แนวปฏิบัติการพยาบาลการจัดการความปวดในผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายที่ได้รับการดูแลแบบ ประคับประคองโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • มนต์รัตน์ ภูกองชัย โรงพยาบาลหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

แนวปฏิบัติการพยาบาล, การจัดการความปวดในผู้ป่วยมะเร็ง, การดูแลแบบประคับประคอง

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลการจัดการความปวดในผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคองโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดกาฬสินธุ์ ใช้รูปแบบการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ของซูคัพ (2000) เป็นกรอบแนวคิด ผลการศึกษา พบว่าผู้ป่วยมะเร็งรายงานอาการปวดไม่ถูกต้องทำให้ได้รับการจัดการอาการปวดไม่เหมาะสมระบบบริการไม่มีแนวทางการจัดการความปวด ในผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคองที่ชัดเจน สร้างแนวปฏิบัติการพยาบาลจากหลักฐานเชิงประจักษ์  14 เรื่อง เป็นหลักฐานที่ได้มาจากการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบของงานวิจัยเชิงทดลองที่มีการสุ่มและมีกลุ่มควบคุม 3 เรื่อง งานวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม 2 เรื่อง งานวิจัยเชิงบรรยาย 2 เรื่อง งานวิจัยกึ่งทดลอง1 เรื่อง แนวปฏิบัติทางการพยาบาล 2 เรื่อง แนวปฏิบัติทางคลินิก 4 เรื่อง ได้แนวปฏิบัติประกอบด้วยการประเมินความปวด การจัดการอาการปวด การประเมินผลลัพธ์ทางการพยาบาลการจัดการอาการปวด การให้ความรู้การจัดการอาการปวด ผู้ป่วย/ญาติผู้ดูแลและการดูแลต่อเนื่อง และคู่มือการใช้แนวปฏิบัติตรวจสอบความตรงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา 0.93 ผลการประเมินคุณภาพแนวปฏิบัติมีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้จริงร้อยละ100 ต่อผู้ป่วยมะเร็ง ได้รับการบรรเทาความปวดอย่างเป็นระบบ  คะแนนความปวดลดลงภายหลังการใช้แนวปฏิบัติ จาก7.32 เป็น 2.20 ความรุนแรงของระดับความปวดอยู่ในระดับเล็กน้อย ความพึงพอใจของผู้ป่วยมะเร็งหลังใช้แนวปฏิบัติระดับสูงมากผู้ป่วยและครอบครัว มีความพึงพอใจต่อการใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลอยู่ในระดับมาก

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-30