัจ 4 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดบ้านสะแกซำ ตำบลสะแกซำ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 12 คน โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบวัดทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ค่าเฉลี่ย 2) การหาความเที่ยงตรง 3) การหาความเชื่อมั่น 4) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>การจัดกระบวนการเรียนรู้ การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ตามแบบอริยสัจ 4 ทำให้ผู้เรียนมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ดังนี้ 1) กระตุ้นจิตให้รับรู้ปัญหา (ทุกข์) นักเรียนส่วนใหญ่สามารถบอกถึงปัญหาที่แท้จริงจากโจทย์ และผลกระทบของปัญหา 2) ค้นหาสาเหตุ (สมุทัย) นักเรียนสามารถตามหาสาเหตุของปัญหา โดยการลงไปสำรวจข้อมูลจริง 3) กำหนดเป้าหมาย (นิโรธ) นักเรียนสามารถช่วยกันระดมการกำหนดเป้าหมายได้ตรงตามสาเหตุของปัญหา 4) สร้างสรรค์นวัตกรรม (มรรค) นักเรียนสามารถร่วมกันระดมความคิดออกแบบไอเดียอย่างหลากหลาย 5) ลงมือปฏิบัติ (มรรค) นักเรียนสามารถกันทำตามแผนตามวันเวลาที่กำหนดไว้ 6) สะท้อนผลการเรียนรู้ (มรรค) ผู้เรียนสามารถสะท้อนการเรียนรู้ตามโจทย์ที่กำหนดไว้ได้และบอกถึงปัญหาอุปสรรคที่พบ 2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบการพัฒนาทักษะ การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ โดยใช้วิธีการสอนแบบอริยสัจ 4 มีคะแนน ทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ เฉลี่ยเท่ากับ 29.58 คิดเป็นร้อยละ 73.96 และมีนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ จํานวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 83.33 ของจํานวนนักเรียนทั้งหมด ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กําหนดไว้</li> </ol> พระเอกชัย มหาปุญฺโญ พระครูวิริยปัญญาภิวัฒน์ พระครูสาธุกิจโกศล Copyright (c) 2024 วารสารมหาจุฬาคชสาร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-15 2024-06-15 15 1 263 274 การได้รับสวัสดิการทางสังคมที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของคนพิการในเขตองค์การบริหาร ส่วนตำบลหัวสำโรง อำเภอแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/gajasara/article/view/272758 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การได้รับสวัสดิการสังคมของคนพิการในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหัวสำโรง อำเภอแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา 2) คุณภาพชีวิตของคนพิการในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหัวสำโรง อำเภอแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา 3) เปรียบเทียบคุณลักษณะส่วนบุคคลกับการได้รับสวัสดิการของคนพิการในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหัวสำโรง อำเภอแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา และ 4) การได้รับสวัสดิการทางสังคมที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของคนพิการในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหัวสำโรง อำเภอแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ คนพิการในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหัวสำโรง อำเภอแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา ทั้งหมดที่ได้รับการจดทะเบียนคนพิการกับสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 117 คน เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.983 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า</p> <ol> <li>การได้รับสวัสดิการทางสังคมของคนพิการในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหัวสำโรง อำเภอแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านบริการทางสังคมทั่วไป ด้านสุขภาพอนามัย อยู่ในระดับมากที่สุด และด้านที่อยู่อาศัย ด้านการทำงานและการมีรายได้ อยู่ในระดับมาก ตามลำดับ</li> <li>คุณภาพชีวิตของคนพิการในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหัวสำโรง อำเภอแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยรวมมีคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับดี เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านร่างกาย ด้านจิตใจ อยู่ในระดับดี และด้านสังคม อยู่ในระดับปานกลาง ตามลำดับ</li> <li>การเปรียบเทียบคุณลักษณะส่วนบุคคลกับการได้รับสวัสดิการของคนพิการในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหัวสำโรง อำเภอแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา พบว่า เพศ ประเภทของความพิการ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือนของผู้ตอบแบบสอบถาม และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนของครอบครัวที่แตกต่างกันมีการได้รับสวัสดิการทางสังคมของคนพิการไม่แตกต่างกัน ส่วนอายุและสถานภาพการสมรสที่แตกต่างกันมีการได้รับสวัสดิการทางสังคมของคนพิการแตกต่างกัน</li> </ol> <p>4. การได้รับสวัสดิการทางสังคมที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของคนพิการในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหัวสำโรง อำเภอแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นไปในทิศทางเชิงบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ การได้รับสวัสดิการทางสังคมด้านการทำงานและการมีรายได้</p> พรรณธิดา แขสว่าง ปกรณ์ ปรียากร อรพิน ปิยะสกุลเกียรติ Copyright (c) 2024 วารสารมหาจุฬาคชสาร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-15 2024-06-15 15 1 275 291 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลบางพลีใหญ่ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/gajasara/article/view/272756 <p>การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1. เพื่อศึกษาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลบางพลีใหญ่ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ 2. