การศึกษาความชุกของภาวะเลือดออกในสมองหลังการได้รับยาละลายลิ่มเลือด recombinant tissue-type plasminogen activator (rt-PA) ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันเฉียบพลัน ที่ห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลชัยภูมิ
คำสำคัญ:
ภาวะเลือดออกในสมอง, ยาละลายลิ่มเลือด, โรคหลอดเลือดสมองตีบเฉียบพลันบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกของภาวะแทรกซ้อนเลือดออกในสมองหลังได้รับยา rt-PA ในผู้ป่วยที่มาด้วยโรคหลอดเลือดสมองตีบ หรืออุดตันเฉียบพลันที่ห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลชัยภูมิ เป็นการศึกษาแบบย้อนหลัง ทบทวนเวชระเบียนในผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันเฉียบพลันที่ได้รับการรักษาด้วยยา rt-PA ที่ห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลชัยภูมิ ในช่วง 1 ตุลาคม 2559 ถึง 31 กรกฎาคม 2563
ผลการศึกษา พบภาวะแทรกซ้อนเลือดออกในสมอง 10 ราย (ร้อยละ 3.53) (ไม่มีอาการร้อยละ0.07, มีอาการทรุดลง ร้อยละ2.82) สัมพันธ์กับการมีอายุเฉลี่ย 63 ปี ,ได้รับยาลดความดันก่อนและขณะให้ยา rt-PA 21 ราย(ร้อยละ 7.42) และคะแนน NIHSS ส่วนมากอยู่ที่น้อยกว่า 10 คะแนนจำนวน 179 ราย(ร้อยละ 63.25) ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะเลือดออกในสมองได้แก่ เวลาทั้งหมดตั้งแต่เกิดอาการจนถึงได้รับยา rt-PA > 180 นาที เมื่อเทียบกับเวลาทั้งหมดตั้งแต่เกิดอาการจนถึงได้รับยา rt-PA ≤ 180 นาทีผู้ป่วย มีโอกาสเกิดภาวะเลือดออกในสมองได้มากกว่า 5.40 เท่า (Adjusted Odds ratio,5.40;95%CI,0.65-44.30) และ ผู้ป่วยที่มีผลเลือด INR ratio ≥ 1 จะมีโอกาสเกิดภาวะเลือดออกในสมองได้มากถึง 5.78 เท่า (Adjusted Odds ratio,5.78;95%CI, 1.17-28.34)