วารสารมหาจุฬาคชสาร https://so06.tci-thaijo.org/index.php/gajasara <p>วารสารมหาจุฬาคชสาร รับตีพิมพ์และเผยแพร่ผลงานทางวิชาการในสาขาที่เกี่ยวกับด้านศิลปศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ การบริหาร การจัดการ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ และศาสนา ปรัชญา บทความที่ได้รับตีพิมพ์จะต้องได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการก่อนตีพิมพ์ และได้ผ่านการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) จำนวนไม่น้อยกว่า 3 ท่าน ที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง ในลักษณะปกปิดรายชื่อ (Doubleblind Peer Review) ลักษณะของบทความที่จะนำลงตีพิมพ์ ได้แก่ บทความวิจัย (Research Article) บทความวิชาการ (Academic Article) บทความปริทรรศน์หรือบทวิจารณ์วรรณกรรม (Review Article) บทวิจารณ์หนังสือ (Book Review)</p> <p><strong>ค่าธรรมเนียมและการชำระค่าตีพิมพ์เผยแพร่บทความ</strong></p> <p><strong> อัตราค่าตีพิมพ์</strong> ค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์เผยแพร่ <strong>จำนวน </strong><strong>3,500 บาท</strong>/บทความ </p> <p><strong> การชำระค่าธรรมเนียม</strong> การชำระค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์บทความ เจ้าของบทความจะสามารถชำระค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์บทความได้หลังจากได้รับการตอบกลับจากกองบรรณาธิการให้ชำระค่าธรรมเนียม ซึ่งทางกองบรรณาธิการจักได้แจ้งรายละเอียดช่องทางการชำระแก่เจ้าของบทความได้ทราบทางอีเมล์ของท่าน</p> th-TH mcu.gajasa@gmail.com (พระมหาวิศิต ธีรวํโส, รศ.ดร.) mcu.gajasa@gmail.com (กองบรรณาธิการ) Sat, 11 Jan 2025 00:04:58 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การประยุกต์ใช้หลักการกุญแจเก้าดอกของสถาบันพลังจิตธรรมะจักรวาล (PDJ Institute)กับหลักธรรมสังคหวัตถุ 4 เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านสาธารณสุข https://so06.tci-thaijo.org/index.php/gajasara/article/view/278214 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอการประยุกต์ใช้หลักการกุญแจเก้าดอกของสถาบันพลังจิตธรรมะจักรวาล ร่วมกับหลักธรรม "สังคหวัตถุ 4" เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านสาธารณสุข เป็นแนวทางที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและยกระดับคุณภาพในการทำงานของบุคลากรสาธารณสุขได้อย่างเป็นระบบและครอบคลุมการพัฒนาทั้งด้านร่างกาย จิตใจ ปัญญาและการทำงานร่วมกับผู้อื่น โดยมุ่งเน้นการสร้างบุคลากรที่มีความอดทน มุ่งมั่นและสามารถปรับตัวต่อความท้าทายต่างๆได้ ประกอบด้วย 9 ด้านดังนี้ 1. ด้านการให้บริการที่ต่อเนื่องและมีคุณภาพ 2.ด้านการพัฒนาความรู้และการใช้เทคโนโลยีให้มีประสิทธิภาพ 3. ด้านการปรับตัวและเรียนรู้จากประสบการณ์จริง 4. ด้านการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ 5.ด้านการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ 6. ด้านการพัฒนาความสัมพันธ์และบรรยากาศที่ดีในองค์กร 7. ด้านความเป็นผู้นำ 8.การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล 9. ด้านการสร้างจิตสำนึกมีจริยธรรมในวิชาชีพ</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong><strong>:</strong> หลักการกุญแจเก้าดอก, สังคหวัตถุ 4</p> ฐิวรา โรจนสกุลเกตุ Copyright (c) 2025 วารสารมหาจุฬาคชสาร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/gajasara/article/view/278214 Sat, 11 Jan 2025 00:00:00 +0700 แนวทางการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลด้านการมีส่วนร่วมของผู้บริหาร โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/gajasara/article/view/275501 <p> บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลด้านการมีส่วนร่วมของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาส 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของครูโรงเรียนขยายโอกาส จำแนกตามเพศ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ทำงาน และขนาดโรงเรียน และ 3) ศึกษาแนวทางการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลด้านการมีส่วนร่วมของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ ครู จำนวน 196 คน และ ผู้ให้ข้อมูลการสัมภาษณ์ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามที่มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ .67- 1.00 ค่าความเที่ยงเท่ากับ .97 และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test independent) การวิเคราะห์ ค่าความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) ทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วย LSD และการวิเคราะห์เนื้อหา </p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลด้านการมีส่วนร่วมของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงจากค่าเฉลี่ยสูงสุดไปต่ำสุด คือ ด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผลการปฏิบัติงาน ด้านการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงาน และด้านการมีส่วนร่วมตัดสินใจในการปฏิบัติงาน 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูจำแนกตามเพศ ในภาพรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน ส่วนระดับการศึกษา และประสบการณ์ทำงานที่ต่างกันในภาพรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ .01และ .05 ในขณะที่ครูที่มีขนาดโรงเรียนต่างกันในภาพรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นด้านการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงาน</p> <p> 3) แนวทางการมีส่วนร่วม คือ การเปิดโอกาสให้ครู กรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง ได้มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น ร่วมตัดสินใจ ร่วมดำเนินการ และร่วมประเมินผลปฎิบัติงานในกิจกรรมต่างๆ</p> วิรัช เทียนทองดี Copyright (c) 2025 วารสารมหาจุฬาคชสาร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/gajasara/article/view/275501 Sat, 11 Jan 2025 00:00:00 +0700 ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ร่วมกับแนวคิด DAPIC ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง หลักการนับเบื้องต้น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/gajasara/article/view/274871 <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ร่วมกับแนวคิด DAPIC กับเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนสายธรรมจันทร์ จำนวน 35 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม ซึ่งเครื่องมือในการวิจัยในครั้งนี้ประกอบไปด้วย 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ร่วมกับแนวคิด DAPIC เรื่อง หลักการนับเบื้องต้น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 6 แผน 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง หลักการนับเบื้องต้น 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง หลักการนับเบื้องต้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบทีแบบกลุ่มตัวอย่างเดียว ซึ่งผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้</p> <ol> <li>ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หลังได้รับ</li> </ol> <p>การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ร่วมกับแนวคิด DAPIC สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> <ol start="2"> <li>ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หลังได้รับการจัดกิจกรรม</li> </ol> <p>การเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ร่วมกับแนวคิด DAPIC สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> พีระพล โสพิศวัฒนวงศ์, ผลาดร สุวรรณโพธิ์, อาพันธ์ชนิต เจนจิต Copyright (c) 2025 วารสารมหาจุฬาคชสาร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/gajasara/article/view/274871 Sat, 11 Jan 2025 00:00:00 +0700 การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการบริหารจัดการการแพร่ระบาด ของไวรัสโคโรน่า 2019 ของหน่วยงานภาครัฐในตำบลทับใหญ่ อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/gajasara/article/view/268838 <p> บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการบริหารจัดการการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า 2019 ของหน่วยงานภาครัฐในตำบลทับใหญ่ อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ 2) เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการบริหารจัดการการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า 2019 ของหน่วยงานภาครัฐในตำบลทับใหญ่ อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ 3) เพื่อเสนอแนะโดยประยุกต์ตามหลักสังคหวัตถุ 4 กับการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการบริหารจัดการการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า 2019 ของหน่วยงานภาครัฐในตำบลทับใหญ่ อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ เป็นการวิจัยเชิงผสมผสาน โดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.80 กับประชากรกลุ่มตัวอย่าง 376 คน โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) และการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 11 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยวิธีการพรรณนา</p> <p> <strong>ผลการวิจัยพบว่า</strong></p> <ol> <li>1. ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการบริหารจัดการการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า 2019 ของหน่วยงานภาครัฐในตำบลทับใหญ่ อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 17, S.D. = 0.99)</li> <li>2. การเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการบริหารจัดการการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า 2019 ของหน่วยงานภาครัฐในตำบลทับใหญ่ อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ พบว่า จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล จำแนกตามเพศ อายุ อาชีพ ไม่แตกต่างกัน ระดับการศึกษา พบว่า แตกต่างกัน ซึ่งยอมรับสมมติฐานการวิจัย</li> <li>3. ข้อเสนอแนะ พบว่า ด้านการตัดสินใจ ควรจัดให้มีการประชาคมให้ประชาชน ประชาชนควรมีส่วนร่วมในการช่วยประชาสัมพันธ์ ด้านการวางแผน ควรมีการสร้างกลไกหรือช่องทางให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนป้องกัน ด้านการดำเนินงาน หน่วยงานภาครัฐสิ่งควรชี้แจงในที่เป็นประโยชน์กับประชาชน ด้านการรับผลประโยชน์ ควรให้ความรู้และแนวทางในการดำเนินชีวิตในช่วงของการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า ด้านการประเมินผล ควรมีการติดตามผู้ที่มาจากถิ่นฐานอื่น ไม่ว่าจะเป็นต่างประเทศหรือต่างจังหวัด ควรตรวจคัดกรองให้ดี</li> </ol> พระอภิรมย์ ปิยวโร, พระครูปริยัติปัญญาโสภณ, วรภูริ มูลสิน Copyright (c) 2024 วารสารมหาจุฬาคชสาร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/gajasara/article/view/268838 Sat, 11 Jan 2025 00:00:00 +0700 ผลการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/gajasara/article/view/275640 <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการเปรียบเทียบคะแนนก่อนและหลังเรียน 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการเปรียบเทียบคะแนนหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 70 3) เพื่อศึกษาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการเปรียบเทียบคะแนนก่อนและหลังเรียน 4) เพื่อศึกษาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการเปรียบเทียบคะแนนหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 70 5) เพื่อศึกษาเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังเรียน โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-Expermental research design) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนอ่างศิลาพิทยาคม จำนวน 1 ห้องเรียน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก 2) แบบทดสอบวัทผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และ 4) แบบวัดเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบทีแบบสองกลุ่มไม่เป็นอิสระจากกัน และการทดสอบทีแบบกลุ่มเดียว</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;"> 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ หลังได้รับการสอนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้</span>เชิงรุก หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> <p> 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ หลังได้รับการสอนโดยใช้ใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> <p> 3) ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังได้รับการสอนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> <p> 4) ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน หลังได้รับการสอนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> <p> 5) เจตคติต่อวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนเรียนอยู่ในเกณฑ์ระดับปานกลาง หลังได้รับการสอนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกอยู่ในเกณฑ์ระดับดี</p> ธนิฏฐา ลอยประโคน, นพมณี เชื้อวัชรินทร์, สมศิริ สิงห์ลพ Copyright (c) 2025 วารสารมหาจุฬาคชสาร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/gajasara/article/view/275640 Sat, 11 Jan 2025 00:00:00 +0700 การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าตูม อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/gajasara/article/view/268828 <p> บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าตูม อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ 2) เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าตูม อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าตูม อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ </p> <p>การศึกษาวิจัยครั้งนี้ ดำเนินการวิจัยแบบผสานวิธี เป็นการสำรวจด้วยแบบสอบถามซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากัน 0.817 กับกลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนในพื้นที่เขตการปกครองขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าตูม