การศึกษาปัจจัยเสี่ยง อาการ/อาการแสดงที่ใช้ทำนายโรคหัวใจขาดเลือด

ผู้แต่ง

  • นุชลี หล้ามะโฮง โรงพยาบาลโกสุมพิสัย

คำสำคัญ:

โรคหัวใจขาดเลือด อาการและอาการแสดง, ปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจขาดเลือด

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) แบบ Retrospective Study มี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยเสี่ยง อาการ/อาการแสดงที่ใช้ทำนายโรคหัวใจขาดเลือดกลุ่มตัวอย่างเลือกแบบ เฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) เป็นเวชระเบียนของ ผู้ป่วยทั้งชายและหญิง ที่เข้ารับการรักษาที่แผนก ผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลโกสุมพิสัย ที่แพทย์วินิจฉัยเป็นโรคหัวใจขาดเลือด ระหว่าง เดือนมกราคม 2561 – เดือนธันวาคม 2561 จำนวน 64 ราย และผู้ป่วยที่ Cardiac Arrest ระหว่างเดือน มกราคม –ธันวาคม 2561 จำนวน 16 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกประกอบด้วย 1.แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป 2 แบบ บันทึกคัดกรองผู้ป่วย โดยการศึกษาข้อมูลการเจ็บป่วยย้อนหลัง และการซักประวัติเพิ่มเติมจากแบบซัก ประวัติข้อมูลทั่วไป และข้อมูลปัจจัยเสี่ยงจากผู้ป่วยและญาติ

ผลการศึกษา พบว่า ข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหัวใจขาดเลือด ส่วนใหญ่เป็น เพศชาย ร้อยละ 65 อายุที่พบอยู่ในช่วงระหว่าง 40-79 ปี ร้อยละ 98.75 แต่ยังผู้ป่วยที่มีอายุอยู่ระหว่าง 30-39 ปี ร้อยละ1.25 ผู้ป่วยที่เป็นโรคดังกล่าวมีอาชีพเกษตรกรรมร้อยละ 63.75 รองลงมาคือว่างงาน อาชีพที่มี อาการของโรคหัวใจขาดเลือด น้อยที่สุด คือ รับราชการ พบร้อยละ 1.25 ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีพฤติกรรมในการ สูบบุหรี่ ร้อยละ 67.50 ไม่สูบบุหรี่ ร้อยละ32.50 มีโรคประจำตัวที่เป็นโรคเรื้อรัง ได้แก่ โรคความดันโลหิต สูง และโรคเบาหวาน ถึงร้อยละ 67.05 และไม่มีโรคประจำตัวใดๆมาก่อนเลย ร้อยละ 20.88 ทั้งนี้อาการและ อาการแสดงของผู้ป่วยมักจะมีอาการนำร่วมกันหลายอาการ อาการและอาการแสดง ของการเจ็บป่วยที่นำ ผู้ป่วยมาโรงพยาบาลและได้รับการตรวจรักษา วินิจฉัยว่าเป็นโรคหัวใจขาดเลือด ส่วนใหญ่ คืออาการหายใจ เหนื่อยหรือหอบ หายใจไม่ออก หายใจไม่อิ่ม ร้อยละ 25.57 รองลงมาคืออาการอาการแน่นหน้าอก เหมือน ถูกกด ถูกบีบ หรือรู้สึกแน่นกลางหน้าอก ร้อยละ19.32 อาการปวดศีรษะ วิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ร้อยละ 17.18

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-30