การพัฒนาระบบการดูแลแบบประคับประคองระยะสุดท้าย โรงพยาบาลยโสธร

ผู้แต่ง

  • บงกชรัตน์ ยานะรมย์ โรงพยาบาลยโสธร

คำสำคัญ:

ระบบการดูแลแบบประคับประคอง, ผู้ป่วยระยะสุดท้าย

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของการพัฒนาระบบการดูแลแบบประคับประคองในผู้ป่วยระยะสุดท้ายโรงพยาบาลยโสธร ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้บูรณาการแนวคิดคุณภาพของโดนาบีเดียน และแนวคิดทฤษฎีความสุขสบายของ Kolcaba กลุ่มตัวอย่าง มี 2 กลุ่ม คัดแบบเจาะจง คือ ผู้ป่วยที่อยู่ในระยะสุดท้ายของชีวิต ที่เป็นผู้ป่วยนอก 15 ราย และผู้ป่วยใน 15 ราย และ 2) พยาบาลผู้รับผิดชอบงานการดูแลแบบประคับประคอง 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย และเก็บรวบรวมข้อมูล ดำเนินการวิจัยระหว่างตุลาคม 2562 – กันยายน 2563

             ผลการศึกษา พบว่า ระบบการดูแลแบบประคับประคอง โรงพยาบาลยโสธร มี 3 องค์ประกอบคือ 1) การพัฒนาสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพ 2) แนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง ในผู้ป่วยระยะสุดท้าย โดยใช้แนวคิดของ Kolcaba 3) ระบบการดูแลต่อเนื่อง ผลลัพธ์ของการพัฒนาระบบ พบว่า 1) ผู้ป่วยระยะสุดท้ายมีค่าคะแนน PPS ลดลง ในการประเมินครั้งที่ 2 ทั้ง 2 กลุ่ม 2) ค่าเฉลี่ย คะแนนผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองในผู้ป่วยนอก และผู้ป่วยใน หลังการพัฒนาระบบสูงกว่าก่อนการพัฒนา อย่างมีนัยสำคัญที่ ระดับ .05 3) ความพึงพอใจของผู้ป่วยโดยมีความพึงพอใจโดยรวม ( =4.75, S.D=.13) 4) และรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับสูงมาก 4) ความพึงพอใจของพยาบาลต่อระบบการดูแลโดยมีความพึงพอใจโดยรวม (  = 4.75, S.D. = 0.13) และรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับสูงมาก

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-30