การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือด : กรณีศึกษาโรงพยาบาลกาฬสินธุ์
คำสำคัญ:
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือดบทคัดย่อ
กรณีศึกษา : เป็นกรณีศึกษาเปรียบเทียบผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกจากการติดเชื้อจำนวน 2 ราย รายแรกเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ ด้วยอาการไข้สูง อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามร่างกาย ไอปนเลือด มีประวัติสำลักอาหาร รายที่ 2 เข้ารับการรักษาด้วยอาการไข้สูง หายใจหอบเหนื่อย มีประวัติ ดื่มแอลกอฮอล์ และกินยาลดน้ำตาลในเลือด (Metformin) แพทย์วินิจฉัยเป็น Septic Shock ผู้ป่วยทั้งสองรายได้รับการรักษาโดยการใส่ท่อช่วยหายใจ เปิดเส้นเลือดดำใหญ่ที่คอ (Central line Insertion) เพื่อให้ยาและให้สารน้ำ ให้ยากระตุ้นความดันโลหิต ในด้านการพยาบาลผู้ป่วยทั้งสองรายได้รับการประเมินภาวะสุขภาพของกอร์ดอน (Gordon) สรุปข้อวินิจฉัยการพยาบาลของผู้ป่วยทั้งสองรายที่เป็นปัญหาเดียวกันได้แก่ 1) ปริมาณเลือดออกจากหัวใจในหนึ่งนาทีลดลงเนื่องจาภาวะช็อกจากการติดเชื้อ 2) มีภาวะพร่องออกซิเจนเนื่องจากการแลกเปลี่ยนก๊าซที่ปอดไม่มีประสิทธิภาพ 3) มีภาวะโพแทสเซี่ยมในเลือดต่ำ 4) พร่องกิจวัตรประจำวันเนื่องจากถูกจำกัดการเคลื่อนไหวและมีภาวะเจ็บป่วยวิกฤต 5) ผู้ป่วยและญาติมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการดำเนินของโรค 6) ผู้ป่วยและญาติต้องการความรู้ในการปฏิบัติตัวเมื่อกลับบ้านตามหลัก D-M-E-T-H-O-D ส่วนข้อวินิจฉัยการพยาบาลของผู้ป่วยทั้งสองรายที่แตก ต่าง คือ ผู้ป่วยกรณีที่ 1 1) มีภาวะติดเชื้อที่ปอด 2) เสี่ยงต่อการดึงอุปกรณ์ทางการแพทย์เนื่องจากมีภาวะสับสน และผู้ป่วยกรณีที่ 2 1) มีภาวะหัวใจหยุดเต้นเนื่องจากการไหลเวียนโลหิตล้มเหลวจากภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิต 2) มีภาวะเลือดเป็นกรดอย่างรุนแรงเนื่องจากไตสูญเสียหน้าที่แบบเฉียบพลัน 3) มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงปัญหาและความต้องการของผู้ป่วยและครอบครัวแต่ละรายได้รับการแก้ไขจนผู้ป่วยพ้นระยะวิกฤตอาการดีขึ้นไม่มีภาวะแทรกซ้อน แพทย์อนุญาตให้กลับบ้านได้โดยนัดติดตามผลอีก 3 สัปดาห์
ผลลัพธ์: ภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือดหากได้รับการวินิจฉัยและการรักษาที่ถูกต้องรวดเร็วจะทำให้ผู้ป่วยปลอดภัยและลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยได้ ดังนั้นพยาบาลผู้มีความใกล้ชิดผู้ป่วยที่สุดจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะช็อกจากการติดเชื้อ การดำเนินของโรคในระยะต่างๆ ที่สำคัญคือ การประเมินสภาพผู้ป่วยระยะก่อนช็อก โดยพยาบาลต้องมีทักษะในการสังเกต การประเมินอาการและ อาการแสดงของโรค รวมถึงการจัดการปัญหาและความต้องการของผู้ป่วยและครอบครัวได้อย่างเหมาะสม ทันเหตุการณ์