การพัฒนาโปรแกรมกลุ่มบำบัดแบบหวนรำลึกความหลังที่เป็นสุข ตามรูปแบบการพยาบาลแบบองค์รวม ในการเยียวยาจิตใจผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบ 3 จังหวัดชายแดนใต้

ผู้แต่ง

  • อังคณา วังทอง โรงพยาบาลหนองจิก จังหวัดปัตตานี

คำสำคัญ:

การพัฒนา, โปรแกรมกลุ่มบำบัดแบบหวนรำลึกความหลังที่เป็นสุข, รูปแบบการพยาบาลแบบองค์ รวมในการเยียวยาจิตใจ, สถานการณ์ความไม่สงบ 3 จังหวัดชายแดนใต้

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมกลุ่มบำบัดแบบหวนรำลึกที่เป็นสุข ตามรูปแบบการพยาบาลแบบองค์รวมในการเยียวยาจิตใจผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบ 3 จังหวัดชายแดนใต้ ทำการประยุกต์ขั้นตอนโดยใช้กระบวนการพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาล ประกอบด้วย 2 ระยะ คือ 1. การพัฒนาและการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาของโปรแกรมกลุ่มบำบัด HRT พัฒนาตามขั้นตอนการพัฒนา รวบรวมและประเมินจากหลักฐานเชิงประจักษ์ นำมาวิเคราะห์และร่างเป็นโปรแกรมกลุ่มบำบัด จากนั้นได้ประเมินคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน เพื่อตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาของโปรแกรมกลุ่มบำบัดที่พัฒนาและนำมาปรับปรุงแก้ไข ซึ่งประกอบด้วย 6 ขั้นตอน พบว่า ผู้ทรงคุณวุฒิ 4 ท่าน เห็นชอบทั้ง 5 ขั้นตอนและ ผู้ทรงคุณวุฒิ 1 ใน 5 ท่าน ให้ปรับเนื้อหาและแนวคำพูดในขั้นตอนที่ 3 เรื่องวันวานแห่งความรัก กิจกรรมที่ 4 ประเด็นวางแผนการจัดการความคิดและพฤติกรรมทางลบ พร้อมให้ข้อเสนอแนะคือ ปรับตัวอย่างเนื้อหาคำพูดให้อ่านเข้าใจง่าย 2. ความเป็นไปได้ของการนำโปรแกรมกลุ่มบำบัดไปใช้ โดยคัดเลือกพยาบาลผู้ใช้โปรแกรมกลุ่มบำบัดแบบเฉพาะเจาะจง (purposive sampling) จำนวน 5 คน โดยทุกคนมีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานด้านการพยาบาลผู้ได้รับผลกระทบฯ ไม่น้อยกว่า 5 ปี และยินยอมเข้าร่วมการวิจัยในครั้งนี้ พบว่า พยาบาลที่ใช้โปรแกรมกลุ่มบำบัดทั้ง 5 คน ระบุว่า โปรแกรมกลุ่มบำบัด HRT ที่พัฒนา มีความสะดวกสามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย สามารถเพิ่มสุข ลดโรค คุณภาพชีวิตเพิ่มขึ้น และมีความพึงพอใจระดับมากที่สุด (คะแนน 9.2 คะแนน). สรุปได้ว่าการใช้โปรแกรมกลุ่มบำบัด HRT นี้ ส่งผลที่ดีทั้งต่อผู้ป่วย ครอบครัวและระบบบริการทางการพยาบาลที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-30