การพัฒนาเครือข่ายสุขภาพในชุมชนเรือนจำโดยใช้กระบวนการเสริมสร้างพลังอำนาจ
บทคัดย่อ
ทัณฑสถานหรือเรือนจำเป็นสถานที่ที่มีจำนวนของผู้อาศัยอยู่อย่างแออัดซึ่งส่งผลต่อภาวะสุขภาพของผู้ต้องขัง การ
วิจัยเชิงพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษารูปแบบการพัฒนาเครือข่ายสุขภาพในชุมชนเรือนจำโดยใช้กระบวนการ
เสริมสร้างพลังอานาจ และมีวัตถุประสงค์เฉพาะ คือ 1. เพื่อศึกษาลักษณะชุมชนและปัญหาสุขภาพของชุมชนเรือนจำจังหวัด
กาฬสินธุ์ 2. เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพที่เหมาะสมสำหรับประชาชนในชุมชนเรือนจำจังหวัดกาฬสินธุ์และ 3. เพื่อ
พัฒนาศักยภาพเครือข่ายสุขภาพในเรือนจำจังวัดกาฬสินธุ์ ประชากรคือผู้ต้องขังอาศัยอยู่ในเรือนจำเป็นจำนวนมากถึง 3,005
คน กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้ต้องขังในชุมชนเรือนจำกาฬสินธุ์ จานวน 75 คน พยาบาลประจาหน่วยพยาบาลในเรือนจำ
จานวน 3 คน รวมเป็นจำนวนทั้งสิ้น 78 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองประกอบด้วย แบบประเมินความรู้ ความเข้าใจต่อการ
เป็นผู้จัดการรายกรณีในการดูแลสุขภาพในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขในเรือนจำ และการสัมภาษณ์เชิงลึก(In depth
Interviews) สัมภาษณ์แบบกลุ่ม(focus group) และการถอดบทเรียนในการดูแล ผลการศึกษาพบว่า 1. ปัญหาสุขภาพ 5
อันดับโรคที่ผู้ต้องขังป่วยได้แก่ 1.1 โรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจส่วนบน 1.2 ผื่นคัน/แพ้ 1.3 ปวดกล้ามเนื้อ 1.4 ข้ออักเสบ
1.5 โรคระบบทางเดินอาหาร และภาวะเสี่ยงสุขภาพ ได้แก่ โรคเครียด ซึมเศร้า โรคอ้วน เบาหวาน ความดัน ไขมัน 2. รูปแบบ
การดูแลสุขภาพที่เหมาะสมสาหรับประชาชนในชุมชนเรือนจำจังหวัดกาฬสินธุ์คือการให้ อาสาสมัครสาธารณสุขในเรือนจำเข้า
มามีบทบาทในการคัดกรองภาวะสุขภาพ การเฝ้าระวังการเจ็บป่วย และการให้ความรู้ในการดูแลตนเองเพื่อป้องกันภาวะ
เจ็บป่วย และ 3. ภายหลังการเข้ารับการฝึกอบรม ด้านความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการทาหน้าที่อาสาสมัครสาธารณสุขในเรือนจำ
กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยและค่ามัธยฐานด้านความรู้เท่ากับ 11.65 และ 12.00 (X = 11.65, Med. = 12.00) ตามลาดับ
และการพัฒนาศักยภาพของเครือข่ายสุขภาพในเรือนจาควรเน้นการมีส่วนเริ่ม ให้การเสริมสร้างพลังอานาจให้แก่อาสาสมัคร
ด้วยวิธีการเสริมแรงด้วยการชื่นชม และบันทึกแต้มความดี ข้อเสนอแนะ เนื่องจากเป็นการศึกษาในชุมชนปิด ดังนั้นจึงควร
ได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการเข้าไปขับเคลื่อนให้เกิดอาสาสมัครสาธารณสุขในเรือนจำ เพื่อให้เกิด
ความเข้มแข็งและยั่งยืน อันจะนำไปสู่การลดภาวการณ์เจ็บป่วยในเรือนจำต่อไป