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของบุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบลบางพลีใหญ่ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ 3. เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานขององค์การบริหารส่วนตำบลบางพลีใหญ่ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ 4. เพื่อศึกษาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลบางพลีใหญ่ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ บุคลากรภายในองค์การบริหารส่วนตำบลบางพลี จำนวน 180 คน เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.88 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ สถิติ t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว เมื่อพบความแตกต่างจึงเปรียบเทียบรายคู่ตามวิธีการฟิชเชอร์ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า</p> <p>1) ปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศและตำแหน่งที่แตกต่างกันมีประสิทธิภาพการปฏิบัติงานแตกต่างกัน ส่วนอายุ ระดับการศึกษา และระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ที่แตกต่างกันมีประสิทธิภาพการปฏิบัติงานไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> <p>2) การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบลบางพลีใหญ่ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ พบว่า มีความสัมพันธ์เป็นไปในทิศทางเชิงบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ ปัจจัยด้านผู้รับข้อมูล รองลงมา คือ ปัจจัยด้านสื่อสังคมออนไลน์ และปัจจัยด้านข้อมูลข่าวสาร ตามลำดับ</p> ปวริศ หงษ์เงิน อรพิน ปิยะสกุลเกียรติ รังสรรค์ ประเสริฐศรี Copyright (c) 2024 วารสารมหาจุฬาคชสาร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-15 2024-06-15 15 1 292 306 การพัฒนาสมรรถนะนักกีฬาเปตองสมาคมเปตองแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/gajasara/article/view/272754 <p>วัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับการพัฒนาสมรรถนะนักกีฬาเปตอง และศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการพัฒนาสมรรถนะของนักกีฬาเปตองสมาคมเปตองแห่งประเทศไทยฯ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา ได้แก่ นักกีฬาเปตองสมาคมเปตองแห่งประเทศไทยฯ ประเภททั่วไปชาย และประเภททั่วไปหญิงจำนวน 263 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ ค่าt-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว เมื่อพบความแตกต่าง เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธีการของ LSD ผลการศึกษาพบว่า:</p> <ol> <li>ปัจจัยส่วนบุคคลของนักกีฬาเปตองสมาคมเปตองแห่งประเทศไทยฯ ประเภททั่วไปชาย และประเภททั่วไปหญิง ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุ 20-30 ปี การศึกษาปริญญาตรี รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 15,000-20,000 บาท และ มีระยะเวลาในเล่นกีฬามากกว่า 6 ปี</li> <li>การพัฒนาสมรรถนะนักกีฬาของนักกีฬาเปตองสมาคมเปตองแห่งประเทศไทยฯ โดยรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้านได้แก่ ด้านจิตวิทยาการกีฬา รองลงมาได้แก่ ด้านโภชนาการทางการกีฬา (ด้านสร้างสมรรถภาพทางกาย (ด้านเทคโนโลยีทางการกีฬา และ ด้านเวชศาสตร์การกีฬา</li> <li> การวิเคราะห์เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลด้าน เพศ อายุ ระดับการศึกษาที่แตกต่างกัน การพัฒนาสมรรถนะไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ส่วน .05 ด้านรายได้เฉลี่ยต่อเดือน และ ระยะเวลาในการเล่นกีฬาที่แตกต่างกันมีการพัฒนาสมรรถนะแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</li> </ol> <p> 4. ปัญหาและอุปสรรคของการพัฒนาสมรรถนะของนักกีฬาเปตองสมาคมเปตองแห่งประเทศไทยฯ พบว่า ห้องฟิตเนต ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์การกีฬานักจิตวิทยาในการให้คำแนะนำยังไม่เพียงพอ ปัญหาเกี่ยวกับงบประมาณในการจัดการด้านโภชนาการที่เหมาะสม และอุปกรณ์ที่ทันสมัยเพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักกีฬา</p> อภิญญา นวลวิจิตร อรพิน ปิยะสกุลเกียรติ ปกรณ์ ปรียากร Copyright (c) 2024 วารสารมหาจุฬาคชสาร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-15 2024-06-15 15 1 307 322 การยอมรับเทคโนโลยีเพื่อการปรับตัวเข้าสู่องค์กรดิจิทัลของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลหนองปรือ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/gajasara/article/view/272757 <p>การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการปรับตัว และการเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับการปรับตัวสู่องค์กรดิจิทัล รวมไปถึการงศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการปรับตัวเข้าสู่องค์กรดิจิทัลขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองปรือ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลหนองปรือ จำนวน 174 คน เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ สถิติ t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <p>1) ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 31 - 40 ปี สถานภาพสมรส ระดับการศึกษาปริญญาตรี และตำแหน่งพนักงานจ้าง</p> <p>2) การยอมรับเทคโนโลยีเพื่อการปรับตัวเข้าสู่องค์กรดิจิทัลของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลหนองปรือ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ โดยรวมค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเรียงลำดับรายด้านจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการรับรู้ถึงประโยชน์ของการใช้เทคโนโลยี ด้านการยอมรับการใช้ระบบเทคโนโลยี ด้านพฤติกรรมการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัล ด้านการรับรู้ความยากง่ายในการใช้ และด้านทัศนคติต่อการใช้งาน ตามลำดับ</p> <p> 3) การปรับตัวสู่องค์กรดิจิทัลของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลหนองปรือ จังหวัดสมุทรปราการ โดยรวมและรายด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด</p> <p> 4) ผลการเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับการปรับตัวเข้าสู่องค์กรดิจิทัลของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลหนองปรือ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ พบว่า เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษาและตำแหน่งที่แตกต่างมีการปรับตัวสู่องค์กรดิจิทัลไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> <p>5) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปรับตัวเข้าสู่องค์กรดิจิทัลขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองปรือ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ พบว่า เป็นไปในทิศทางเชิงบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ ปัจจัยด้านทัศนคติของผู้ใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัล รองลงมา คือ ด้านการยอมรับการใช้ระบบเทคโนโลยีดิจิทัล ด้านการรับรู้ในด้านความง่ายของการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัล ด้านรับรู้ถึงประโยชน์การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และด้านพฤติกรรมการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัล ตามลำดับ</p> เมธาสิทธิ์ จันทรเสวต รังสรรค์ ประเสริฐศรี อรพิน ปิยะสกุลเกียรติ Copyright (c) 2024 วารสารมหาจุฬาคชสาร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-15 2024-06-15 15 1 323 338