ผลของโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพระยะกลางผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในโรงพยาบาลท่าปลา

ผู้แต่ง

  • สุรีรักษ์ มั่นคง -
  • พิสมัย นพรัตน์
  • ณาตยา ปัญญาคม

คำสำคัญ:

Intermediate phase rehabilitation program, activity in daily life, quality of life, stroke patients

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองเพื่อศึกษาผลของโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพระยะกลางผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในโรงพยาบาลท่าปลา กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง 40 คน ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ประเมินความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันด้วยดัชนีบาร์เธล แบบสอบถามคุณภาพชีวิต และโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพระยะกลางผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ผู้ป่วยได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพระหว่างพักรักษาในโรงพยาบาลโดยนักกายภาพบำบัด มีการให้ความรู้สำหรับผู้ดูแลผ่านสื่อวิดีทัศน์ จำนวน 16 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Pair - t – test , ONE WAY ANOVA ที่ระดับนัยสำคัญ .05 ผลการวิจัยพบว่า

1.ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองหลังการดีกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05

  1. คุณภาพชีวิต ค่าอรรถประโยชน์และสภาวะสุขภาพของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอหลังเข้าโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพดีกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญที่ .05
  2. หลังเข้าโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพกลุ่มผู้ป่วยติดสังคมมีประสิทธิผลการฟื้นฟูสมรรถภาพดีกว่ากลุ่มผู้ป่วยติดเตียงและและกลุ่มผู้ป่วยติดบ้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
  3. ความสามารถในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและความพึงพอใจของผู้ดูแลผู้ป่วยหลังเข้ารับโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพดีกว่าก่อนก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05

 

Abstract

The study aimed to effects of Intermediate phase rehabilitation program in subacute stroke patients.Testing pre and post-activity in daily life score by Barthel Index and quality of life, caregiver knowledge before and after continuous Intermediate Phase Rehabilitation Program. Participants were 40 stroke patients and 40 caregivers of stroke patients. diagnosed with stroke and admitted to Uttaradit hospital. Patients were rehabilitated during admission by the physical therapists. Improving caregiver knowledge was provided by VDO. The therapists transfer the patients to Thapla hospital and follow-up with them for 16 weeks. Descriptive statistics, such as percentage, mean, standard deviation, Pair - t - test, ONE WAY ANOVA. The significant level was set at 0.05. The results revealed that

  1. The ability to perform daily activities of stroke patients after getting better than before were significantly (p<0.05)
  2. Quality of life, utility values ​​and health status of cerebrovascular disease patients after entering the rehabilitation program were significantly better than before were significantly (p<0.05)
  3. After entering the rehabilitation program, the socially addicted patient group had better rehabilitation effectiveness than the bedridden patients and home patient group were significantly (p<0.05)
  4. The ability to care for stroke patients and the satisfaction of caregivers after the rehabilitation program were significantly better than before were significantly (p<0.05)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-22