การพัฒนาแนวทางปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วย Acute gastroenteritis ในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรมโรงพยาบาลยโสธร

ผู้แต่ง

  • รำไพ ศรีเนตร โรงพยาบาลยโสธร

คำสำคัญ:

Acute gastroenteritis, Dehydration, แนวปฏิบัติการพยาบาล

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยเด็ก Acute gastroenteritis และผลลัพธ์การปฏิบัติตามแนวทางการพยาบาลผู้ป่วยเด็ก Acute gastroenteritis ที่มารับบริการที่หอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลยโสธร กลุ่มเป้าหมายคือผู้ป่วยเด็ก Acute gastroenteritis ที่นอนโรงพยาบาล ระหว่าง เดือนตุลาคม 2562-กันยายน 2563 โดยคัดเลือกแบบเจาะจงเฉพาะเด็ก อายุ 1-5 ปีจำนวน 370 ราย และพยาบาลวิชาชีพ ที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม จำนวน 10 คน คัดเลือกแบบเจาะจง การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลตามรูปแบบ IOWA Model มาเป็นกรอบในการพัฒนาแนวปฏิบัติ ซึ่งผู้วิจัยนำมาประยุกต์ และแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ 1) การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้ IOWA Model 2) การนำแนวปฏิบัติทางการพยาบาลไปปฏิบัติจริง 3) การประเมินผลลัพธ์ภายหลังจากการใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาล ได้แก่ Readmission ภายใน 28 วันภาวะ Severe dehydration ขณะนอนโรงพยาบาล คะแนนความรู้ของผู้ดูแลเด็ก Acute gastroenteritis ความพึงพอใจของพยาบาลต่อการใช้แนวปฏิบัติ และการปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติ เครื่องมือในการดำเนินการวิจัย ได้แก่ แบบทบทวนเวชระเบียน แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยเด็ก Acute gastroenteritis เอกสารแผ่นพับคู่มือให้สุขศึกษา แบบประเมินภาวะDehydration และแบบบันทึกการตวงปัสสาวะอุจจาระเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกตัวชี้วัด แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการใช้แนวปฏิบัติ แบบประเมินการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยเด็ก Acute gastroenteritis การตรวจสอบความตรง โดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 คนได้ค่าความตรงตามเนื้อหาได้ค่า 0.8 การตรวจสอบความเที่ยงโดย alpha cronbrach ได้ค่า 0.86 วิเคราะห์ข้อมูลใช้จำนวนร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในข้อมูลที่มีการเปรียบเทียบก่อนและหลังกลุ่มเดียวกันใช้สถิติ pair t-test

          ผลการวิจัย 1) ได้แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยเด็ก Acute gastroenteritis ซึ่งประกอบด้วย 3 หมวด ดังนี้ (1) การประเมินผู้ป่วย (2) การป้องกันภาวะขาดน้ำ และ(3) การดูแลต่อเนื่อง 2) ผลลัพธ์ภายหลังการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยเด็ก Acute gastroenteritis  (1) อัตราReadmissionภายใน 28วัน ก่อนดำเนินการปี ตุลาคม 2559- กันยายน 2562 พบ 4.8%, 3.6% และ 4.2% หลังดำเนินการพบ 0.8% (2) ผู้ป่วยที่มีภาวะ Severe dehydration ขณะนอนโรงพยาบาล ก่อนดำเนินการปี ตุลาคม 2559- กันยายน 2562 พบ 3, 2 และ 3 รายหลังดำเนินการไม่พบผู้ป่วยที่มีภาวะSevere dehydrationขณะนอนโรงพยาบาล (3) ความรู้ของผู้ดูแลเด็ก Acute gastroenteritis โดยการประเมินความรู้ ก่อนและหลังให้ความสุขศึกษาพบว่าก่อนให้ความรู้มีคะแนนเฉลี่ย 4.35 หลังให้ความรู้มีคะแนนเฉลี่ย 7.76 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 (4) ความพึงพอใจของพยาบาลต่อการใช้แนวปฏิบัติพบว่าบุคลากรมีความพึงพอใจต่อการใช้ แนวปฏิบัติภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (5) ร้อยละการปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติพยาบาลผู้ป่วยเด็ก Acute gastroenteritisร้อยละ 92

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-30