การพัฒนารูปแบบการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยเด็กที่ใช้เครื่องช่วยหายใจที่บ้าน โรงพยาบาลขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • อภิญญา รองเมือง หอผู้ป่วยเด็กโต โรงพยาบาลขอนแก่น

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ทีมสหสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง 26 คน ผู้ป่วยและครอบครัวจำนวน 45 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย แบบสังเกตการณ์ปฏิบัติ แบบสอบถาม แบบสอบถามความพึงพอใจ แบบบันทึกข้อมูลสถานการณ์ แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม ประเมินปัญหาความต้องการการดูแล และประเมินความพึงพอใจ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกต สอบถาม สัมภาษณ์ปัญหาความต้องการ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติ ความถี่ ร้อยละ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา

          ผลการศึกษา พบว่า การพัฒนารูปแบบการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยเด็กที่ใช้เครื่องช่วยหายใจที่บ้าน ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ การเตรียมผู้ป่วยก่อนจำหน่ายจากโรงพยาบาล  การเตรียมทีมรับเพื่อส่งต่อข้อมูลและการดูแลผู้ป่วย การดูแลต่อเนื่องที่บ้าน และการติดตามและประเมินผลการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน  ภายหลังนำใช้รูปแบบการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยเด็กที่ใช้เครื่องช่วยหายใจที่บ้าน ในปี พ.ศ.2560 พบผู้ป่วยจำนวน 3 ราย เป็นกลุ่มโรคทางระบบประสาทและกล้ามเนื้อทั้งหมด และพบว่า 1) อัตรา readmission ภายใน 28 วัน ในหอผู้ป่วยเด็กโตลดลงจากก่อนการศึกษา โดยลดลงจากร้อยละ 50 (2 ราย) เป็นไม่มีผู้ป่วย readmission ระยะวันนอนในหอผู้ป่วยเด็กโตลดลง  จากก่อนการศึกษา 2 ปี เป็น 6 เดือน และสามารถลดค่าใช้จ่ายในการรักษาได้ประมาณ 20 เท่า 2) การมีส่วนร่วมผู้ดูแลและครอบครัว พบว่าความพึงพอใจของผู้ดูแล ร้อยละ 100  3) การมีส่วนร่วมของทีมสหวิชาชีพ ความพึงพอใจของทีมสหวิชาชีพ เท่ากับ  98  

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-09-30