ปัจจัยที่ส่งผลต่อ ภาวะ Cephalopelvic disproportion (CPD)

ผู้แต่ง

  • นนทพงษ์ ยศวิจิตร โรงพยาบาลน้ำยืน จังหวัดอุบลรชธานี

คำสำคัญ:

Cephalopelvic disproportion (CPD)

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นวิจัยแบบย้อนหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อ ภาวะ  Cephalopelvic  disproportion (CPD) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ หญิงตั้งครรภ์ที่มาคลอดที่โรงพยาบาลน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี ที่มาคลอดระหว่าง เดือน มิถุนายน 58 – กันยายน 61 จำนวน 129 คน เก็บรวบรวมข้อมูล จากเวชระเบียนการคลอด วิเคราะห์ข้อมูล โดย สถิติเชิงพรรณา ( Descriptive Statistics ) ได้แก่  การแจกแจงความถี่ ( Frequency Distribution ) ร้อยละ ( Percentage ) และสถิติเชิงอนุมาน ( Inferential Statistics )  ได้แก่ logistic regression

          ผลการศึกษา พบว่า สภาวะสุขภาพมารดาโดยการผ่าคลอด ตอนตั้งครรภ์ ส่วนใหญ่ อายุต่ำกว่า 24 ปี  (ร้อยละ 5.35) ส่วนสูงระหว่าง 150 – 159 ซม. (ร้อยละ 53.5) การคลอดครั้งแรก (ร้อยละ 64.8) น้ำหนักที่เพิ่มระหว่างตั้งครรภ์ ระหว่าง 12 – 22 กก. (ร้อยละ 63.4) และ Height of fundus ต่ำกว่า 34 (ร้อยละ 43.4) ปัจจัยที่ส่งผลต่อ ภาวะ  Cephalopelvic  disproportion (CPD) ได้แก่ ส่วนสูง ต่ำกว่า 150 ซม. มีโอกาสเสี่ยง CPD 1.463 เท่า การคลอดครั้งแรก มีโอกาสเสี่ยง CPD 6.206 เท่า และ Height of fundus มากกว่า 34 ซม. มีโอกาสเสี่ยง CPD 4.671 เท่า

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-30