ผลของการประยุกต์ใช้แนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง โรงพยาบาลโนนสูง อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • บุญสม คุ้มกลาง โรงพยาบาลโนนสูง อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา

คำสำคัญ:

แนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง, โรคไตวายเรื้อรัง, ทฤษฎีระบบ PDCA, PDCA System Theory

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนา ( Research and Development ) ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการประยุกต์ใช้แนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง โรงพยาบาลโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา โดยใช้แนวคิดทฤษฎีระบบของ เดมมิ่ง PDCA ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2563 – 30 พฤศจิกายน 2563 แบ่งเป็น 3 ระยะ ระยะแรก ดำเนินการศึกษาสถานการณ์ กลุ่มเป้าหมาย คือ ทีมสุขภาพ และผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังที่รับการรักษาที่โรงพยาบาลโนนสูง จำนวน 463 คน ทำการสุ่มแบบไม่เฉพาะเจาะจง วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล แบบทดสอบความพึงพอใจ ประเมินการนำแนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังที่พัฒนาขึ้นจากแนวปฏิบัติของสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทยไปใช้ ประเมินจากเครื่องมือ ของ AGREE ได้ค่าคะแนนความเชื่อมั่น ตามมิติทั้ง 6 ด้านของ AGREE วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัย ได้พัฒนาจากแนวปฏิบัติจนได้ประกาศใช้รูปแบบ โดยใช้แนวคิดทฤษฎีระบบของเดมมิ่ง PDCA ประกอบด้วย คู่มือแนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง โรงพยาบาลโนนสูง ตัวชี้วัดผลลัพธ์การประยุกต์ใช้แนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังโดยใช้รูปแบบแนวคิด ทฤษฎีระบบของเดมมิ่ง PDCA ระยะที่ 2 ดำเนินการพัฒนาแนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง โรงพยาบาลโนนสูง และระยะที่ 3 ศึกษาผลของการประยุกต์ใช้แนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบไม่เฉพาะเจาะจง คือผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังรับการรักษาที่ แผนกคลินิกชะลอไตวายเรื้อรัง โรงพยาบาลโนนสูง จำนวน 30 ราย ให้การดูแลรักษาโดยใช้การดูแลผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง 30 ราย โดยใช้แบบวัดผลลัพธ์ทางคลินิก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและร้อยละ ทดสอบการกระจายของข้อมูลโดยใช้ Kolmogorov-Smirnov test การแจกแจงเป็นแบบโค้งปกติ ใช้สถิติทดสอบค่าที (Paired T-test) เปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของผลลัพธ์ทางคลินิกและคุณภาพชีวิตก่อนและหลังการทดลองที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05

ผลการวิจัย ทีมสุขภาพความพึงพอใจในระดับดี ประเมินแนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังการนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิผลในระดับดี ผลของการประยุกต์ใช้แนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังพบว่า ผู้ป่วยมีผลลัพธ์ทางคลินิก ได้แก่ ค่าการกรองของไต ค่าความดันโลหิต การทำงานของไต ทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ข้อเสนอแนะการวิจัยชี้ให้เห็นข้อมูลเชิงประจักษ์ของการประยุกต์ใช้แนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง ที่สามารถดูแลผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง ส่งผลลัพธ์ที่ดีทางคลินิกและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังในโรงพยาบาลโนนสูง

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-30