จำนวน 392 คน สถิติที่ใช้คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที และด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 รูป/คน นำเสนอเป็นความเรียงเพื่อสนับสนุนข้อมูลเชิงปริมาณ</p> <p> </p> <p><strong> ผลการวิจัยพบว่า </strong></p> <ol> <li>1. ระดับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าตูม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 66 S.D. = 0.69) ส่วนระดับความคิดเห็นต่อหลักอิทธิบาท 4 ที่นำมาประยุกต์ใช้เพื่อเสริมสร้างการพัฒนาชุมชน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก</li> <li>2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าตูม พบว่า ประชากรที่มีเพศ การศึกษา ต่างกัน มีความคิดเห็นไม่ต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วน อายุ อาชีพ รายได้ ต่างกัน มีความคิดเห็นแตกต่างกัน ดังนั้น จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</li> <li>3. แนวทางการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าตูม พบว่า องค์การบริหารส่วนตำบลท่าตูมได้เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าร่วมประชุมเพื่อเสนอปัญหาความต้องการของชุมชมเพื่อการพัฒนาชุมชน มีการนำหลักอิทธิบาท 4 มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาชุมชน ที่ทำให้ประสบความสำเร็จเป็นบันไดแห่งความสำเร็จ มีความมุ่งมั่นให้บริการแก่ประชาชน มีการพัฒนาชุมชนสู่ตำบลที่ยั่งยืน</li> </ol> หรรษนันท์ ขันโอฬาร, พระปลัดสุระ ญาณธโร, พระครูปริยัติปัญญาโสภณ, โชติวัฒน์ ไชยวรรณ Copyright (c) 2025 วารสารมหาจุฬาคชสาร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/gajasara/article/view/268828 Sat, 11 Jan 2025 00:00:00 +0700 ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้วัฏจักรสืบเสาะหาความรู้ (7E) ร่วมกับ เทคนิคการอ่านแบบ SQ4R เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถในการอ่านวิชาชีววิทยา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/gajasara/article/view/275585 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยาและความสามารถในการอ่านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง ระบบนิเวศและประชากร ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้วัฏจักรสืบเสาะหาความรู้ (7E) ร่วมกับเทคนิคการอ่านแบบ SQ4R ก่อนเรียนและหลังเรียน และหลังเรียนเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70 โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 <br />แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ โรงเรียนศรีราชา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 1 ห้องเรียน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม รวมทั้งสิ้น 43 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วัฏจักรสืบเสาะหาความรู้ (7E) ร่วมกับเทคนิคการอ่านแบบ SQ4R แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยา และแบบทดสอบความสามารถในการอ่าน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบทีแบบสองกลุ่มที่ไม่เป็นอิสระจากกัน และการทดสอบทีแบบกลุ่มเดียว <br /> ผลการวิจัยพบว่า</p> <p> 1) คะแนนวิชาชีววิทยาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง ระบบนิเวศและประชากร ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้วัฏจักรสืบเสาะหาความรู้ (7E) ร่วมกับเทคนิคการอ่านแบบ SQ4R หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> <p> 2) ความสามารถในการอ่านวิชาชีววิทยาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้วัฏจักรสืบเสาะหาความรู้ (7E) ร่วมกับเทคนิคการอ่านแบบ SQ4R หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> หัทยา หนูดาษt, เชษฐ์ ศิริสวัสดิ์, สมศิริ สิงห์ลพ Copyright (c) 2025 วารสารมหาจุฬาคชสาร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/gajasara/article/view/275585 Sat, 11 Jan 2025 00:00:00 +0700 ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ของสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนศรีรัตนะ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษเขต 4 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/gajasara/article/view/272887 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาและศึกษาแนวทางการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูผู้สอนกลุ่มโรงเรียนศรีรัตนะ สังกัดสำนักงานเขตที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 162 คนและผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ศึกษานิเทศก์ จํานวน 2 คน ตัวแทนผู้อํานวยการโรงเรียนขนาดเล็ก จํานวน 1 คน ตัวแทนผู้อํานวยการโรงเรียนขนาดกลาง จํานวน 1 คน ตัวแทนครูโรงเรียนขนาดเล็ก