การพัฒนาการให้บริการคนต่างด้าวของหน่วยบริการ ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข จังหวัดยโสธร

ผู้แต่ง

  • ณัทชุดา จิรทวีธรรม กลุ่มงานประกันสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร

คำสำคัญ:

คนต่างด้าว, การให้บริการคนต่างด้าว

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการให้บริการคนต่างด้าวของหน่วยบริการ ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข จังหวัดยโสธร โดยพัฒนากิจกรรม 4 ด้าน คือ การประกันสุขภาพ การจัดระบบบริการสุขภาพ การจัดระบบชดเชยค่าบริการ และการสร้างระบบฐานข้อมูล ดำเนินการตามแนวทางพัฒนาในหน่วยบริการในเดือนกุมภาพันธ์ 2561 เป็นต้นมา และประเมินผลในช่วงเดือนกุมภาพันธ์–เมษายน 2563 โดยใช้วิธีเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จากประชากรในการวิจัยคือ (1) คนต่างด้าวที่มารับบริการในหน่วยบริการทั้งหมด (2) เจ้าหน้าที่สาธารณสุขผู้รับผิดชอบงานระดับโรงพยาบาล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และศูนย์สุขภาพชุมชนบ้านเดิด จำนวน 122 คน ตอบแบบสอบถามผ่าน google form กลับจำนวน 118 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แนวทางการให้บริการคนต่างด้าวของหน่วยบริการที่พัฒนา และแบบเก็บข้อมูลและแบบสอบถามประเมินผลการวิจัย นำข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์โดยผู้วิจัย และข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด

          ผลการศึกษาพบว่า ก่อนการพัฒนาในปีงบประมาณ 2559-2560 คนต่างด้าว 3 สัญชาติ (ลาว เมียนมา กัมพูชา) ซื้อบัตรประกันสุขภาพ จำนวน 418 คน และ 83 คน และมีคนต่างด้าวทั้งหมด รับบริการผู้ป่วยใน ในโรงพยาบาล จำนวน 119 ราย และ 102 ราย มีค่าใช้จ่ายทั้งหมด 478,993.00 บาท ได้รับชดเชยร้อยละ 7.59 และมีค่าใช้จ่ายทั้งหมด 459,258.00 บาท ได้รับชดเชยร้อยละ 10.73 รับบริการผู้ป่วยนอกในโรงพยาบาล จำนวน 3,405 ครั้ง และ 2,543 ครั้ง มีค่าใช้จ่ายทั้งหมด 2,298,196.00 บาท ได้รับชดเชยร้อยละ 63.56 และมีค่าใช้จ่ายทั้งหมด 940,018.00 บาท ได้รับชดเชยร้อยละ 22.71 รับบริการผู้ป่วยนอกในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 1,007 ครั้ง และ 910 ครั้ง มีค่าใช้จ่ายทั้งหมด 45,315.00 บาท และ 40,950.00 บาท ไม่ได้รับการชดเชย หลังการพัฒนาในปีงบประมาณ 2561-2562 คนต่างด้าว 3 สัญชาติ ซื้อบัตรประกันสุขภาพ จำนวน 372 คน และ 44 คน มีคนต่างด้าวทั้งหมดรับบริการผู้ป่วยใน ในโรงพยาบาล จำนวน 131 ราย และ 126 ราย มีค่าใช้จ่ายทั้งหมด 831,734.00 บาท ได้รับชดเชยร้อยละ 17.53 และมีค่าใช้จ่ายทั้งหมด 758,226.00 บาท ได้รับชดเชยร้อยละ 26.73 รับบริการผู้ป่วยนอกในโรงพยาบาล จำนวน 4,463 ครั้ง และ 2,330 ครั้ง มีค่าใช้จ่ายทั้งหมด 1,587,423.00 บาท ได้รับชดเชยร้อยละ 53.00 และมีค่าใช้จ่ายทั้งหมด 955,358.00 บาท ได้รับชดเชยร้อยละ 25.78 รับบริการผู้ป่วยนอกในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 851 ครั้ง และ 903 ครั้ง มีค่าใช้จ่ายทั้งหมด 38,295.00 บาท และ 40,635.00 บาท แต่ไม่ได้รับชดเชย เจ้าหน้าที่มีสารสนเทศสนับสนุนการดำเนินงาน 4 เรื่อง คือ 1.) ข้อมูลคนต่างด้าวซื้อบัตรประกันสุขภาพ 2.) Links กองทุนผู้ประกันตนคนต่างด้าว 3.) ข้อมูลคนต่างด้าวจากฐานข้อมูล HOSXP (43 แฟ้ม) จำแนกรายอำเภอ 4.) ข้อมูลคนต่างด้าวมารับบริการรายหน่วยบริการจากฐานข้อมูล HOSXP (43 แฟ้ม) และเจ้าหน้าที่มีความคิดเห็นต่อการพัฒนาในระดับปานกลาง ร้อยละ 49.2 รองลงมาระดับน้อย  และระดับมาก ร้อยละ 44.1 และ 6.8  มีความพึงพอใจต่อการพัฒนาในระดับน้อย ร้อยละ 43.2 รองลงมาระดับปานกลาง และระดับมาก ร้อยละ 33.9 และ 22.9 ตามลำดับ ให้คะแนนความพึงพอใจภาพรวมเฉลี่ยเท่ากับ 6.42 คะแนน (จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30