การพัฒนารูปแบบการคัดกรองมะเร็งท่อน้ำดีในประชากรกลุ่มเสี่ยง อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร
คำสำคัญ:
การคัดกรอง, ประชากรกลุ่มเสี่ยง, มะเร็งท่อน้ำดีระยะเริ่มแรกบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R&D) ดำเนินการช่วง ตุลาคม 2560 – กันยายน 2561 ประกอบด้วย 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 สำรวจปัญหาและวิเคราะห์ข้อมูลผลการดำเนินงาน ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการคัดกรอง และระยะที่ 3 ประเมินผล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณา
ผลการศึกษา พบว่า การคัดกรองด้วยด้วยวาจาในประชากร 44,873 คน พบกลุ่มเสี่ยง 1,529 ราย ร้อยละ 3.41 ได้รับการตรวจอัลตร้าซาวด์ 1,301 คน ร้อยละ 85.09 ผลการตรวจ ปกติ ร้อยละ 24.44 PDF ร้อยละ 57.34 Fatty liver ร้อยละ 20.59 Liver mass ร้อยละ 1.08 และพบผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีรายใหม่ระยะแรก (CCA) 1 คน มะเร็งตับ (HCC) 1 คน และรูปแบบที่ได้ คือ รูปแบบคำถามการคัดกรองด้วยวาจาที่สามารถคัดกลุ่มเสี่ยงเข้ามาสู่กระบวนการอัลตร้าซาวด์ได้อย่างครอบคลุม การคืนข้อมูลประชากรกลุ่มเสี่ยงสูงให้กับพื้นที่หน่วยบริการปฐมภูมิ ปรับระบบการให้บริการตรวจอัลตร้าซาวด์ทั้งตั้งรับที่โรงพยาบาลแม่ข่าย และออกตรวจอัลตร้าซาวด์เชิงรุกถึงพื้นที่ ชุมชน ให้บริการทั้งวันราชการและวันหยุดเสาร์ อาทิตย์ เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงเข้าถึงบริการได้ง่าย สะดวก ทำให้สามารถค้นพบผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีระยะเริ่มแรกได้