จํานวน 1 คน ตัวแทนครูโรงเรียนขนาดกลาง จํานวน 1 คน ตัวแทนครูโรงเรียนขนาดใหญ่ จำนวน 1 คนรวมผู้ให้ข้อมูล จํานวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า 1) ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาในกลุ่มโรงเรียนศรีรัตนะ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) แนวทางการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาในกลุ่มโรงเรียนศรีรัตนะ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4 ประกอบด้วย (1) ควรรับรู้ความรู้สึกและอารมณ์ของตนเองในการกำหนดมาตราฐานการศึกษา (2) ควรควบคุมสติของตนเองตามสถานการณ์ต่างๆได้อย่างเหมาะสม (3) ควรกระตือรือร้นในการทำงาน (4) ควรให้ความสนใจกับสภาวะอารมณ์ของผู้อื่นในการกำหนดมาตรฐานการศึกษาอยู่เสมอ (5) ควรติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นในการจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาได้อย่างดี</p> วิภาภรณ์ นิลเพชร, เจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม, ลลิธร กิจจาธิการกุล Copyright (c) 2025 วารสารมหาจุฬาคชสาร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/gajasara/article/view/272887 Sat, 11 Jan 2025 00:00:00 +0700 การมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของประชาชนเขตพื้นที่องค์การบริหาร ส่วนตำบลกันทรารมย์ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/gajasara/article/view/274920 <p> การวิจัยครั้งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของประชาชนเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกันทรารมย์ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ 2) การเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของประชาชนเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกันทรารมย์ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ และ 3) แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของประชาชนเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกันทรารมย์ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ มีประชากรจำนวน 7,555 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 380 คน จากการคำนวณตามสูตรของทาโร่ยามาเน่ ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) เครื่องมือวิจัยคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test และค่า One - Way ANOVA และ LSD โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 12 คน เครื่องมือวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า</p> <p> 1) ระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของประชาชนเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกันทรารมย์ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (𝑥̅=2.86, S.D.=0.07) เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองระดับท้องถิ่น (𝑥̅=3.15, S.D.=0.21) มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ การมีส่วนร่วมในการต่อสู้ทางการเมือง (𝑥̅=2.94, S.D.=0.37) การมีส่วนร่วมตรวจสอบติดตามการทำงาน (𝑥̅ =2.87, S.D.=0.36) และการมีส่วนร่วมสนใจทางการเมือง (𝑥̅=2.56, S.D.=0.23) ตามลำดับ</p> <p> 2) การเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของประชาชนเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกันทรารมย์ จำแนกตามปัจจัยข้อมูลส่วนบุคคล พบว่า เพศ อายุ อาชีพ ระดับการศึกษา รายได้ ที่แตกต่างกันมีส่วนร่วมทางการเมืองไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และจำแนกตามปัจจัยแวดล้อม พบว่า บทบาทผู้นำทางการเมือง และบทบาทกลุ่มผลประโยชน์และพรรคการเมือง ที่แตกต่างกัน มีส่วนร่วมทางการเมืองไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 </p> <p><strong> </strong>3) แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของประชาชนเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกันทรารมย์ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ ควรส่งเสริมการศึกษาและความรู้ทางการเมืองในสังคมจัดกิจกรรมและโครงการที่กระตุ้นความสนใจทางการเมือง ใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นกลาง สนับสนุนการเข้าร่วมเลือกตั้งและการลงคะแนนเสียง จัดตั้งองค์กรหรือกลุ่มที่ทำงานด้านการตรวจสอบและความโปร่งใส ให้การอบรมและการศึกษาเกี่ยวกับการตรวจสอบและการรายงานการทุจริต ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลและหน่วยงานรัฐ</p> ฐานพงศ์ มากนวล, สิริพัฒถ์ ลาภจิตร, จิรายุ ทรัพย์สิน Copyright (c) 2025 วารสารมหาจุฬาคชสาร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/gajasara/article/view/274920 Sat, 11 Jan 2025 00:00:00 +0700 ผลของการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ และความสามารถในการแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/gajasara/article/view/275400 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา ก่อนเรียนและหลังเรียน 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา หลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 70 3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา ก่อนเรียนและหลังเรียน และ 4) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา หลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 70 โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนดาราสมุทร ศรีราชา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 1 ห้องเรียน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม จำนวน 40 คนเครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา 2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ และ 3) แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบทีแบบสองกลุ่มไม่เป็นอิสระจากกัน และการทดสอบทีแบบกลุ่มเดียว</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> กรณ์ กูรมะสุวรรณ, ธนาวุฒิ ลาตวงษ์, กิตติมา พันธ์พฤกษา Copyright (c) 2025 วารสารมหาจุฬาคชสาร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/gajasara/article/view/275400 Sat, 11 Jan 2025 00:00:00 +0700 การพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของครู สหวิทยาเขตเดชนาอุดม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/gajasara/article/view/271095 <p> บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา เพื่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของครู สหวิทยาเขตเดช นาอุดม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ ปีการศึกษา 2566 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 165 คน และผู้ให้ข้อมูลสัมภาษณ์ คือ ผู้บริหารสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา จำนวน 14 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .95 และแบบสัมภาษณ์ ชนิดกึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความต้องการจำเป็น และการวิเคราะห์เนื้อหา </p> <p> ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>สภาพปัจจุบันภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา เพื่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของครู สหวิทยาเขตเดชนาอุดม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ ปีการศึกษา 2566 โดยรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา เพื่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของครู โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ การสร้างแรงบันดาลใจเพื่อการบริหารจัดการชั้นเรียน</li> <li>แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา เพื่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของครู สหวิทยาเขตเดชนาอุดม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ ปีการศึกษา 2566 ที่สำคัญสูงสุด 3 อันดับแรก ดังนี้ 1) ผู้บริหารควรจัดประชุมชี้แจงร่วมกับครูเพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจในการสร้างและพัฒนาหลักสูตร ให้ความสำคัญเกี่ยวกับเทคนิคการสอน และการจัดทำแผนการเรียนรู้ เพื่อกระตุ้นให้ทุกคนเกิดแรงผลักดันในการทำงาน 2) ผู้บริหารควรแสดงออกทางอารมณ์และความคิดอย่างสร้างสรรค์ เพื่อให้เกิดความนับถือ และ 3) ผู้บริหารควรเป็นแบบอย่างที่ดีในการสร้างทัศนคติเชิงบวกที่ถูกต้อง ส่งเสริมให้ครูเป็นแบบอย่างให้แก่นักเรียน และประเมินพฤติกรรมของครูอย่างต่อเนื่อง</li> </ol> ภัทราภา แสงงาม, เมธาวี โชติชัยพงศ์ Copyright (c) 2025 วารสารมหาจุฬาคชสาร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/gajasara/article/view/271095 Thu, 20 Feb 2025 00:00:00 +0700 การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ ของนักเรียนโรงเรียนนิคมสร้างตนเอง ในจังหวัดอุบลราชธานี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/gajasara/article/view/274523 <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนนิคมสร้างตนเอง ในจังหวัดอุบลราชธานี และ 2) เพื่อนำเสนอการพัฒนาการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนนิคมสร้างตนเอง ในจังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ปกครองนักเรียน โรงเรียนนิคมสร้างตนเอง ในจังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 300 คน ซึ่งมีผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 279 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 93.00 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณ 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .95 