การพัฒนาแบบบันทึกทางการพยาบาลผู้ป่วยกลุ่มอาการปอดอักเสบ แผนกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลคำตากล้า จังหวัดสกลนคร
คำสำคัญ:
การพัฒนา, บันทึกทางการพยาบาล, กลุ่มอาการปอดอักเสบบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาแบบบันทึกทางการพยาบาลผู้ป่วยกลุ่มอาการปอดอักเสบ แผนกผู้ป่วยในโรงพยาบาลคำตากล้า จังหวัดสกลนคร และเปรียบเทียบคุณภาพการบันทึกก่อนและหลังการพัฒนา
วัสดุและวิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพัฒนาโดยใช้กระบวนการพัฒนา PDCA (Plan-Do-Check-Act) ดำเนินการศึกษาระหว่างเดือนกันยายน - ตุลาคม 2564 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย แบบเก็บข้อมูลทั่วไปของพยาบาลวิชาชีพ แบบประเมินคุณภาพการบันทึกทางการพยาบาลและแบบประเมินความพึงพอใจต่อการบันทึกทางการพยาบาลหลังการพัฒนา วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติพื้นฐาน ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยคุณภาพการบันทึกทางการพยาบาลก่อนและหลังการพัฒนาโดยใช้สถิติ
ผลการศึกษา : 1) ในขั้นตอนของการวิเคราะห์ปัญหาพบว่า การบันทึกทางการพยาบาลผู้ป่วยกลุ่มอาการปอดอักเสบคือ ไม่มีแบบฟอร์มการบันทึกเฉพาะ พยาบาลวิชาชีพขาดทักษะในการเขียนบันทึก และขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคกลุ่มอาการปอดอักเสบ 2) หลังจากนั้นผู้วิจัยจึงได้จัดทำคู่มือและตัวอย่างการบันทึกทางการพยาบาลผู้ป่วยกลุ่มอาการปอดอักเสบ ครอบคลุม แบบบันทึกแรกรับ แบบบันทึกชี้เฉพาะ แบบบันทึกความก้าวหน้าทางการพยาบาลและแบบบันทึกการให้ข้อมูลตามแผนการจำหน่าย 3) จัดอบรมและฝึกทักษะพยาบาลวิชาชีพในการเขียนบันทึกทางการพยาบาลพร้อมกับแจกคู่มือการบันทึกทางการพยาบาลที่จัดทำขึ้น 4) ผลการเปรียบเทียบคะแนนรวมเฉลี่ยคุณภาพบันทึกทางการพยาบาลหลังการพัฒนา ( =23.95, S.D.=2.14) สูงกว่าก่อนการพัฒนา ( =19.83, S.D.=1.84) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=-9.258, p<0.01) และ 5) ความพึงพอใจต่อการเขียนบันทึกทางการพยาบาลโดยภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมากสุด ( =4.60, S.D.=0.51)
ข้อสรุป : การศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าการพัฒนาบันทึกทางการพยาบาลตามกระบวนการพัฒนา PDCA ทำให้พยาบาลวิชาชีพมีทักษะในการบันทึกทางการพยาบาลที่มีคุณภาพมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด