เปรียบเทียบการผ่าตัดด้วยวิธีmodified coracoclavicular stabilization แบบชนิด bidirectional loop กับวิธี clavicular hook plate ในผู้ป่วยโรคไหปลาร้าส่วนปลายเคลื่อนหลุดแบบเฉียบพลัน

ผู้แต่ง

  • วรวิทย์ เด่นศิริอักษร กลุ่มงานออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลหนองคาย

คำสำคัญ:

ข้อต่อไหปลาร้าเคลื่อนหลุดแบบเฉียบพลัน, coracoclavicular stabilization, clavicular hook plate, loop suspensory fixation

บทคัดย่อ

บทนำ : ภาวะข้อต่อไหปลาร้าส่วนปลายเคลื่อนหลุดเป็นภาวะที่พบได้ไม่บ่อยและมักพบในผู้ป่วยอายุเฉลี่ย20ถึง40ปี ส่วนใหญ่พบในเพศชาย กรณีบาดเจ็บเล็กน้อยสามารถรักษาโดยการประคับประคองการได้ แต่เมื่อบาดเจ็บระดับรุนแรงมักจะต้องได้รับการผ่าตัดเพื่อทำการจัดข้อกระดูกให้เข้ารูป สำหรับการผ่าตัดสามารถแบ่งเป็น 2 ชนิดคือ การผ่าตัดโดยยึดที่ข้อต่อไหปลาร้าโดยตรง(transarticular fixation) และยึดผ่าน coracoclavicular interval (CC fixation) ซึ่งการผ่าตัดสามารถทำข้อใดข้อหนึ่งหรือทั้งสองวิธีร่วมกันได้ แต่จากการศึกษาที่ผ่านมามีวิธีการผ่าตัดหลายวิธีมากแต่ยังไม่มีงานวิจัยใดสามารถระบุการผ่าตัดวิธีใดจัดเป็นการผ่าตัดที่มาตรฐาน ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดและภาวะแทรกซ้อนน้อยที่สุด

วัตถุประสงค์ : เพื่อประเมินผลและศึกษาประสิทธิภาพของการผ่าตัดในโรคข้อต่อไหปลาร้าส่วนปลายเคลื่อนหลุดแบบเฉียบพลัน ด้วยวิธีmodified coracoclavicular stabilization แบบชนิด bidirectional loop นั้นให้ผลแตกต่างกับการผ่าตัดด้วยวิธี clavicular hook plate หรือไม่และความเป็นไปได้ที่จะนำมาเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการผ่าตัดโรคนี้

วิธีการศึกษา : เก็บข้อมูลย้อนหลังผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดโรคข้อต่อไหปลาร้าส่วนปลายเคลื่อนหลุดแบบเฉียบพลันที่โรงพยาบาลหนองคาย ตั้งแต่กรกฎาคม 2560 ถึง กรกฎาคม 2564 โดยแบ่งเป็นกลุ่มที่1 ได้รับการผ่าตัดด้วยวิธี clavicular hook plateจำนวน 20ราย และกลุ่มที่2 ได้รับการผ่าตัดด้วยวิธี modified CC stabilization แบบชนิด bidirectional loop จำนวน 20ราย

ผลการศึกษา : ผู้ป่วยกลุ่มละ 20รายเท่ากัน ไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของข้อมูลก่อนผ่าตัด ปริมาตรของเลือดที่สูญเสียระหว่างผ่าตัดในกลุ่มที่1 เท่ากับ 28.5 มล. มากกว่ากลุ่มที่ 2 ซึ่งมีค่าเท่ากับ 15.75 มล. ค่าเฉลี่ยระยะเวลาทำการผ่าตัด ในกลุ่มที่1 ใช้เวลา 38.75 นาที น้อยกว่ากลุ่มที่ 2 ใช้เวลา 87.50 นาที ค่าเฉลี่ยวันนอนโรงพยาบาลในกลุ่มที่ 1 เท่ากับ 3.25 วัน มากกว่ากลุ่มที่ 2 ซึ่งมีค่าเท่ากับ2.3 วัน คะแนนความเจ็บปวดหลังการผ่าตัด24และ48ชั่วโมงในกลุ่มที่ 1 มีคะแนนเฉลี่ย 4.75 และ 3.45 ในกลุ่มที่ 2 มีคะแนน 2.8 และ 2.6 ตามลำดับและการใช้ยาแก้ปวดมอร์ฟีนหลังผ่าตัด48ชั่วโมง ในกลุ่มที่ 1เท่ากับ 9.95 มก มากกว่าในกลุ่มที่ 2 ซึ่งมีค่าเท่ากับ 2.35 มล. ภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดทันทีมีค่าเท่ากันในทั้งสองกลุ่ม ภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดในภายหลัง ในกลุ่มที่1 พบ 5 ราย(ร้อยละ 25) ซึ่งไม่พบในกลุ่มที่ 2

สรุป : การผ่าตัดด้วยวิธี Modified CC stabilization แบบชนิด bidirectional loop มีความปลอดภัยและสามารถเป็นทางเลือกหนึ่งของการผ่าตัดโรคข้อต่อไหปลาร้าส่วนปลายเคลื่อนหลุดแบบเฉียบพลันได้

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-24