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนนิคมสร้างตนเอง ในจังหวัดอุบลราชธานี โดยรวมและรายด้าน มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก การพัฒนาการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนนิคมสร้างตนเอง ในจังหวัดอุบลราชธานี มีประเด็นการพัฒนาที่สำคัญที่เป็นความถี่สูงสุด 3 อันดับแรก ดังนี้ 1) การอบรมเลี้ยงดูในฐานะผู้ปกครอง ผู้ปกครองควรจัดเตรียมห้อง หรือส่วนหนึ่งของห้องไว้ให้เป็นสัดส่วน รวมทั้งหาเครื่องเล่น และสื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ไว้ให้ลูก 2) การเรียนรู้ที่บ้าน ผู้ปกครองควรส่งเสริมการเรียนรู้ของลูกตามความต้องการ และตามศักยภาพของลูก เช่น เล่านิทานให้เด็กฟัง ดูโทรทัศน์ร่วมกัน เล่นกีฬา ออกกำลังกาย เป็นต้น และ 3) การติดต่อสื่อสาร โรงเรียนควรแจ้งข่าวสารเพื่อขอความร่วมมือให้ผู้ปกกครองเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ของโรงเรียน เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้นักเรียน</p> จิรัฐิกานต์ ช่วงชัยชนะ, เมธาวี โชติชัยพงศ์ Copyright (c) 2025 วารสารมหาจุฬาคชสาร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/gajasara/article/view/274523 Thu, 20 Feb 2025 00:00:00 +0700 บุญข้าวประดับดินชาวไทยลาวบ้านแข้ จังหวัดศรีสะเกษ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/gajasara/article/view/267671 <p> การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ความรู้ ความเชื่อและคุณค่าในประเพณีบุญข้าวประดับดิน ตลอดจนศึกษาแนวทางบูรณาการจัดการความรู้เพื่อประกอบการศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บข้อมูลกับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ จำนวน 12 ราย ประกอบด้วย กลุ่มผู้รู้ในชุมชนที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับประเพณีบุญข้าวประดับดินไม่ต่ำกว่า 10 ปี จำนวน 3 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลปฏิบัติการ ได้แก่ พระสงฆ์ในเขตชุมชนบ้านแข้ จำนวน 2 รูป ผู้นำในการประกอบพิธีกรรมจำนวน 2 คน และผู้ให้ข้อมูลทั่วไป ได้แก่ ประชาชนบ้านแข้ที่มีประสบการณ์เข้าร่วมกิจกรรมประเพณีทำบุญข้าวประดับดินมากกว่า 10 ปี จำนวน 5 คน ใช้เครื่องมือในการเก็บข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม โดยศึกษาจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา และนำเสนอรูปแบบการวิจัยเชิงพรรณนาวิเคราะห์</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า การทำบุญข้าวประดับดิน เป็นงานบุญประเพณีที่จัดขึ้นในเดือน 9 วันแรม 14 ค่ำ และแรม 15 ค่ำ เป็นการทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว โดยมีความเชื่อว่าการทำบุญข้าวประดับดิน เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับญาติพี่น้องผู้ที่ตายไปแล้วหรือผีไม่มีญาติจะได้รับการแบ่งส่วนบุญนี้ รวมถึงเจ้ากรรมนายเวรจะช่วยส่งผลบุญให้ลูกหลานอยู่เย็นเป็นสุขเจริญรุ่งเรือง องค์ประกอบและขั้นตอนพิธีกรรมบุญข้าวประดับดินของชาวพุทธชาวไทยลาวบ้านแข้ ที่สำคัญมี 4 อย่าง คือ 1) พระสงฆ์ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดหรือพระภิกษุรูปอื่น และผู้ร่วมพิธีกรรม ได้แก่ ลูกหลานและญาติพี่น้องของผู้ที่วายชนม์ บุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องและผู้มีส่วนร่วมในงาน 2) สถานที่ใช้บ้านเป็นที่จัดเตรียมข้าวของอุปกรณ์เครื่องสักการระ และวัดเป็นสถานที่ใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา 3) สิ่งของที่ใช้ประกอบพิธีกรรม คือ เครื่องสักการะ ได้แก่ ดอกไม้ 1-2-3 คู่ ก็ได้ ธูป 3 ดอก เทียน 2 เล่ม เงิน 1 บาทขึ้นไป ใบกล้วย ไม่ไผ่เพื่อไว้กลัดใบตอง ค่าเทศนาธรรม ขวดน้ำและภาชนะรองรับ เครื่องถวายทาน อาหารคาว-หวาน และ 4) ระยะเวลาที่ประกอบพิธีกรรม นับตั้งแต่วันเริ่มเตรียมทำอาหาร ส่วนการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา จะเริ่มตั้งแต่เวลา 06.00 น. วันแรม 14 ค่ำ เดือน 9 จนถึง 06.00 น. ของวันถัดไป คุณค่าของงานบุญข้าวประดับดินที่มีต่อวิถีชาวไทยลาวบ้านแข้ 1) ด้านวัฒนธรรม เป็นงานบุญประเพณีวัฒนธรรมที่ชาวบ้านแข้ยึดถือปฏิบัติสืบทอดกันมา 2) ด้านสังคม เป็นหลักยึดเหนี่ยวทางจิตใจ ควบคุมผู้คนและสังคม ชาวบ้านหลายหมู่บ้านที่อยู่ใกล้เคียงได้ออกมาร่วมทำบุญ 3) ด้านเศรษฐกิจ เมื่อมีงานบุญประเพณีจะมีการจับจ่ายใช้สอยในสังคมชุมชนขึ้น มีการแลกเปลี่ยนสิ่งของซื้อขายสินค้าและอาหาร เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียน ก่อให้เกิดรายได้ให้กับครัวเรือนและชุมชนขึ้น ซึ่งมีแนวทางการจัดการความรู้สามารถนำมาจัดทำเป็นคู่มือบุญข้าวประดับดินเพื่อประกอบการศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม ซึ่งเป็นคู่มือที่ใช้ในการประกอบการเรียนรู้ทั่วไป</p> พระมีชัย