การเปรียบเทียบการเกิดเยื่อบุช่องปากอักเสบจากการใช้โปรแกรมส่งเสริมการดูแลช่องปากด้วยตนเองในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด หอผู้ป่วยเคมีบำบัด โรงพยาบาลสันกำแพง

ผู้แต่ง

  • สุชีลา เตชะตา โรงพยาบาลสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่

คำสำคัญ:

การเกิดเยื่อบุช่องปากอักเสบ, โปรแกรมส่งเสริมการดูแลช่องปาก, ผู้ป่วยมะเร็ง, ยาเคมีบําบัด

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบหนึ่งกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง   เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการเกิดอาการเยื่อบุช่องปากอักเสบในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด ระดับความรู้ การปฏิบัติตัวของผู้ป่วยที่เข้าโปรแกรมส่งเสริมการดูแลช่องปากด้วยตนเอง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยมะเร็งทางเดินอาหารที่ได้รับยาเคมีบำบัดในหอผู้ป่วยเคมีบำบัด โรงพยาบาลสันกำแพง โดยการเลือกแบบเจาะจงจำนวน 79 คน   กลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับโปรแกรมการส่งเสริมการดูแลช่องปากด้วยตนเอง ประกอบด้วย โปรแกรมส่งเสริมการดูแลช่องปากด้วยตนเองและคู่มือดูแลช่องปาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดความรู้ แบบวัดการปฏิบัติตัวการดูแลช่องปากและแบบบันทึกการตรวจช่องปาก ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญได้ค่าเท่ากับ 0.82  และ ทดสอบความเชื่อมั่นโดยวิธีอัลฟาของครอนบาค มีค่าเท่ากับ 0.73  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาได้แก่  ร้อยละ ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติอนุมานได้แก่  Paired sample t-test 

ผลการศึกษา กลุ่มตัวอย่างมีการเกิดแผลในปากลดลง ร้อยละ 53.2  และร้อยละ 6.3 ตามลำดับ กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ( t= -7.59, P< 0.00) มีระดับความรู้ก่อน (=11.05, S.D.=2.36) และหลังการเข้าร่วมโปรแกรม(=19.37, S.D.=1.95) มีการปฏิบัติตัวเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(t= -13.04, P< 0.00) การปฏิบัติตัวก่อน(= 34.53, S.D.= 2.73) และหลังเข้าโปรแกรม (=41.32, S.D.=9.10) พยาบาลควรนำโปรแกรมส่งเสริมการดูแลช่องปากด้วยตนเองในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด มาประยุกต์ใช้กับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนจาการได้รับยาเคมีบำบัด โดยเน้นการฝึกทักษะและการดูแลตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนให้น้อยลง

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-24