การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดเฉียบพลัน : กรณีศึกษา 2 ราย

ผู้แต่ง

  • มรดก หมอกไชย โรงพยาบาลขอนแก่น

คำสำคัญ:

โรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดเฉียบพลัน, ระบบทางด่วนโรคหลอดเลือดสมอง, หอผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะวิกฤต

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางให้การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดเฉียบพลัน เป็นการศึกษาเปรียบเทียบกรณีศึกษา 2 รายตั้งแต่ระยะวิกฤติ ระยะฟื้นฟูดูแลต่อเนื่อง และระยะวางแผนจำหน่าย รวบรวมข้อมูล โดยใช้แนวคิดการประเมินผู้ป่วยตามแบบแผนสุขภาพ11แบบแผนของกอร์ดอน เพื่อค้นหาปัญหาผู้ป่วย กำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลเพื่อวางแผนการปฏิบัติการพยาบาล สรุปและประเมินผลลัพธ์ทางการพยาบาล

          ผลการศึกษา : การศึกษาครั้งนี้ผู้ศึกษาได้เปรียบเทียบผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดเฉียบพลัน กรณีศึกษา 2 รายที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะวิกฤต (Stroke Unit) โรงพยาบาลขอนแก่น มาโดยระบบทางด่วนโรคหลอดเลือดสมอง หรือ Stroke fast track เป็นผู้ป่วยระยะวิกฤต ทั้ง 2 ราย ที่มีโรคร่วมเป็นปัจจัยเสี่ยงสูงทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดเฉียบพลัน และมีภาวะการหายใจล้มเหลว ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจร่วมกับการรักษาปัญหาที่ตรวจพบในขณะที่อยู่รักษา จากการศึกษากรณีศึกษา ทั้ง 2 ราย ในการดูแลโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดเฉียบพลัน ช่วงภาวะวิกฤตคุกคามชีวิตและรุนแรง พยาบาลมีบทบาทสำคัญ สมรรถนะสำคัญที่จำเป็นต้องมีความรู้เฉพาะทาง มีทักษะ ในการสังเกตอาการเปลี่ยนแปลง การประเมินและแก้ไขปัญหา เพื่อลดภาวะแทรกซ้อน และการเสียชีวิต บทบาทในการสร้างเสริมสุขภาพให้ผู้ป่วยและญาติมีความพร้อมในการเผชิญปัญหา ลดปัจจัยเสี่ยง และแก้ไขจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้องในแต่ละช่วงเวลาการดำเนินของโรค การบูรณการให้ได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยแบบครบวงจรโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ เพื่อให้ผู้ป่วยและญาติสามารถจัดการตนเองได้ ทำให้ป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน ความพิการที่เพิ่มมากขึ้น และการกลับมาเป็นซ้ำ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-09-30