การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันชนิดเฉียบพลันที่ได้รับการรักษาด้วย ยาละลายลิ่มเลือดชนิด rt-PA โรงพยาบาลกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • สมพิน จงเรืองศรี โรงพยาบาลกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันชนิดเฉียบพลัน, การพยาบาลผู้ป่วยได้รับยาละลายลิ่มเลือด

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันชนิดเฉียบพลันที่ได้รับการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือดชนิด rt-PA 2) เพื่อนำผลการศึกษาไปพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันชนิดเฉียบพลันที่ได้รับการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือดชนิด rt-PA โดย ศึกษาเปรียบเทียบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันชนิดเฉียบพลันที่ได้รับการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือดชนิด rt-PAที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะวิกฤติ โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ ระหว่างเดือน พฤษภาคม – มิถุนายน พ.ศ. 2564  จำนวน 2 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลโดยการรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนของผู้ป่วย  การสัมภาษณ์และการสังเกต นำข้อมูลมาวิเคราะห์เปรียบเทียบและวางแผนการพยาบาลโดยใช้กระบวนการพยาบาล

            ผลการศึกษากรณีศึกษา เปรียบเทียบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันชนิดเฉียบพลันที่ได้รับการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือดชนิด rt-PA กรณีศึกษารายที่ 1 ผู้ป่วยชายไทย อายุ 66 ปี อาการสำคัญ แขนขาซีกขวาอ่อนแรง ซึมลง ไม่พูด เป็นก่อนมาโรงพยาบาล 3 ชั่วโมง ประวัติโรคร่วม เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยมีประวัติขาดการรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง แพทย์วินิจฉัย Acute cerebral infarction ได้รับการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือด ผู้ป่วยไม่มีภาวะแทรกซ้อน วันจำหน่ายผู้ป่วยมีอาการอ่อนแรงของขาด้านขวาเล็กน้อยสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ กรณีศึกษารายที่ 2 ผู้ป่วยหญิงไทย  อายุ 63 ปี อาการสำคัญ แขนซ้ายอ่อนแรง ปากเบี้ยว ลิ้นแข็ง พูดไม่ชัด เป็นก่อนมาโรงพยาบาล 4 ชั่วโมง ประวัติโรคร่วม เบาหวาน ความดันโลหิตสูง แพทย์วินิจฉัย Acute cerebral infraction ได้รับการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือด ผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับยาละลายลิ่มเลือดพบภาวะเลือดออกในสมองเล็กน้อย วันจำหน่ายผู้ป่วยไม่มีความพิการหลงเหลือ   

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-09-30