สภาวะสุขภาพของบุคลากร โรงพยาบาลชุมแพ จังหวัดขอนแก่น ในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19)

ผู้แต่ง

  • นภา ธเนศกองทอง โรงพยาบาลชุมแพ จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

สภาวะสุขภาพ, COVID-19, บุคลากร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาวะสุขภาพและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสภาวะสุขภาพ ของบุคลากรที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมแพ จังหวัดขอนแก่น  จำนวนตัวอย่าง 471 คน  สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified sampling) เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามมาตรฐาน Thai GHQ-28 มีค่าความไวร้อยละ 84 ค่าความจำเพาะร้อยละ 76 ค่าสัมประสิทธิ์ความสอดคล้องภายใน (Cronbach’s alpha coefficient) เท่ากับ 0.91   วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ การแจกแจงความถี่  ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ chi square

          ผลการศึกษา พบว่า สภาวะสุขภาพของบุคลากรที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมแพ จังหวัดขอนแก่น ในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปกติ ร้อยละ 89.38 และอยู่ในระดับเริ่มผิดปกติ ร้อยละ 10.62  ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสภาวะสุขภาพของบุคลากรที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมแพ จังหวัดขอนแก่น พบว่า ตัวแปรอายุ และ ลักษณะการพักอาศัย มีความสัมพันธ์กับสภาวะสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p value =0.016 และ 0.031 ตามลำดับ) พบว่า กลุ่มอายุน้อยกว่าเท่ากับ 30 ปีมีสภาวะสุขภาพเริ่มผิดปกติ  ร้อยละ 15.12  กลุ่มอายุมากกว่า 30 ปีมีสภาวะสุขภาพเริ่มผิดปกติ  ร้อยละ 8.03  กลุ่มอายุน้อยกว่า 30 ปีมีโอกาสที่จะมีสภาวะสุขภาพเริ่มผิดปกติ  เป็น 2.04 เท่าของ กลุ่มอายุมากกว่า 30 ปี (OR =2.04 , 95% CI of OR : 1.08 ถึง 3.85 ) บุคลากรที่พักอยู่คนเดียว  มีสภาวะสุขภาพเริ่มผิดปกติ  ร้อยละ 16.67  บุคลากรที่พักอยู่กับครอบครัว/อยู่กับเพื่อนมีสภาวะสุขภาพเริ่มผิดปกติ  ร้อยละ  9.07  บุคลากรที่พักอยู่คนเดียวมีโอกาสที่จะมีสภาวะสุขภาพเริ่มผิดปกติ  เป็น  2.07 เท่าของคนที่พักอยู่กับครอบครัว/อยู่กับเพื่อน   (OR = 2.07 , 95% CI of OR : 1.01 ถึง 4.09 ) ส่วนตัวแปรเพศ, การศึกษา, สถานภาพสมรส, สายการปฏิบัติงาน, ที่พักอาศัย และ การมีโรคประจำตัว  ไม่มีความสัมพันธ์กับสภาวะสุขภาพ  (p value =0.668, 0.311, 0.705, 0.296, 0.325  และ 0.577 ตามลำดับ)  ข้อเสนอแนะ  ผู้บริหารควรมีการกำหนดนโยบาย สนับสนุนและส่งเสริมให้บุคลากรโดยเฉพาะผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 30 ปี ให้มีการปฏิบัติพฤติกรรมในการปฏิบัติตัว  การได้รับองค์ความรู้ที่ถูกต้อง การได้รับขวัญ กำลังใจในการปฏิบัติงาน และ ลดความวิตกกังวล และความตระหนก ให้กลับมาสู่สภาพปกติแบบใหม่โดยเร็วที่สุด อันจะส่งผลต่อการดำรงชีวิต และการทำงาน และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-30