การพยาบาลผู้ป่วยโรคนิ่วในท่อไตที่มีภาวะแทรกซ้อนจากการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด : กรณีศึกษา
คำสำคัญ:
การพยาบาลผู้ป่วยโรคนิ่วในท่อไต, ภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดบทคัดย่อ
บทนำ นิ่วในท่อไตเป็นนิ่วทางเดินปัสสาวะที่พบบ่อย เกิดจากเป็นนิ่วในไตแล้วไหลหลุดลงมาในท่อไต นิ่วในท่อไตเป็นสาเหตุหนึ่งของการที่ผู้ป่วยต้องมาที่ห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลเพราะมักทำให้เกิดอาการปวดรุนแรงกะทันหัน ผู้ป่วยได้รับรักษาด้วยวิธีการส่องกล้องผ่าตัดอาจเกิดอาการเสียเลือดและมีภาวะช็อกตามมาส่งผลให้ความเจ็บป่วยมีความรุนแรงระยะเวลาการนอนยาวนานและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลสูง
วัตถุประสงค์: เพื่อเป็นแนวทางให้การพยาบาลผู้ป่วยโรคนิ่วในท่อไตที่มีภาวะแทรกซ้อนจากการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด
วิธีการศึกษา: ศึกษาเปรียบเทียบการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดนิ่วในไตที่มีภาวะช็อกร่วมกับภาวะแทรกซ้อนจากการรักษา
ด้วยวิธีการผ่าตัดเข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยศัลยกรรมระบบทางเดินปัสสาวะ โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ ระหว่างเดือน พฤศจิกายน – ธันวาคม พ.ศ. 2563 จำนวน 2 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูล โดยการรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนของผู้ป่วย การสัมภาษณ์และการสังเกต นำข้อมูลมาวิเคราะห์เปรียบเทียบและวางแผนการพยาบาลโดยใช้กระบวนการพยาบาล
กรณีศึกษา ศึกษาเปรียบเทียบการพยาบาลผู้ป่วยโรคนิ่วในท่อไตที่มีภาวะแทรกซ้อนจากการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด กรณีศึกษารายที่ 1 หญิงไทย อายุ 52 ปี อาการสำคัญปวดท้องน้อยมีปัสสาวะแสบขัดเป็นก่อนมาโรงพยาบาล 1 เดือน ประวัติโรคร่วม เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคไต แพทย์วินิจฉัยเบื้องต้น Left renal calculi ได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัด Left PCNL ผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด คือAnemia from acute blood loss, AKI, Septic shock, Acute pyelonephritisได้รับการรักษาด้วยการให้เลือดและรักษาภาวะแทรกซ้อนต่างๆอาการผู้ป่วยทุเลาจำหน่ายกลับบ้านได้รวมรับการรักษา 7 วัน
กรณีศึกษารายที่ 2 ชายไทย อายุ 61 ปี อาการสำคัญนัดมาผ่าตัดนิ่วในไตเป็นก่อนมาโรงพยาบาล 1 เดือน ประวัติหอบหืด แพทย์วินิจฉัย Left renal calculiได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัด Left ANLหลังรับการรักษาผู้ป่วยไม่มีมีภาวะแทรกซ้อน จำหน่ายกลับบ้าน รวมรับการรักษา 6 วัน
สรุป: กรณีศึกษาทั้ง 2 รายได้รับการรักษาด้วยการการผ่าตัดนิ่วในท่อไตผลของการรักษาพบผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อนจากการรักษาด้วยการผ่าตัดพบมีภาวะช็อกจากการเสียเลือดได้รับการรักษาภาวะช็อกด้วยการให้ยาและเลือดเฝ้าระวังการเกิดภาวะแทรกซ้อนจนผ่านพ้นภาวะวิกฤติส่งผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้ป่วยสามารถจำหน่ายกลับบ้านได้