ปัจจัยที่มีผลต่อระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสของเกษตรกร ในพื้นที่จังหวัดสงขลา

ผู้แต่ง

  • สุวพิทย์ แก้วสนิท สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา

คำสำคัญ:

ระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส, เกษตรกร

บทคัดย่อ

การศึกษานี้ เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสของเกษตรกรและการมีส่วนร่วมของเครือข่าย ในพื้นที่จังหวัดสงขลา ศึกษากลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม ดังนี้ เกษตรกร จำนวน 1,135 คน และเครือข่าย จำนวน 233 คน ระหว่างเดือนกันยายน 2563-มกราคม 2564 เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม ได้แก่ ข้อมูลทั่วไป ระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส การสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช พฤติกรรมการทำงาน อาการผิดปกติหลังการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชและการมีส่วนร่วมของเครือข่าย โดยใช้สถิติ แจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Paired-samples T-test, Wilcoxon Signed-Rank test และการวิเคราะห์ถดถอย Stepwise Multiple Regression

             ผลการวิจัยพบว่า หลังดำเนินการระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสมีระดับปลอดภัยมากกว่าก่อนดำเนินการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) ร้อยละ 32.4 (จากคะแนนเฉลี่ย 3.47 ลดลงเป็น 2.62) การสัมผัสสารเคมีลดลง ร้อยละ 8.0 (จากคะแนนเฉลี่ย 1.35 ลดลงเป็น 1.25) มีพฤติกรรมการทำงานป้องกันความเสี่ยงเพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.0 (จากคะแนนเฉลี่ย 1.84 เพิ่มเป็น 4.42) ใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายเพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.9 (จากคะแนนเฉลี่ย 1.64 เพิ่มเป็น 1.77) เพิ่มมากที่สุดโดยใส่เสื้อแขนยาว รองเท้าบู๊ท ใส่หมวก กางเกงขายาว ตามลำดับ หลังดำเนินการมีอาการผิดปกติลดลง ร้อยละ 6.2 (จากคะแนนเฉลี่ย 1.20 เป็น 1.13) โดยพบมากที่สุดคือ มีอาการแสบจมูก หนังตากระตุก ไอ และปวดศีรษะ ตามลำดับ หลังดำเนินการปัจจัยโดยรวมมีความสัมพันธ์สามารถทำนายระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ร้อยละ 0.31 (ค่าคงที่ B=5.621, adj.R2= 0.031) มากที่สุดคือ พฤติกรรมการทำงาน (adj.R2= 0.058) รองลงมาคือ อายุ (adj.R2= 0.025) ส่งผลทำให้มีเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสอยู่ในระดับปลอดภัยเพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.025 ระยะเวลาที่เป็นเกษตรกร (adj.R2= 0.023) น้อยที่สุดคือ อาการผิดปกติ (adj.R2 =0.002) ตามลำดับ หลังดำเนินการมีคะแนนเฉลี่ยการมีส่วนร่วมของเครือข่ายเพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนดำเนินการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) มากที่สุดด้านการมีส่วนร่วมค้นหาปัญหาเพิ่มขึ้น ร้อยละ 98.0 (คะแนนเฉลี่ย 2.03 เป็น 4.02) การมีส่วนร่วมติดตามและประเมินผลเพิ่มขึ้น ร้อยละ 86.0 (คะแนนเฉลี่ย 2.04 เป็น 4.34) และการมีส่วนร่วมตามบทบาทเพิ่มขึ้น ร้อยละ 85.4 (คะแนนเฉลี่ย 2.39 เป็น 4.43) ตามลำดับ สรุป หลังดำเนินการเกษตรกรมีพฤติกรรมป้องกันการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเพิ่มขึ้น อาการผิดปกติลดลง โดยเครือข่ายมีส่วนร่วมเพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนดำเนินการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-30