มะโนรัตน์, ภัทระ อินทรกำแหง, อิทธิวัตร ศรีสมบัติ, สิริพัฒถ์ ลาภจิตร Copyright (c) 2025 วารสารมหาจุฬาคชสาร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/gajasara/article/view/267671 Sun, 02 Mar 2025 00:00:00 +0700 ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับโรงเรียนแห่งนวัตกรรม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/gajasara/article/view/272526 <p> บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ศึกษาภาวะผู้นำในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาความเป็นโรงเรียนแห่งนวัตกรรม และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับความเป็นโรงเรียนแห่งนวัตกรรม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครู จำนวน 300 คน มีผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 283 คน คิดเป็นร้อยละ 94.33 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ อยู่ระหว่าง .52 - .82 และ .51 - .91 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .97 และ .96 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ </p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1. ภาวะผู้นำในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมและรายด้าน มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการประชาสัมพันธ์ รองลงมา คือ ด้านการปรับสภาพแวดล้อมและพื้นที่การเรียนรู้ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านการสื่อสาร 2. ความเป็นโรงเรียนแห่งนวัตกรรม โดยรวมและรายด้าน มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการสนับสนุนการใช้นวัตกรรมของผู้บริหาร รองลงมา คือ ด้านการสร้างเครือข่ายชุมชน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านบรรยากาศนวัตกรรมในโรงเรียน 3. ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับความเป็นโรงเรียนแห่งนวัตกรรม โดยรวม มีความสัมพันธ์กันทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 อยู่ในระดับมาก มีข้อเสนอที่สำคัญ คือ ผู้บริหารควรเพิ่มความเชี่ยวชาญในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาองค์การ และควรร่วมมือกับผู้ปกครองและชุมชนในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล</p> อภิชัย คำอาจ, เจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม Copyright (c) 2025 วารสารมหาจุฬาคชสาร https://so06.tci-thaijo.org/index.php/gajasara/article/view/272526 Wed, 12 Mar 2025 00:00:00 +0700 วัฒนธรรมองค์กรที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตในการปฏิบัติงานของข้าราชการ สำนักงานเขตบางนา กรุงเทพมหานคร https://so06.tci-thaijo.org/index.php/gajasara/article/view/279521 <p>การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาถึงวัฒนธรรมองค์กรของข้าราชการสำนักงานเขตบางนา กรุงเทพมหานคร 2. เพื่อศึกษาถึงคุณภาพชีวิตในการปฏิบัติงานของข้าราชการสำนักงานเขตบางนากรุงเทพมหานคร และ 3. เพื่อศึกษาถึงวัฒนธรรมองค์กรที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตในการปฏิบัติงานของข้าราชการสำนักงานเขตบางนา กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ข้าราชการในสำนักงานเขตบางนา กรุงเทพมหานคร จำนวน 132 คน เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1) วัฒนธรรมองค์กรในการปฏิบัติงานของข้าราชการสำนักงานเขตบางนา กรุงเทพมหานคร โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยพบว่า ด้านวัฒนธรรมแบบราชการ รองลงมาได้แก่ ด้านวัฒนธรรมแบบเครือญาติ ด้านวัฒนธรรมแบบมุ่งผลสำเร็จ และ ด้านวัฒนธรรมแบบปรับตัว ตามลำดับ 2) คุณภาพชีวิตในการปฏิบัติงานของข้าราชการสำนักงานเขตบางนา กรุงเทพมหานคร ในภาพรวม โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยพบว่า ด้านลักษณะงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม รองลงมาคือ ด้านการทำงานร่วมกันและมีมนุษยสัมพันธ์ ด้านการพัฒนาความสามารถของบุคคล ด้านประชาธิปไตยในองค์กร ด้านความมั่นคงและความก้าวหน้าในงาน ด้านสิ่งแวดล้อมถูกลักษณะและปลอดภัย ด้านความสมดุลระหว่างงานและชีวิตส่วนตัว และ ด้านค่าตอบแทนเพียงพอและยุติธรรม ตามลำดับ 3) วัฒนธรรมองค์กรของข้าราชการสำนักงานเขตบางนา กรุงเทพมหานครส่งผลต่อคุณภาพชีวิตในการปฏิบัติงานของข้าราชการ สำนักงานเขตบางนา กรุงเทพมหานคร เป็นไปในทิศทางเชิงบวก ได้แก่ ปัจจัยด้านวัฒนธรรมแบบราชการ ปัจจัยด้านวัฒนธรรมแบบเครือญาติ ด้านวัฒนธรรมแบบมุ่งผลสำเร็จ และปัจจัยด้านวัฒนธรรมแบบปรับตัวมี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ตามลำดับ</p> นันทิกานต์ ทรงศิลป์ Copyright (c) 2025 วารสารมหาจุฬาคชสาร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/gajasara/article/view/279521 Wed, 12 Mar 2025 00:00:00 +0700