การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดภาวะพร่องออกซิเจนในผู้ป่วยที่ใส่ท่อหายใจลำบากในโรงพยาบาลกาฬสินธุ์
คำสำคัญ:
การใส่ท่อหายใจลำบาก, ภาวะพร่องออกซิเจน, การระงับความรู้สึกทั่วร่างกาย, แนวปฏิบัติการพยาบาลบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research) มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาและการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดภาวะพร่องออกซิเจนในผู้ป่วยที่ใส่ท่อหายใจลำบากในโรงพยาบาลกาฬสินธุ์และศึกษาผลของการนำแนวปฏิบัติการพัฒนาและการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดภาวะพร่องออกซิเจนในผู้ป่วยที่ใส่ท่อหายใจลำบากในโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ ไปใช้ในทางปฏิบัติ ในกลุ่มงานวิสัญญี กลุ่มตัวอย่างมี 2 กลุ่ม คือกลุ่มตัวอย่างที่ใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกและกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการพยาบาลตามแนวปฏิบัติทางคลินิกโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ระหว่าง เดือน มีนาคม 2560 ถึง เดือน มิถุนายน 2560 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา
ผลการศึกษาที่ได้ พบว่า 1) ความเป็นไปได้ต่อการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดภาวะพร่องออกซิเจนในผู้ป่วยที่ใส่ท่อหายใจลำบากต่อกลุ่มวิสัญญีที่ใช้แนวปฏิบัติ อยู่ในระดับเป็นไปได้ง่าย (ค่าเฉลี่ย 1.92) 2) การประเมินความยาก-ง่ายต่อการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดภาวะพร่องออกซิเจนในผู้ป่วยที่ใส่ท่อหายใจลำบากต่อกลุ่มวิสัญญีผู้ใช้พบว่าอยู่ในระดับปฏิบัติง่าย (ค่าเฉลี่ย 1.86) 3) ความพึงพอใจของทีมวิสัญญีต่อการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดภาวะพร่องออกซิเจนในผู้ป่วยที่ใส่ท่อหายใจลำบาก พบว่า ร้อยละ 71.4 มีความพึงพอใจระดับปานกลาง และ ร้อยละ 28.6 มีความพึงพอใจระดับมาก 4) ผลของผู้ป่วยต่อการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดภาวะพร่องออกซิเจนในผู้ป่วยที่ใส่ท่อหายใจลำบากในโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ พบว่า 1) ระยะก่อนระงับความรู้สึกผู้ป่วยได้รับการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการพยาบาลได้อย่างถูกต้อง ร้อยละ 97.04 (ค่าเฉลี่ย=4.85) 2) ระยะให้ยาระงับความรู้สึกผู้ป่วยได้รับการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการพยาบาลได้อย่างถูกต้อง ร้อยละ 95.71(ค่าเฉลี่ย=4.79) และ 3)ระยะหลังได้รับการระงับความรู้สึกผู้ป่วยได้รับการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการพยาบาลได้อย่างถูกต้อง ร้อยละ 98.33 (ค่าเฉลี่ย=4.92) โดยภาพรวมค่าเฉลี่ยใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลต่อผู้ป่วยผู้ปฏิบัติสามารถใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลได้อย่างถูกต้อง ร้อยละ 97.03 (ค่าเฉลี่ย=4.85)ผู้ป่วยร้อยละ 100 สามารถเริ่มผ่าตัดได้ และไม่พบอันตรายของแทรกซ้อนจากภาวะพร่องออกซิเจนหลังระงับความรู้สึก ร้อยละ 100