รูปแบบการพัฒนาความรู้ และทักษะในการดำเนินงานด้านแพทย์แผนไทยของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • สุพิน ภูสง่า สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

การแพทย์แผนไทย, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องรูปแบบการพัฒนาความรู้ และทักษะในการดำเนินงานด้านแพทย์แผนไทยของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นการวิจัยเพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาความรู้ และทักษะการดำเนินงานด้านแพทย์แผนไทยในชุมชน และความพึงพอใจต่อรูปแบบการพัฒนาความรู้ และทักษะการดำเนินงานด้านแพทย์แผนไทยในชุมชน ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านจังหวัดกาฬสินธุ์ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 60 คน เก็บข้อมูลระหว่างการอบรมจากแบบทดสอบความรู้ก่อนและหลังการอบรม ทดสอบการฝึกปฏิบัติ และทักษะการนวดพื้นฐาน และการนวดเพื่อบำบัดอาการที่พบบ่อยในชุมชน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ paired t - test

                ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงจำนวน 47 คน คิดเป็นร้อยละ 78.3 อายุเฉลี่ย 44.7 ปี การศึกษาในระดับประถมศึกษา จำนวน 41 คน คิดเป็นร้อยละ 86.3 ระยะเวลาการปฏิบัติงานเฉลี่ย 9.05 ปี หลังเข้าร่วมการอบรมกลุ่มตัวอย่างมีความรู้เพิ่มขึ้นจากก่อนเข้าร่วมโครงการ คิดเป็นร้อยละ 93.44 จากก่อนเข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 77.67 มีทักษะในการปฏิบัติงานแพทย์แผนไทยในชุมชนในภาพรวม อยู่ในระดับมาก ( = 2.6 S.D. = 0.14) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก มีความพึงพอใจต่อการอบรมในภาพรวมอยู่ระดับมากที่สุด ( = 4.30 S.D. = 0.20) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบพบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด คะแนนเฉลี่ยความรู้ หลังเข้าร่วมโครงการเพิ่มขึ้นจากก่อนเข้าร่วมโครงการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p = .000)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-03-30