ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยและระดับความร้ายแรงของเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช : การศึกษาภาคตัดขวาง

ผู้แต่ง

  • บงกช เพียรไทย กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช

คำสำคัญ:

เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา, ระดับความร้ายแรง, ปัจจัย

บทคัดย่อ

หลักการและวัตถุประสงค์ การเข้าใจปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความร้ายแรงของADRs (Adverse Drug Reactions; ADRs) เป็นสิ่งสำคัญ  นำมาพัฒนาแนวทางที่เหมาะสมเพื่อลดความร้ายแรงที่เกิดขึ้น การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆกับระดับความร้ายแรงของ ADRs  เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง ของผู้ป่วยเกิดADRs ที่มารับบริการโรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช ตั้งแต่ 1 มกราคม พ.ศ.2557 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 โดยเก็บข้อมูลย้อนหลังจากแบบรายงานADRs จากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงสถิติโดยใช้โปรแกรม IBM SPSS version 25.0

             ผลการศึกษา : จากการศึกษา ADRs 924 เหตุการณ์ พบว่าเป็นกลุ่มที่เกิดภาวะ ADRs ในระดับร้ายแรง (Serious level) จำนวน 254 เหตุการณ์ ร้อยละ 27.5 และ3 ใน 4 ส่วนเป็น ADRs ในระดับไม่ ร้ายแรง (Non-serious level) จำนวน 670 เหตุการณ์ ร้อยละ 72.5 ประชากรมีอายุเฉลี่ยที่ 48±20.5 ปี ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง 557 คนร้อยละ 60.3 ไม่พบความแตกต่างของคุณลักษณะทั่วไประหว่างกลุ่มที่เกิดภาวะ ADRs ระดับร้ายแรง และกลุ่ม ADRs ระดับไม่ร้ายแรง อย่างไรก็ตาม ADRs ที่รายงานจากแผนกอายุรกรรมเกิด ADRs ระดับร้ายแรงมากกว่าระดับไม่ร้ายแรงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (82.6% vs 58.4% ตามลำดับ p<0.000) ในทางตรงกันข้าม แผนกศัลยกรรมรายงานการเกิด ADRs ระดับร้ายแรงน้อยกว่าระดับไม่ร้ายแรงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (4.5% vs 12.9% ตามลำดับ p<0.000)  มีความสัมพันธ์ระหว่างอาการผู้ป่วยที่มาโรงพยาบาลกับระดับความร้ายแรงของ ADRs ผู้ป่วยที่มาด้วยอาการ Injury, poisoning มีสัดส่วนในการเกิด ADRs ระดับร้ายแรง มากกว่าระดับไม่ร้ายแรงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (23.2% vs 7.8% ตามลำดับ p<0.000) ผู้ป่วยที่เกิดอาการ ADRs จากการใช้ยารักษาอาการทางกล้ามเนื้อและกระดูกมีสัดส่วนในการเกิด ADRs ระดับร้ายแรงมากกว่าระดับไม่ร้ายแรงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (20.1% vs 11.8% ตามลำดับ p<0.000) ขณะที่ ADRs จากการใช้ยาปฏิชีวนะมีสัดส่วนในการเกิด ADRs ระดับร้ายแรงน้อยกว่าระดับไม่ร้ายแรงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (44.9 % vs 60.3% ตามลำดับ p<0.001) พบว่า ADRs ที่มาจากแผนกอายุรกรรมมีแนวโน้มที่จะเป็น ADRs ในระดับร้ายแรง สูงกว่า ADRs ที่มาจากแผนกอื่นๆในโรงพยาบาลถึง 3.75 เท่า (95% CI; 2.24, 6.28, p<0.001) และการได้รับยาที่เป็นที่เป็นสาเหตุของ ADRs จากหน่วยงานการแพทย์อื่นๆ นั้นเเพิ่มโอกาสในการเกิด ADRs ในระดับร้ายแรงถึง 3.28 เท่า (95% CI; 1.72, 6.28, p<0.001)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30