ผลของระบบเยี่ยมบ้านผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้านแบบ Home Nursing Care (HNC) ต่อคุณภาพบริการพยาบาลในหน่วยบริการปฐมภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • เอมอร อาภรณ์รัตน์ คุณภาพบริการพยาบาลในหน่วยบริการปฐมภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลองแบบหนึ่งกลุ่มวัดผลก่อนและหลัง (One group experimental research) วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของระบบเยี่ยมบ้านผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้านแบบ Home Nursing Care (HNC) ต่อคุณภาพบริการพยาบาลในหน่วยบริการปฐมภูมิ  อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ดก่อนและหลังใช้วิธีการเยี่ยมบ้านแบบ Home Nursing Care (HNC)  ประชากร คือ กลุ่มผู้รับบริการกลุ่มผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องและกลุ่มพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานใน PCU เครือข่ายฯ โรงพยาบาลร้อยเอ็ด จำนวนทั้งหมด 19 แห่ง ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ.2562 ถึง  30 เมษายน 2563 กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจงได้แก่ 1) พยาบาลวิชาชีพที่ดูแลผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้านที่ปฏิบัติงานใน PCU เครือข่ายฯ โรงพยาบาลร้อยเอ็ด 19 แห่ง จำนวนทั้งหมด 36 ราย และ 2) กลุ่มผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้านที่ได้รับการดูแลจากพยาบาลวิชาชีพในอัตราส่วน 1 : 1 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบประเมินเกณฑ์คุณภาพงานเยี่ยมบ้านของสำนักการพยาบาล ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ข้อมูลทั่วไป และเกณฑ์การเยี่ยมบ้าน ประกอบด้วย ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลลัพธ์ คุณภาพเครื่องมือเชิงเนื้อหาได้ .80 และความเชื่อมั่นเท่ากับ .85 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ การแจกแจงความความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที (Pair T-test)  

ผลการศึกษา: หลังนำใช้วิธีการเยี่ยมบ้านแบบ Home Nursing Care (HNC) ในผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้านเกิดผลลัพธ์คุณภาพบริการพยาบาลตามเกณฑ์คุณภาพงานเยี่ยมบ้านในชุมชนของสำนักการพยาบาลมากกว่าก่อนนำใช้ในทุกตัวชี้วัด ผลการประเมินคุณภาพงานเยี่ยมบ้านในหน่วยบริการปฐมภูมิอำเภอเมืองจังหวัดร้อยเอ็ดทุกแห่งผ่านเกณฑ์คุณภาพงานเยี่ยมบ้านในชุมชนระดับ 3 (ผ่านเกณฑ์) และระดับ 2 (ผ่านเกณฑ์แบบมีเงื่อนไข) มากกว่าก่อนนำใช้การเยี่ยมบ้านแบบ HNC อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-09-30