ผลการรักษาภาวะ Respiratory distress syndrome โดยใช้ Surfactant ในโรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช

ผู้แต่ง

  • จุไรรัตน์ ตรีวัฒนาวงศ์ กลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช

คำสำคัญ:

ภาวะ Respiratory distress syndrome, Surfactant

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของการใช้ Surfactant ในการรักษาทารกเกิดก่อนกำหนดที่เป็น RDS และปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการเสียชีวิตของทารกเกิดก่อนกำหนดที่เป็น RDS ทำการศึกษาแบบย้อนหลังในทารกเกิดก่อนกำหนดทั้งหมดที่ได้รับการวินิจฉัย เป็น moderate to severe RDS และได้รับการรักษาด้วย Surfactant ในโรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช ทั้งทารกที่เกิดในโรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช หรือถูกส่งต่อจากโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดลพบุรี ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2559 ถึง 30 กันยายน 2562 จำนวน 240 คน รวบรวมข้อมูลปัจจัยพื้นฐาน ปัจจัยเสี่ยงทั่วไป ปัจจัยเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์ และข้อมูลการรักษาด้วย Surfactant วิเคราะห์ข้อมูลด้วย logistic regression และ Multiple logistic regression ในการประเมิน odd ratio โดยค่า p<0.05

             ผลการวิจัย: ผู้ป่วยทารกเกิดก่อนกำหนดที่เป็น moderate to severe RDS และได้รับการรักษาด้วย Surfactant ส่วนใหญ่เป็นเพศชายจำนวน 137 คน (57.08%) อายุครรภ์เฉลี่ย 30.83±2.80 สัปดาห์ น้ำหนักแรกเกิดเฉลี่ย 1611.31±510.68 กรัม คะแนนแอ๊พการ์ที่ 1 นาที 5.74±1.85 คะแนน แอ๊พการ์ที่ 5 นาที 7.33±1.37 ทารกรอดชีวิตจำนวน 205 คน (85.42%) ทารกเสียชีวิตจำนวน 35 คน (14.58%) สาเหตุการเสียชีวิตส่วนใหญ่ คือ ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด (77.14%) ระยะเวลาใช้เครื่องช่วยหายใจเฉลี่ย 17.47±7.62 วัน ระยะวันนอนโรงพยาบาลเฉลี่ย 44.25±26.26 วัน ค่ารักษาพยาบาลเฉลี่ย 199,451±602,433.78 บาท ปัจจัยเสี่ยงที่เพิ่มโอกาสการเสียชีวิตของทารกเกิดก่อนกำหนดที่เป็น RDS อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) คือ อายุครรภ์ < 30 สัปดาห์ (OR 4.98, 95%CI 2.09-11.85) มารดามีภาวะ pre eclamsia (OR 9.89, 95%CI 2.32-42.04) การผ่าตัดคลอด (OR 2.28, 95%CI 0.99-5.24) ปัจจัยที่ลดโอกาสการเสียชีวิตของทารกเกิดก่อนกำหนดที่เป็น RDS อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) คือ การได้รับ Surfactant หลังคลอดไม่เกิน 2 ชั่วโมง (OR 0.47, 95%CI 0.16-0.67)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-30