การพยาบาลผู้ป่วยภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด ST segment ไม่ยกขึ้น ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ : กรณีศึกษา 2 ราย

ผู้แต่ง

  • กมลทิพย์ กำจรเมนุกูล โรงพยาบาลกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

ภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด ST segment ไม่ยกขึ้น, ภาวะหัวใจล้มเหลว, การพยาบาล

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาเปรียบเทียบกรณีศึกษา 2 ราย เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด ST segment ไม่ยกขึ้น ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว ที่เข้ารับการรักษาที่หอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง โรงพยาบาลกาฬสินธุ์  ตั้งแต่ระยะวิกฤต ระยะดูแลต่อเนื่อง และระยะการวางแผนจำหน่าย รวบรวมข้อมูลจากผู้ป่วย ญาติและเวชระเบียน การประเมินอาการ ซักประวัติ ตรวจร่างกาย เพื่อให้ทราบปัญหา ความต้องการของผู้ป่วย เพื่อนำข้อมูลมากำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล วางแผนการพยาบาล  โดยใช้แนวคิดการประเมินผู้ป่วยตามแบบแผนสุขภาพ 11 แบบแผนของกอร์ดอน ทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเร็ม การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง และมีการประเมินผลลัพธ์ทางการพยาบาลอย่างต่อเนื่อง จนผู้ป่วยกลับบ้าน

             ผลการศึกษา : จากการศึกษากรณีศึกษา ทั้ง 2 ราย พบว่าพยาบาลมีบทบาทสำคัญในการดูแลผู้ป่วย ตั้งแต่การรวบรวมข้อมูล ซักประวัติ ประเมินอาการ เฝ้าระวังอาการของผู้ป่วย การจัดกิจกรรมพยาบาลเพื่อให้ตรงกับความต้องการและปัญหาของผู้ป่วยในแต่ละราย ดังนั้นพยาบาลจึงต้องมีสมรรถนะ ตั้งแต่การประเมิน การคาดการณ์โอกาสเสี่ยง การประสานงานกับทีมสหสาขา การให้ข้อมูล เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาพยาบาลที่รวดเร็ว ครอบคลุม มีประสิทธิภาพ ทันเวลา เพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัย ลดอัตราการเสียชีวิต ผู้รับบริการพึงพอใจ บุคลากรมีความปลอดภัย

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-30