ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดรอยจ้ำเลือดหรือก้อนเลือดหลังการฉีดยาต้านการแข็งตัวของเลือดในผู้ป่วย ที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลหนองคาย
คำสำคัญ:
ยาต้านการแข็งตัวของเลือดชนิดโมเลกุลต่ำ, อุบัติการณ์เลือดออกหรือจุดจ้ำเลือดและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบพรรณนาหาความสัมพันธ์ เพื่อศึกษาอุบัติการณ์และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับอุบัติการณ์การเกิดรอยจ้ำเลือดหรือก้อนเลือดหลังการฉีดยาต้านการแข็งตัวของเลือด ในกลุ่มผู้ป่วยทุกกลุ่มที่ได้รับยาและเพื่อศึกษาการปฏิบัติตามแนวทางการฉีดยาละลายลิ่มเลือดของพยาบาล กลุ่มตัวอย่างคือกลุ่มประชากรที่เป็นผู้ป่วยที่ได้รับยาเฮปารินชนิดน้ำหนักโมเลกุลต่ำ (enoxaparin) ที่มารับการรักษาในโรงพยาบาลหนองคาย ในช่วง ตุลาคม 2561 ถึงเดือน กันยายน 2562 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบเก็บสังเกตการฉีดยาของพยาบาล และตารางเอ็กเซลสำหรับเก็บรวบรวมข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วยจากเวชระเบียนของผู้ป่วย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือผู้ป่วยที่ได้รับการฉีดยากลุ่ม LMWH ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลหนองคาย ทุกราย ในช่วง 1 ตุลาคม 2561 ถึง 30 กันยายน 2562 จำนวน 294 ราย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับอธิบายข้อมูลทั่วไป การวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ใช้สถิติ Chi square test
ผลการศึกษา : ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดเลือดออก เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดภาวะเลือดออก ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีภาวะเลือดออก เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชายเล็กน้อยคือร้อยละ 52.17 ด้านอายุพบว่าอายุมากกว่า 60 ปีพบมากถึงร้อยละ 65.22 มีค่า BMI อยู่ระหว่าง 18.5-22.9 ร้อยละ 52.17 ค่าของ Hct มากกว่าค่าเฉลี่ย (31.47) คือร้อยละ 56.52 จำนวนเกล็ดเลือด (PLT) มากกว่าค่าเฉลี่ย (241,815) ร้อยละ 56.52 ค่า PT น้อยกว่าค่าเฉลี่ย (6.89) และมากกว่ากลุ่มอื่นๆ ร้อยละ 65.22 ค่า PTT น้อยกว่าค่าเฉลี่ย (13.20) ร้อยละ 69.57 ผลการตรวจ Trop t น้อยกว่าค่าเฉลี่ย (782.79) ร้อยละ 73.91 การมีโรคเดิม (UD) พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีโรคเดิมและมากกว่าไม่มีโรคร้อยละ 56.52 เมื่อทดสอบความสัมพันธ์โดยใช้สถิติ Chi square test พบว่าปัจจัยดังกล่าวไม่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะเลือดออกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p. 05)